เป็น Job hopper ไม่ใช่เรื่องผิด เพราะทุกคนไม่จำเป็นจะต้องเติบโตไปในทิศทางเดียวกัน | Techsauce
เป็น Job hopper ไม่ใช่เรื่องผิด เพราะทุกคนไม่จำเป็นจะต้องเติบโตไปในทิศทางเดียวกัน

สิงหาคม 9, 2022 | By Chanapa Siricheevakesorn

ถึงเวลาที่จะต้องพิจารณาบรรทัดฐานที่กำหนดไว้เกี่ยวกับการจ้างงานใหม่แล้วหรือยัง? 

อุดมการณ์ของคนทำงานรุ่นใหม่ไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปมากจากรุ่นก่อนๆ เช่น ความปรารถนาที่จะได้รับการชื่นชมในการทำประโยชน์ให้กับบริษัท การพัฒนาทักษะ และการพัฒนาความสามารถให้เป็นที่ต้องการของตลาดแรงงาน

ความแตกต่างเพียงอย่างเดียวคือวิธีการบรรลุเป้าหมายเหล่านั้น ที่คนรุ่นใหม่อาจต่างจากรุ่นก่อนๆ เพราะเราเต็มใจที่จะกระโดดจากนายจ้างคนหนึ่งไปสู่นายจ้างอีกคนเพื่อพัฒนาอาชีพของตนได้ในเวลาอันสั้นหรือที่เรียกว่า “Job-hopping” นั่นเอง 

วันนี้ ConNEXT จะพูดถึงการ Job-hopping ว่าคืออะไร? มีข้อดี ข้อเสียอย่างไร พร้อมทั้ง How To พรีเซนต์ตัวเองในฐานะ Job hopper อย่างไรให้ได้งาน! เพื่อให้คนรุ่นใหม่ก้าวสู่โลกการทำงานอย่างมั่นใจไปด้วยกัน

Job hopper

Job-hopping คืออะไร?

โดยทั่วไปหมายถึงการทำงานที่ใดที่หนึ่งหนึ่งน้อยกว่า 2 ปี ซึ่งในอดีตการ Job-hopping หรือการเปลี่ยนงานบ่อยครั้งในระยะเวลาอันสั้น อาจดูเหมือนว่าเราขาดความมุ่งมั่น แต่ในปัจจุบันเมื่อสภาพแวดล้อมเปลี่ยน การทำงานก็ย่อมเปลี่ยนตาม หลายองค์กรได้เปลี่ยนจากการทำงานในบริษัทไปเป็นการทำงานทางไกล (Remote)  มีการเลิกจ้างพนักงาน หรือดำเนินมาตรการอื่นๆ เพื่อปรับตัวให้เข้ากับยุคสมัยที่เปลี่ยนไป 

มีสาเหตุหลายประการที่ให้เราเปลี่ยนงาน เช่น ความไม่พอใจในงาน ติดหล่มความคิด พบสภาวะวัฒนธรรมการทำงานที่ Toxic เต็มไปด้วยพลังเชิงลบ ปัญหาสุขภาพ หรือความปรารถนาที่จะเปลี่ยนอาชีพ สำหรับบางคน การหางานใหม่อาจจะไม่ใช่เรื่องที่อยากทำแต่จำเป็น เพราะตำแหน่งของเขาอาจถูกกำจัดหรือเปลี่ยนหน้าที่ 

อย่างไรก็ตาม มีคนบางส่วนตั้งใจใช้ Job-hopping เพื่อค้นหางานในฝันและคว้าโอกาสที่อาจจะเกิดขึ้นได้เนื่องจากตลาดแรงงานปรับตัวตามการเปลี่ยนแปลง เช่น การเพิ่มขึ้นของงานทางไกล (Remote) และความต้องการพนักงานเพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ไลน์ใหม่ๆ

ข้อดีของการเป็น Job hopper

  1. ได้รับเงินเดือนที่สูงขึ้น

สาเหตุหลักประการหนึ่งที่พนักงานอาจเลือกงานใหม่คือ 

พนักงานหลายคนจึงชอบเปลี่ยนงานมากกว่ารอการขึ้นเงินเดือนหรือโบนัสจากนายจ้าง เพราะสิ่งที่องค์กรเดิมส่วนใหญ่จะเสนอให้เราได้มากที่สุดแค่ประมาณ 3-5 เปอร์เซ็นต์ต่อปีเท่านั้น 

  1. ความก้าวหน้าในอาชีพ

การเปลี่ยนงานทำให้พนักงานมีโอกาสได้งานระดับสูงในบริษัทอื่น นอกจากนี้ยังให้โอกาสในการเรียนรู้ทักษะใหม่ ได้รับประสบการณ์จริง หรือได้รับหน้าที่ความรับผิดชอบมากขึ้น

  1. เปลี่ยนสถานที่

ข้อดีอีกประการของการหางานคือการย้ายไปยังเมือง รัฐ หรือประเทศใหม่ การหางานใหม่มักจะรวมถึงการย้ายไปอยู่ในสภาพแวดล้อมใหม่ด้วย หากชอบที่จะค้นพบสถานที่และรับมือกับความท้าทายใหม่ๆ การหางานในตำแหน่งใหม่อาจเป็นตัวเลือกทางอาชีพที่น่าสนใจ 

  1. การปรับตัว

เราจะได้สร้างความสัมพันธ์กับทีมใหม่ทุกครั้งที่เปลี่ยนแปลงงาน ได้เรียนรู้วิธีใหม่ในการทำสิ่งต่างๆ สิ่งเหล่านี้จะทำให้เราพัฒนาทักษะการสื่อสารและความสามารถในการปรับตัว ถือว่าเป็น Soft Skill ที่มีคุณค่า เมื่อเราปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมการทำงานใหม่ได้

  1. สภาพแวดล้อมที่ดีขึ้น

Job hopper จะมีโอกาสได้ลองสัมผัสวัฒนธรรมของบริษัทที่หลากหลาย และนี่อาจเป็นปัจจัยที่สามารถช่วยให้เราตัดสินใจได้อย่างมีประสบการณ์ว่าสภาพแวดล้อมของบริษัทประเภทใดที่จะเหมาะสมที่สุดสำหรับตัวเราเอง

ข้อเสียของการเป็น Job hopper

  1. หางานยาก

เหล่า Recruiters มักจะดูประวัติการทำงานของผู้สมัครและตัดสินโดยพิจารณาจากระยะเวลาที่ผู้สมัครทำงานก่อนหน้านี้ 

เรื่องนี้สำคัญเพราะผู้จัดการการจ้างงานอาจไม่ถามว่าทำไมเราถึงเลือกออกจากงานล่าสุด แต่พวกเขาอาจเชื่อว่าเราไม่มีความอดทนในการทำงานที่เดิมนานๆ และอาจปฏิเสธที่จะสัมภาษณ์เรา

  1. ประสบการณ์ที่ไม่สอดคล้องกัน

ข้อเสียอีกประการของการหางานคือทำให้ประวัติการทำงานของเราดูไม่สอดคล้องกัน เนื่องจากเราอาจลาออกจากที่ต่างๆ ด้วยตำแหน่งงานที่แตกต่างกันภายในช่วงเวลาสั้นๆ 

Recruiter อาจจะมองว่าเราอาจไม่มีเวลาที่มากพอในการเรียนรู้ทักษะ ประสบการณ์หรือมีความเชี่ยวชาญมากพอในตำแหน่งเหล่านั้น

  1. ความไม่พอใจในงาน

ข้อเสียเปรียบอีกประการหนึ่งของ Job hopper คือหากเกิดความไม่พอใจในงาน เราอาจจะเปลี่ยนงานทุกครั้งที่พบปัญหาจนบางครั้งไม่ได้เรียนรู้ที่จะจัดการกับความท้าทายอย่างมืออาชีพ 

การเรียนรู้ที่จะอดทนและพอใจกับตำแหน่งปัจจุบันอาจช่วยให้เราเติบโตอย่างมืออาชีพและมีความสุขมากขึ้น ซึ่งบางครั้งอาจต้องใช้เวลาสองปีหรือมากกว่าในการปรับตัวให้เข้ากับตำแหน่งใหม่ ดังนั้นการให้เวลาตัวเองเพื่อปรับตัวให้คุ้นเคยกับสภาพแวดล้อมก็ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญ

  1. เสียผลประโยชน์

การ Job-hopping อาจทำให้เราเสียผลประโยชน์ เช่น เสียเวลาพักร้อน เสียรายได้จากการหยุดงาน และอาจสูญเสียรายได้หลังเกษียณ หรือเงินสมทบที่นายจ้างมอบให้ 

  1. ความเครียดและความไม่แน่นอน

การหางานอาจนำไปสู่ความเครียดและความไม่แน่นอนในชีวิตของเราโดยไม่จำเป็น การเปลี่ยนงานมักเกี่ยวข้องกับการเจรจาสัญญาใหม่ การพบปะผู้คนใหม่ๆ และการปรับตารางเวลาใหม่ 

ในบางกรณี นั่นหมายถึงการย้ายที่อยู่หรือการขับรถเส้นทางใหม่ ซึ่งการเริ่มต้นในสภาพแวดล้อมใหม่หลายๆ ครั้งในช่วงเวลาสั้นๆ อาจทำให้ทั้งร่างกายและจิตใจเหนื่อยล้าได้

How To พรีเซนต์ตัวเองในฐานะ Job hopper อย่างไรให้ได้งาน!

เมื่อ Recruiter ดูประวัติการทำงานของเรา พวกเขามักจะถามว่าทำไมเราถึงเปลี่ยนงานบ่อยๆ การแสดงประสบการณ์และความรู้ที่ได้รับจากตำแหน่งงานในอดีตเป็นสิ่งสำคัญ หากเราสามารถอธิบายงานของเราได้อย่างถูกวิธี เราก็จะสามารถใช้ประวัติงานที่ผ่านมาเพื่อหางานที่ต้องการได้

และนี่คือเคล็ดลับในการพรีเซนต์ประวัติงานในเชิงบวก

โลกธุรกิจมีการเปลี่ยนแปลงไปทุกวัน ผู้สมัครหลายคนอาจมีแนวโน้มที่จะตกงานได้ในอนาคต เราต้องปรับตัวและก้าวไปพร้อมกับตลาดแรงงาน ทั้งนี้ Job hopper ควรต้องพิจารณาว่าความต้องการขององค์กรสอดคล้องกับค่านิยม ความสนใจ ทักษะ และความสามารถของเราอย่างไร เพราะเราทุกคนต่างมีภาระหน้าที่ในการแสวงหาแนวทางที่ดียิ่งขึ้น 

Recruiter ควรเปิดใจให้กว้างมากขึ้นกับแนวคิดที่ว่า “ทุกคนไม่ได้ต้องการสิ่งเดียวกัน พนักงานหรือผู้สมัครงานทุกคนไม่จำเป็นจะต้องเติบโตไปในทิศทางเดียวกัน หรือไล่ตามเป้าหมายในแบบเดียวกัน”

ในทางเดียวกัน องค์กรก็ควรวางแผนกลยุทธ์วัฒนธรรมของบริษัทในการรักษาพนักงานที่ดี รักษาความสมดุลระหว่างชีวิต การทำงาน และผลประโยชน์ของพนักงาน เพราะข้อพิจารณาเหล่านี้อาจช่วยให้พนักงานเห็นคุณค่าของการเป็นลูกจ้างประจำ และผลักดันความสามารถของพวกเขาเองเพื่อนำพาองค์กรให้เติบโตไปด้วยกันได้

อ้างอิง Indeed, insperity, forbes 

No comment