Startup Guide แหล่งรวมความรู้สมบูรณ์แบบสำหรับ Startup ไทยที่นี่ที่เดียว

Startup คืออะไร ต่างจาก SME อย่างไรบ้าง?

หลายคนมักจะสับสนระหว่างคำว่า Startup และ SME (Small Medium Enterprise) ทั้ง 2 ธุรกิจ เป็นธุรกิจขนาดเล็ก แต่มีคุณลักษณ์ที่แตกต่างกัน โดยคุณลักษณะที่เห็นได้ชัดคือ เน้นการแก้ปัญหาที่มีอยู่ และเป็นโมเดลธุรกิจที่เน้น "การเติบโตได้อย่างรวดเร็ว"

Steve Blank บิดาแห่ง Lean Startup เคยให้คำนิยามที่น่าสนใจไว้ว่า

Startup is a temmporary organization searching for a "repeatable" and "scalable" business

Scalable ในที่นี้ ตั้งแต่การขยายฐานลูกค้าออกไปยังตลาดต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว อาทิ โมเดลธุรกิจที่มีโอกาสในการขยายไปยังต่างประเทศ ธุรกิจที่มีการเพิ่มบริการต่อยอดขึ้นไป เช่นเพิ่มฟีเจอร์ก็สามารถเข้าสู่ตลาดที่ใหญ่ขึ้นได้

** แต่จงพึงระวังว่าก่อน Scale Product ของ Startup นั้น Product ต้องพร้อมเสียก่อน ตอบโจทย์ตลาดกลุ่มหลักให้ได้ก่อน ไม่งั้นเท่ากับกระจาย Product ทั้งที่ยังไม่พร้อมออกไป เป็นเสมือนการฆ่าตัวตายให้กับธุรกิจเลยทีเดียว

Repeatable เป็นโมเดลธุรกิจที่สามารถทำซ้ำได้ไหม มีคนกลับมาใช้บริการต่อไปเรื่อยๆ ได้ไหมอย่างไร

คุณสมบัติทั้ง 2 เป็นสิ่งที่นักลงทุนในธุรกิจกลุ่ม Startup มักมองหา เพราะนั่นหมายถึงโอกาสในการเติบโต

ด้วยเทคโนโลยีในปัจจุบันอย่างอินเทอร์เน็ตที่ทำให้ธุรกิจมีโอกาส Scale ออกไปได้ง่ายขึ้น เราจึงมักเห็นกลุ่ม Startup ที่มาสาย Technology เสียเยอะ ในขณะที่ทางฟากของ SME จะเจอข้อจำกัดในเรื่องของ Scalable มากกว่า อาทิเช่น การขยายหน้าร้าน การขยายสาขา แต่ทั้งนี้การทำธุรกิจ SME ไม่ใช่ว่าไม่น่าสนใจ ธุรกิจ SME หลายรายสามารถสร้างกำไร เติบโตได้อย่างยั่งยืน มากกว่ากลุ่มธุรกิจ Startup ส่วนใหญ่ที่ล้มหายตายจากกว่า 90% ด้วยซ้ำ

รู้จักเรื่องราวของ Startup มากขึ้นได้ที่นี่

Startup 101

การเรียนรู้การทำธุรกิจ Startup นั้นมีหลายศาสตร์ที่ควรทำความเข้าใจ ตั้งแต่ช่วงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ การทำการตลาด การ scale  โดยศาสตร์ที่ควรรู้ประกอบด้วย

Lean Startup 

คือการเริ่มจากการค้นคว้า วิจัย ทดลอง แล้วค่อยผลิตออกมา ซึ่งจริงๆ แล้วสามารถใช้ได้กับทั้งผลิตภัณฑ์ดิจิทัลและผลิตภัณฑ์ physical ทั่วไป Lean Startup นั้น เริ่มมาจากแรงบันดาลใจของบริษัทที่ทำผลิตภัณฑ์ physical อย่าง Toyota และ Zara รวมถึง IDEO ผู้นำ design thinking และใช้ lean principles ในการผลิตผลิตภัณฑ์ physical อย่างเมาส์ของ Macintosh เป็นต้น โดย Design thinking คือการนำลูกค้ามาเป็นศูนย์กลางของการพัฒนานวัตกรรม ไม่ว่าจะผลิตอะไรออกมาก็ตาม

Design Thinking 

ทฤษฎีการนำลูกค้ามาเป็นศูนย์กลางของการพัฒนานวัตกรรม ไม่ว่าจะผลัตอะไรออกมาก็ตาม

AARRR 

หนึ่งในปัญหาสำคัญของ Startup คือ ไม่รู้ว่าทำไมไม่ค่อยมีลูกค้ามาใช้ Product ของพวกเขาถ้าเจาะลงไปในรายละเอียด พวกเขารู้หรือไม่ว่ามีกี่คนที่เห็นการโปรโมต Product และมีคนคลิ๊กเข้ามาจากสื่อออนไลน์เท่าไหร่, มีกี่คนที่สมัครบริการ? มีกี่คนที่กลายมาเป็นลูกค้าประจำ? ในช่วงสถานะที่แตกต่างกันของลูกค้าก็ต้องดูแลด้วยกลยุทธ์ที่แตกต่างกัน การไม่รู้ Insight เลย และไม่รู้จุดวัดผลในแต่ละช่วงของสถานะลูกค้า เปรียบเสมือนกับการต่อยมวยในอากาศไม่มีเป้าหมาย แบบต่อยไม่โดนจุด จึงเป็นที่มาของ AARRR เสมือนเป็น Framework ในการวัดผลให้กับ product สาย Tech Startup ในแต่ละช่วงพฤติกรรม stage ของผู้ใช้ product ของคุณ AARRR Metric ย่อมาจาก Acquisition-Activation-Retention-Referral-Revenue อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่นี่

GrowthHacking 

Growth Hacking เป็นศาสตร์ที่ผสมผสานระหว่างการตลาดเชิงสร้างสรรค์ (Creative Marketing) และการติดตามพฤติกรรมผู้บริโภคเชิงลึก (Behavioral Tracking)

Hooked

แนวคิดโดย Nir Eyal ว่าด้วยเรื่องการทำอย่างไรให้ Product สามารถเข้าเป็นส่วนหนึ่งในพฤติกรรมของผู้ใช้จนติดเป็นนิสัย กลับมาใช้เป็นประจำให้ได้

การ Pitching

เป็นอีกทักษะเมื่อ Startup ต้องนำเสนอแผนธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นการแข่งขัน หรือต่อหน้านักลงทุน

การจัดการการบริหารคนและทีมงาน 

การทำธุรกิจ Startup ไม่ใช่แค่เรื่อง Product แต่คือการสร้างบริษัทขึ้นมา ความท้าทายที่สำคัญอีกสิ่งหนึ่ง คือการบริหารคนนั่นเอง

การระดมทุน

เนื้อหาอื่นๆ ที่ควรรู้

บทเรียนจาก Startup สู่ Startup

เราได้รวบรวมบทสัมภาษณ์และบทความจากต่างประเทศเพื่อเป็นกรณีศึกษาในการทำธุรกิจที่น่าสนใจไว้ที่นี่

Co-working space 

นอกจากจะเป็นสถานที่ที่ให้คุณทำงานแล้วนั้น ยังมีส่วนสำคัญที่ทำให้คุณได้รู้จักกับคนในวงการ Startup อีกด้วย

Startup Ecosystem ไทย

techsauce เป็นแหล่งที่รวบรวมข้อมูล สถิติที่น่าสนใจต่างๆ ของ Startup Ecosystem ไทยมาตั้งแต่ปี 2012 จนกระทั่งปัจจุบัน ซึ่งถือเป็นแหล่งรวบรวมสถิติที่แรกของไทย และยังคงเป็นที่หลักที่หลายแหล่งทั้งไทยและต่างชาติใช้อ้างอิงมาโดยตลอด โดยข้อมูลทั้งหมดประกอบด้วย

  • ยอดการระดมทุนในแต่ละปี (ที่ได้รับการเปิดเผย)
  • จำนวนและรายชื่อ Startup ที่ระดมทุนในปีนั้นๆ
  • ภาคธุรกิจที่น่าจับตาและการเติบโต
  • รายชื่อนักลงทุนทั้งรูปแบบ Venture Capital, Corporate Venture Capital และ Angel Investor ที่ active ในประเทศไทย

สรุปข้อมูลล่าสุด Thailand Tech Startup Ecosystem  2018 สรุปข้อมูลสถิติในวงการตลอด 6 ปีจนถึงปัจจุบัน

ซึ่งเราจะทำการอัพเดตสถานการณ์ทุกๆ ครึ่งปี โดยติดตามได้ที่ Section Reports ของเรา

Thailand Tech Startup Ecosystem Report 2018

[pdf-embedder url="https://techsauce.co/wp-content/uploads/2019/01/TS-Startup-Report-Master-Edit-for-publish-15Feb19-2.pdf" title="TS Startup Report Master - Edit for publish 15Feb19"]

โดยบริษัท และกลุ่มนักลงทุน  ที่ Startup ไทยควรทำความรู้จัก อาทิเช่น
  • สาย Industrial, B2B, Enterprise Solution, Logistic/Ecommerce : AddVentures by SCG
  • สาย FinTech Digital Ventures, Beacons Ventures, KrungsriFinnovate, Bualuang ventures
  • สายพลังงาน บริษัท PTT หน่วยงาน ExpresSo
  • สายธุรกิจประกัน บริษัทเมืองไทยประกันชีวิต หน่วยงาน fuchsia
  • สายธุรกิจ Property SiriVentures, Ananda, SCAsset
  • ลงทุนในหลายภาคธุรกิจ InVent, 500Tuktuks, Expara, KKfund, LINE Ventures, CyberAgent Ventures, Monk's Hill ventures, OpenSpace, GoldenGate Ventures, NVest Ventures เป็นต้น
  • กลุ่มที่เน้นเรื่องของการสนับสนุน/พาร์ทเนอร์ชิพ AIS The StartUp, True Digital Park
  • กลุ่ม Accelerator/Incubator : dtac accelerate, TrueIncube, Digital Ventures, Krungsri RISE, BangkokBankInnoHub

วิเคราะห์เทรนด์การลงทุนปี 2018 โดย Peng T.Ong Founder จาก Monk's Hill Ventures

นอกจากนี้สำหรับผู้ที่สนใจในภาคธุรกิจเฉพาะทาง อาทิ Ecommerce เราก็ได้จัดทำ Thailand Ecommerce Landscape เอาไว้ด้วยเช่นกัน
__________________________________________________________________

เป็นที่ทราบกันดีว่า Techsauce ไม่ได้มีเพียงการให้ข้อมูลความรู้เฉพาะเรื่องราวที่เกิดขึ้นในไทยเท่านั้น แต่ด้วยเครือข่าย Network ที่เรามีอยู่ในต่างประเทศ เรายังมีเนื้อหาสำหรับองค์กรและ Startup ที่ต้องการทำความรู้จักประเทศอื่นๆ ที่มีความต้องการจะขยายธุรกิจไปยังประเทศเหล่านั้นอีกด้วย และนี่คือตัวอย่างเนื้อหาเบื้องต้น โดยเราจะทยอยอัพเดตข้อมูลแต่ละประเทศเพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ

Startup Ecosystem เวียดนาม

เวียดนามประเทศเพื่อนบ้าน ที่โดดเด่นในธุรกิจด้าน Outsource เช่นรับพัฒนาซอฟแวร์จากต่างประเทศมากมาย ส่วนหนึ่งเป็นเพราะค่าแรงที่เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นนั้น ถือว่าถูกกว่ามาก เวียดนามมี Startup Ecosystem ที่เกิดมาระยะเวลาหนึ่งแล้ว สำหรับผู้ที่สนใจว่าตลาดที่นั่นเป็นอย่างไร สามารถติดตามได้ที่บทความนี้

Startup Ecosystem อินโดนีเซีย

อินโดนีเซียประเทศที่ได้ขึ้นชื่อว่ามี Unicorn มากที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อันเนื่องด้วยตลาดที่มีขนาดใหญ่ จึงเป็นประเทศที่ดึงดูดความสนใจของ Startup ที่ต้องการขยายตลาดออกไป และนักลงทุนที่ต้องการลงทุนที่นั่น สำหรับผู้ที่สนใจว่าตลาดที่นั่นเป็นอย่างไร สามารถติดตามได้ที่บทความนี้

Startup Ecosystem พม่า

ถือเป็นอีกประเทศที่มีพรมแดนติดกับไทย หลังจากที่ประเทศเปิดโอกาสให้มีต่างประเทศเข้ามาลงทุนมากขึ้น พม่ากลายเป็นประเทศที่หลายคนให้ความสนใจ และอยากเข้าไปลองหาโอกาสที่นั่น สามารถติดตามอ่านรายละเอียดแบบเต็มได้ที่นี่

นอกจากนี้ทาง techsauce ยังเป็นผู้จัดสัมมนา International Technology Conference ที่รวมเหล่า Startup นักลงทุนและคนในวงการที่ใหญ่ที่สุดของไทยและในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ Techsauce Global Summit

ถ้าต้องการสอบถามข้อมูลเชิงลึกมากขึ้นอย่างไร สามารถติดต่อได้ที่ contact [at] techsauce.co