ทำงานแบบ Hybrid คืออะไร? ทำไมบริษัทชั้นแนวหน้าถึงนิยม | Techsauce
talentsauce logo
ฝากประวัติ ค้นหา Tech Talent Talent Insights Job Hack Life Hacks News Video Podcast
ทำงานแบบ Hybrid คืออะไร? ทำไมบริษัทชั้นแนวหน้าถึงนิยม
By Connext Team พฤษภาคม 26, 2022
share facebook icon share facebook icon hover share x icon share x icon hover share line icon share line icon hover share icon share icon hover

หลังจากเกิดการแพร่ระบาดใหญ่ของโควิด-19 มาเป็นเวลานาน ส่งผลให้มีความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นมากมายในโลกการทำงาน หนึ่งในนั้นคือการที่บริษัทต่างๆ หันมาใช้รูปแบบการทำงานแบบ Hybrid มากขึ้น 

การทำงานแบบ Hybrid คือ การที่บริษัทอนุญาตให้พนักงานสามารถทำงานทางไกลได้บางวันผสมกับการทำงานที่ออฟฟิศ ซึ่งขึ้นอยู่กับบริษัทว่าจะให้พนักงานเข้าออฟฟิศกี่วันและทำงานทางไกลกี่วันต่อสัปดาห์ โดยปกติแล้วการทำงานแบบ Hybrid จะเป็นที่นิยมมากกว่าการทำงานทางไกล 100% เพราะสามารถนำมาปรับใช้ได้ง่ายกว่าและไม่ต้องลงทุนในการเปลี่ยนโครงสร้างการทำงานใหม่เท่าการทำงานทางไกลเต็มรูปแบบ

Hybrid work

5 บริษัทชั้นนำที่ใช้การทำงานแบบ Hybrid

1. Apple

  • อุตสาหกรรม: เทคโนโลยี ซอฟต์แวร์ และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เพื่อผู้บริโภค
  • รูปแบบการทำงาน: Hybrid, Office-first (ทำงานออฟฟิศเป็นหลัก)

Apple เป็นบริษัทเทคโนโลยีที่มีชื่อเสียงด้านอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ บริการออนไลน์ และซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ รวมถึงเป็นบริษัทเทคโนโลยีที่ใหญ่ที่สุดโลก เมื่อเดือนมิถุนายน 2021 บริษัทยักษ์ใหญ่ได้ประกาศให้พนักงานทำงานในออฟฟิศแค่ 3 วัน/สัปดาห์ และสามารถเลือกวันทำงานที่บ้านได้ 2 วัน/สัปดาห์

2. Microsoft

  • อุตสาหกรรม: เทคโนโลยี ซอฟต์แวร์ และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เพื่อผู้บริโภค
  • รูปแบบการทำงาน: Hybrid

Microsoft เป็นบริษัทเทคโนโลยีที่นำรูปแบบการทำงานแบบ Hybrid เข้ามาใช้ตั้งแต่เริ่มมีการแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยทางบริษัทอนุญาตให้พนักงานจากที่ไหนก็ได้ 50% ของเวลาทำงานหนึ่งสัปดาห์

3. Shopify

  • อุตสาหกรรม: เทคโนโลยี อีคอมเมิร์ซ
  • รูปแบบการทำงาน: Hybrid, Remote-first (ทำงานทางไกลเป็นหลัก)

เมื่อเดือนพฤษภาคม 2020 ซีอีโอของ Shopify ได้ทวีตว่า “Digital by default” เป็นการสื่อให้เห็นว่าทางบริษัทจะเริ่มทำงานแบบ Remote-first หรือทำงานทางไกลแบบเต็มรูปแบบ ส่วนใครที่อยากเข้าออฟฟิศก็สามารถทำได้เช่นกัน

4. Slack

  • อุตสาหกรรม: เทคโนโลยี ซอฟต์แวร์ และการบริการ
  • รูปแบบการทำงาน: Hybrid

ในปี 2020 Slack ได้เสนอทางเลือกให้พนักงานว่าจะทำงานจากที่บ้านแบบถาวรหรือจะเข้าไปทำงานที่ออฟฟิศก็ได้ นอกจากนี้ ตำแหน่งใหม่ๆ ก็เปิดรับสมัครผู้ที่ทำงานทางไกลมากขึ้น และจะนำการทำงานแบบ Asynchronous หรือการทำงานที่ไหนเมื่อไหร่ก็ได้ เข้ามาใช้กับการทำงาน เพื่อสนับสนุนให้พนักงานมีเวลาการทำงานที่เหมาะสมกับตัวเอง

5. Spotify

  • อุตสาหกรรม: เทคโนโลยี สื่อสตรีมมิ่ง
  • รูปแบบการทำงาน: Hybrid

Spotify ได้นำรูปแบบการทำงานแบบ Hybrid เข้ามาใช้ ทำให้พนักงานสามารถทำงานได้จากทั่วทุกมุมโลก อีกทั้งยังมีการจัดพื้นที่ไว้ทำงานร่วมกันหากพนักงานอยากทำงานในออฟฟิศแต่ไม่ได้อยู่ใกล้ออฟฟิศ 

ข้อดี/ข้อเสียของการทำงานแบบ Hybrid

ข้อดีสำหรับบริษัทอย่างหนึ่งเมื่อให้พนักงานทำงานแบบ Hybrid คือ จะสามารถดึงดูดคนให้เข้ามาสมัครงานกับทางบริษัทได้มากขึ้น ซึ่งจะทำให้บริษัทสามารถค้นหาคนที่ตรงกับความต้องการได้มากกว่าเดิม อีกทั้งยังเป็นการลดค่าใช้จ่ายของบริษัทด้วย

นอกจากนี้ จากรายงานโดย Global Workplace Analytics ได้เผยว่า การมีทางเลือกให้พนักงานสามารถทำงานทางไกลได้ยังช่วยลดการลางานแบบกระชั้นชิดด้วย เพราะพนักงานมีเวลาจัดการธุระที่เกิดขึ้นแบบกะทันหันได้มากขึ้นโดยไม่ต้องลางาน

แต่การนำรูปแบบการทำงานแบบ Hybrid เข้ามาใช้ก็เพิ่มความท้าทายหลายอย่างให้กับฝั่งนายจ้างเช่นกัน เช่น ปัญหาการขาดความมีส่วนร่วมของพนักงาน เพราะการทำงานทางไกลทำให้ต้องมีการสื่อสารกันแบบออนไลน์ ซึ่งหมายความว่าทางบริษัทจะต้องมีการตั้งเป้าหมายการทำงานให้ชัดเจนและโปรแอคทีฟขึ้น เพื่อแก้ไขปัญหานี้

อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันสถานการณ์โควิดเริ่มคลี่คลาย ทำให้หลายบริษัทเริ่มให้พนักงานกลับเข้าไปทำงานที่ออฟฟิศ แต่โดยส่วนใหญ่แล้วพนักงานก็ยังคงอยากทำงานทางไกลมากกว่า เพราะช่วยประหยัดเวลาและประหยัดค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปทำงาน อีกทั้งการทำงานที่บ้านยังทำให้มีสมาธิในการทำงานมากกว่าด้วย

อ้างอิง hcamag 

No comment

คัดลอก URL

×

https://techsauce.co/talentsauce/talent-insights/hybrid-work-models