ด้วยปัญหาเรื่องเศษอาหารที่สร้างความเสียหายให้กับสิ่งแวดล้อมและก่อให้เกิดความกังวลเกี่ยวกับการขาดแคลนอาหาร การเริ่มต้นธุรกิจ startups เกี่ยวกับ Food Tech จึงมีเป้าหมายเพื่อค้นหาแนวทางแก้ไข รวมถึงมอบคุณค่าทางโภชนาการและดีต่อสุขภาพผู้คน เพื่อให้แนวคิดรักษ์สิ่งแวดล้อมไม่ใช่สำหรับ "ตลาดเฉพาะกลุ่ม" อีกต่อไป
ด้วยพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป ผู้คนให้ความสนใจในความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อมและความเปราะบางของห่วงโซ่อุปทานมากขึ้น ทำให้สตาร์ทอัพในวงการ Food Tech ได้สร้างสรรค์และเปิดตัวผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ๆ ที่ดึงดูดสายตาของนักลงทุน
และล่าสุด Xpdite ได้มองห็นคุณค่าของ Yindii ซึ่งเป็น startup ที่สนับสนุนโซลูชันต่าง ๆ ในการจัดการด้านอาหาร เพื่อพลิกโฉมการแก้ปัญหาความรุนแรงของสถานการณ์ขยะอาหารเหลือทิ้ง ทั้งในประเทศไทยและทั่วโลก เป็นตัวช่วยในด้าน Supply ของภาคอุตสาหกรรม โดย Xpdite จะใช้ความรู้และประสบการณที่มีในการสนับสนุนให้เป้าหมายของ Yindii สำเร็จลุล่วง
ประเทศไทยมีขยะจำนวน 27.4 ล้านตัน ซึ่งขยะประเภทที่เป็น Food Waste นั้นคิดเป็น 64% ของทั้งหมดหรือประมาณ 17.6 ล้านตัน แม้ว่าจะเป็นไปไม่ได้ที่จะกำจัดเศษอาหารให้หมดไป แต่อาหารที่ยังคงบริโภคได้ ก็ควรที่จะเป็นประโยชน์กับผู้ที่จำเป็นมากกว่าจะทิ้งลงในหลุมแล้วฝังกลบ
Yindii เป็น startup ที่ต้องการจะเปลี่ยนแปลงอนาคตของอาหารในประเทศไทยและในภูมิภาค ด้วยการสนับสนุนการจัดการกับอาหารส่วนเกินและอาหารที่เหลือบนชั้นวางในร้านอาหารและผู้ค้าปลีก แต่ยังมีคุณภาพดี ไม่หมดอายุ นำมาซื้อขายผ่านแอปพลิเคชันที่เป็น Marketplace เพื่อให้ผู้บริโภคได้สั่งซื้อ “surprise bags” ที่ยังมีคุณภาพในราคาพิเศษจากร้านอาหาร และร้านค้าที่ลงทะเบียนกับแพลตฟอร์มนี้ได้
นอกจากนั้น Yindii ยังให้บริการโซลูชั่นสำหรับร้านอาหารและผู้ค้าปลีกในการสต็อกสินค้าโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายและสามารถสร้างรายได้จากอาหารส่วนเกินได้
เศษอาหารเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและเป็นหนึ่งในปัญหาที่ใหญ่ที่สุดที่มนุษยชาติกำลังเผชิญอยู่ในขณะนี้ ลองจินตนาการถึงภาพของถุง 3 ใบที่เต็มไปด้วยอาหาร แต่อาหารที่มีมันเยอะเกินไป เพราะเราเลือกซื้อเกินความจำเป็น ทำให้เราต้องเลือกที่จะทิ้งถุงอาหารนั้นไป 1 ใบทั้ง ๆ ที่อาหารเหล่านั้นยังสดใหม่และสามารถนำมาบริโภคได้อย่างสมบูรณ์อยู่
และนี่คือสิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อเราพูดถึงสถานการณ์ "Food Waste" ของโลก นั้นหมายความว่า มนุษย์กำลังทิ้งอาหารในถังขยะมากถึง 1.3 พันล้านตัน ซึ่งคิดเป็น 1 ใน 3 ของอาหารทั้งหมดในโลก ในขณะที่ยังคงมีผู้คนอีกกว่า 800 ล้านคน กำลังทุกข์ทรมานจากความหิวโหย
อีกสิ่งที่ใครหลายคนอาจจะยังไม่รู้ คือ เศษอาหารเป็นหนึ่งในสาเหตุให้เกิดภาวะโลกร้อนมากที่สุด เนื่องจากการกำจัดขยะอาหารในหลุมฝังกลบทำให้เกิดการปล่อยก๊าซมีเทนในระดับสูง ซึ่งส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทุกปี และเศษอาหารนั้นยังปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้มากถึง 3 พันล้านตัน
เศษอาหารไม่เพียงแต่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในเชิงลบ แต่ยังรวมถึงผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมด้วย การลดปริมาณเศษอาหารในร้านอาหาร ร้านค้าปลีก หรือในครัวเรือนจึงเป็นประโยชน์ต่อโลกและมนุษยชาติของเราในมิติต่าง ๆ นับไม่ถ้วน
แม้ว่าปัญหานี้จะเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก แต่ก็มีผู้คนจำนวนหนึ่งพยายามที่จะค้นหาแนวทางแก้ไขที่ถูกต้องสำหรับวิกฤตโลกนี้ผ่านสิ่งที่เรียก Food Tech
การเติบโตของอุตสาหกรรมเทคโนโลยีอาหารนั้นเพิ่มสูงขึ้นเป็นอย่างมาก จากรายงานของ PitchBook เมื่อปี 2021 ได้รายงานว่า อุตสาหกรรม Food Tech ทั่วโลกสามารถระดมทุนได้เกือบ 4 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯ จากข้อตกลงกว่า 1,300 ฉบับ และคาดการณ์ว่าในปี 2026 มูลค่าตลาดโลกของเทคโนโลยีด้านอาหารจะสูงถึงกว่า 46,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ
นอกจากนี้ รายงานจาก AgFunder ยังได้กล่าวถึงตัวเลขการลงทุนในสตาร์ทอัพด้าน Food Tech และ Agtech ของอาเซียนว่ามีมูลค่าประมาณการณ์ที่ 26,000 ล้านเหรียญสหรัฐในปี 2020 ที่เพิ่มขึ้นจากเดิมมากถึง 15.5% ซึ่งแสดงถึงการเติบโตและอนาคตที่สดใสสำหรับอุตสาหกรรมนี้
และเมื่อผู้บริโภคยินดีที่จะจ่ายเงินให้กับผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีด้านอาหารที่มอบความสะดวกสบาย สุขภาพ และสิ่งแวดล้อมแล้ว โอกาสของการปฏิวัติระบบอาหารก็จะเพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล และคุ้มค่าเป็นที่น่าจับตามองต่อไป
อ้างอิง Xpdite
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด