Hipflat นำ Blockchain ช่วยขจัดประกาศอสังหาริมทรัพย์ออนไลน์ที่หมดอายุ และข้อมูลไม่ถูกต้องในประเทศไทย | Techsauce

Hipflat นำ Blockchain ช่วยขจัดประกาศอสังหาริมทรัพย์ออนไลน์ที่หมดอายุ และข้อมูลไม่ถูกต้องในประเทศไทย

Hipflat เว็บไซต์ค้นหาอสังหาริมทรัพย์ออนไลน์ที่มีผู้ใช้งานนับล้านรายในประเทศไทย ประกาศเปิดตัวฟังก์ชันตรวจสอบรายชื่ออสังหาริมทรัพย์โดยใช้เทคโนโลยี Blockchain แล้ววันนี้

ธุรกิจอสังหาฯ กับปัญหาในรูปแบบเดิมๆ

เว็บไซต์กลายเป็นช่องทางค้นหาประกาศอสังหาฯ เบื้องต้นสำหรับผู้ต้องการซื้อหรือเช่า แต่ความถูกต้องของข้อมูลประกาศอสังหาฯ ในประเทศไทย (และภูมิภาคอื่นๆ ทั่วโลก) มักอยู่ในระดับต่ำ ผู้คนส่วนใหญ่รู้สึกหงุดหงิดและเสียเวลาไปกับการค้นหาอสังหาฯ ออนไลน์เป็นอย่างมาก กว่า 90% ของประกาศออนไลน์ที่พบในเว็บไซต์ค้นหาอสังหาฯ มักมีข้อมูลไม่ถูกต้อง ประกาศไม่ว่าง หรือประกาศถูกปลอมแปลงข้อมูลขึ้นมา ผลที่ตามมาก็คือ ผู้ที่สนใจในอสังหาฯ นั้นต้องเสียเวลาไปกับข้อมูลประกาศผิดๆ หรืออสังหาฯ ที่ไม่ว่างเหล่านั้น

ยิ่งไปกว่านั้น เมื่อผู้คนต่างพบประกาศที่มีข้อมูลราคาผิด การกำหนดราคากลางของอสังหาฯ ในตลาดได้กลายเป็นเรื่องยาก ความไม่ถูกต้องของข้อมูลดังกล่าวทำให้ ผู้ซื้อหรือเช่า และผู้ขายอสังหาฯ นั้นเสียประโยชน์ในการแลกเปลี่ยนกันทั้งสองฝ่าย และปัญหานี้ยังกระทบสภาพคล่องของตลาดอีกด้วย

Blockchain กับธุรกิจวงการอสังหาฯ​

เพื่อที่จะเพิ่มความน่าเชื่อถือของข้อมูลที่พบในการค้นหาอสังหาฯ ออนไลน์ ขจัดข้อมูลประกาศอสังหาฯ ที่ไม่ถูกต้อง และเพื่อให้เกิดความมั่นใจเพิ่มมากขึ้นกับผู้ที่ต้องการค้นหาข้อมูลประกาศอสังหาฯ บนเว็บไซต์ ในวันนี้ Hipflat ได้เปิดตัวฟังก์ชันตรวจสอบประกาศ (Verified Listings Feature) แบบใหม่ขึ้น ซึ่งช่วยในการยืนยันข้อมูลประกาศอสังหาฯ โดยข้อมูลจากสมาชิก Hipflat ที่เคยติดต่อ หรือไปเยี่ยมชมอสังหาฯ กับเจ้าของ หรือนายหน้ามาแล้ว สมาชิก Hipflat ยังสามารถแจ้งประกาศอสังหาฯ ที่มีข้อมูลไม่ถูกต้องได้อีกด้วย การที่ข้อมูลอสังหาฯ ได้รับการเพิ่มเติมและตรวจสอบโดยสมาชิก Hipflat ในจำนวนที่มากขึ้นนั้นช่วยให้เป้าหมายที่ประกาศอสังหาฯ ทั้งหมดใน Hipflat จะได้รับการยืนยัน 100% นั้นอยู่ไม่ไกลเกินเอื้อม

ฟังก์ชันตรวจสอบประกาศ (Verified Listings Feature) เป็นการใช้งานกรณีตัวอย่างจริงจากแนวคิด Domus Protocol ซอฟต์แวร์ที่ใช้เทคโนโลยี Blockchain ซึ่งพัฒนาขึ้นโดย Hipflat, Domus จะใช้การทำงานของ Blockchain เพื่อเก็บข้อมูลอสังหาฯ จากผู้ใช้งานจำนวนมาก หรือ Crowd-Sourced เพื่อป้องกันการป้อนข้อมูลที่จะสร้างความเสียหายต่อข้อมูลในส่วนอื่นๆ โดยให้รางวัลแก่สมาชิกที่ร่วมให้ข้อมูลคุณภาพ

หากมองไปถึงอนาคต Hipflat มองว่า Domus เป็นรากฐานเครือข่ายที่จะรวมตลาดอสังหาริมทรัพย์ออนไลน์จากทุกมุมโลกเข้าด้วยกัน ผู้คนจะสามารถเข้าถึงฐานข้อมูลรายชื่ออสังหาฯ ที่ถูกต้อง เชื่อถือได้ และในขณะเดียวกัน Domus ก็จะเป็นแพลตฟอร์มการตลาดระดับโลกที่สามารถช่วยให้เจ้าของอสังหาฯ หรือนายหน้าค้นหาผู้สนใจ ซื้อหรือเช่า ทรัพย์ได้รวดเร็ว และราคาทรัพย์ก็เป็นที่พอใจมากขึ้นสำหรับทั้งสองฝ่าย

ข้อมูลเกี่ยวกับ Hipflat

เว็บไซต์ Hipflat ก่อตั้งเมื่อปี 2013 จดทะเบียนบริษัทในประเทศสิงคโปร์ และมีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย Hipflat เป็นผู้นำในการให้บริการด้านอสังหาริมทรัพย์ออนไลน์ ซึ่งเป็นผู้เชื่อมต่อระหว่างผู้สนใจ ซื้อ/เช่า ในอสังหาฯ (เพื่ออยู่อาศัย, เชิงพาณิชย์ และอุตสาหกรรม) กับผู้ขาย/เจ้าของ ตัวอย่างเช่น เจ้าของที่เป็นบุคคล, นายหน้า และเจ้าของโครงการ

ณ ปัจจุบัน บนเว็บไซต์ของ Hipflat มีประกาศอสังหาริมทรัพย์ จำนวน 340,000 ประกาศ จากกว่า 40,000 นายหน้า, เจ้าของอสังหาฯ, เจ้าของที่ดิน และผู้บริหารอสังหาฯ กว่า 55 % ของประกาศดังกล่าวได้ถูกปล่อยเช่า และอีก 45% สำหรับเพื่อการขาย เป็นระยะเวลามากกว่า 12 เดือนที่ผ่านมา ผู้คนใช้เวลารวมกันนับล้านชั่วโมงในการค้นหาที่พักเพื่อการเช่าและการซื้อผ่านเว็บไซต์ Hipflat และเข้าชมหน้าเว็บไซต์รวมกันแล้วกว่า 3.7 ล้านครั้งต่อเดือน

ก่อนหน้านี้ Hipflat ได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มนักลงทุนต่างชาติ VCs และ business angels ที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จัก รวมถึง 500 Startups และบริษัทมหาชนจำกัด จากประเทศญี่ปุ่น 2 แห่ง คือ OPT (2389:JP) และ Aucfan (3674:JP)

เกี่ยวกับ Domus Protocol

Domus Protocol เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้งานร่วมกับ Blockchain ซึ่งพัฒนาขึ้นโดย Hipflat เป้าหมายของการใช้งานซอฟต์แวร์ดังกล่าว คือ การปรับปรุงข้อมูลอสังหาริมทรัพย์ในการค้นหาออนไลน์ให้ถูกต้อง และน่าเชื่อถือยิ่งขึ้น  กรุณาคลิกที่ลิงก์เพื่อศึกษารายละเอียดซอฟต์แวร์เพิ่มเติม 

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

OpenAI เพิ่มฟีเจอร์ใหม่ใน ChatGPT วิเคราะห์-โต้ตอบวิดีโอได้แบบเรียลไทม์

OpenAI อัปเดทความสามารถ ChatGPT บนโหมดสนทนาด้วยเสียงหรือ Advanced Voice Mode สามารถวิเคราะห์และโต้ตอบจากวิดีโอได้แบบเรียลไทม์ นับเป็นการเปิดตัวฟีเจอร์ต่อเนื่องเป็นวันที่ 6 ในแคมเปญ...

Responsive image

Microsoft เปิดตัว Phi-4 โมเดล AI รุ่นใหม่ เน้นแก้โจทย์คณิตศาสตร์

Phi-4 ถูกพัฒนาภายใต้แนวคิด Small Language Model (SLM) มีขนาด 14 พันล้านพารามิเตอร์ ซึ่งเล็กกว่าโมเดลภาษาขนาดใหญ่อย่าง GPT-4 แต่ยังคงความรวดเร็วและต้นทุนการประมวลผลที่ต่ำกว่า และพร้...

Responsive image

เคอีเอ็กซ์ประกาศ การลาออกของซีอีโอ พร้อมตั้งผู้บริหารร่วม (Co-CEO) รับช่วงต่อ

บริษัท เคอีเอ็กซ์ เอ็กซ์เพรส (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ KEX รายงานต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2567 ว่า บริษัทฯ ได้รับหนังสือแจ้งการลาออกจากตำแหน่งประธ...