Career Path คืออะไร? พร้อม How to เลือกเส้นทางทั้ง 9 สเต็ป | Techsauce
Career Path คืออะไร? พร้อม How to เลือกเส้นทางทั้ง 9 สเต็ป

พฤษภาคม 20, 2022 | By Connext Team

ตอนเด็กๆ หลายคนคงเคยโดนผู้ใหญ่ถามถึงเส้นทางอาชีพ (Career Path) ที่เราต้องการว่าโตขึ้นอยากเป็นอะไร พอโตขึ้นมาเราก็ต้องเลือกเส้นทางอาชีพของตัวเอง ซึ่งโดยปกติแล้วเส้นทางอาชีพเป็นสิ่งที่ต้องเดินทางไกลกว่าจะไปถึงจุดหมาย บางคนอาจจะมีเส้นทางที่คดเคี้ยว มีแวะพักบ้าง และมีเปลี่ยนเส้นทางบ้าง แต่ถ้าเราเริ่มต้นอาชีพในเส้นทางที่ใช่ จะทำให้เราเจองานที่น่าพึงพอใจและสนุกไปกับมัน

โดยการที่เราจะเจอเส้นทางที่ใช่ได้จะต้องมีการไตร่ตรองถึงความสนใจ ทักษะ และเป้าหมายในอาชีพระหว่างช่วงตัดสินใจเลือกชีวิตการทำงานของตัวเอง เช่น มหาวิทยาลัยที่จะเข้า งานแรกควรเริ่มทำอะไร ในบทความนี้จะอธิบายถึงวิธีการเลือกเส้นทางอาชีพที่ใช่ให้เหมาะกับทักษะและความสนใจของตัวเอง 

Career Path

Career Path คืออะไร

Career Path คือเส้นทางความก้าวหน้าในอาชีพที่มีลำดับขั้นของตำแหน่งงานตั้งแต่ต่ำสุดไปจนถึงสูงสุด เช่น งานแรกของเราเป็นจุดเริ่มต้นของเส้นทางอาชีพ เมื่อทำงานไปเรื่อยๆ จนสะสมความรู้ ทักษะ และประสบการณ์เพิ่มขึ้น เราอาจได้เลื่อนขั้นไปสู่ตำแหน่งที่สูงขึ้น โดยเส้นทางอาชีพของแต่ละสายงานก็จะมีความแตกต่างกันไป เพราะบางคนปูเส้นทางอาชีพของตัวเองมาในลักษณะเป็นเส้นตรง เช่น หลังเรียนจบมาทำงานตรงสาย แล้วหลังจากนั้นก็เติบโตขึ้นไปในสายงานนั้นเรื่อยๆ

แต่บางคนก็อาจจะมีเส้นทางอาชีพที่มีความคดเคี้ยว ใช้เวลาในการเดินทางไปสู่จุดหมายปลายทางนานกว่าคนที่มุ่งสู่เป้าหมายเป็นเส้นตรง หรือบางคนอาจจะต้องกลับไปเริ่มต้นใหม่เพราะเจอกับความล้มเหลวในอาชีพ ดังนั้นเส้นทางอาชีพจึงเป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลาตามเงื่อนไขชีวิตของแต่ละบุคคล

ตัวอย่าง Career Path ของแต่ละสายอาชีพ

เส้นทางอาชีพของแต่ละคนอาจไม่เหมือนกัน เนื่องจากเราทุกคนต่างก็มีเป้าหมายในอาชีพและวิธีการไปถึงเป้าหมายนั้นแตกต่างกันไป นี่คือหนึ่งในตัวอย่างเส้นทางอาชีพของแต่ละสายงาน

1. IT – Computer Science Major → Web Developer Intern → Junior Web Developer → Software Engineer → IT Manager → Head of IT

2. Marketing – Social Media Specialist → Content Marketing Associate → Marketing Lead → Head of Marketing → Chief Marketing Officer (CMO)

3. Retail – Retail Sales Associate → Cashier → Consumables Team Leader → Assistant Store Manager → Store Manager → District Manager

4. Accounting – Finance Major → Junior Accountant → Senior Accountant → Corporate Controller → Chief Financial Officer (CFO)

5. Physical Therapy – Biology & Physiology Major → Doctor of Physical Therapy → PT Resident → Physical Therapist → Private Practice

6. Engineer – Engineering Student → Engineer I → Engineer II → Senior Engineer → Principal Engineer

7. Education – Childhood Education Major→ Teaching Assistant → Teacher → Assistant Principal → Principal

8. Media – Editorial Intern → Editorial Assistant → Assistant Editor → Associate Editor → Managing Editor → Editor in Chief

วิธีเลือกเส้นทางอาชีพที่ใช่

เมื่อพูดถึง Career Path เราจะต้องคำนึงถึงเป้าหมาย แผนในอนาคต และบุคลิกภาพของตนเอง เพื่อที่เราจะได้เลือกเส้นทางอาชีพที่เหมาะสมตั้งแต่ต้น ดังนั้นเราจึงควรเตรียมเส้นทางอาชีพด้วย 9 สเต็ปต่อไปนี้

1. ตั้งเป้าหมายในการทำงาน

ก่อนที่จะปักธงเลือกอาชีพใดอาชีพหนึ่ง ให้ทบทวนตัวเองด้วยการถามและตอบคำถามต่อไปนี้ก่อน เพื่อช่วยให้ตัวเลือกแคบลง

เมื่อตอบคำถามตัวเองได้แล้ว เราก็จะสามารถปูเส้นทางอาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น  สิ่งสำคัญคือต้องทบทวนเป้าหมายในอาชีพอยู่เสมอว่าเรายังคงทำตามเป้าหมายนั้นและสิ่งนั้นยังคงสอดคล้องกับความสนใจของเราอยู่

2. วางแผนระยะ 5 ปี และ 10 ปี

หากเริ่มจำกัดตัวเลือกให้แคบลงได้แล้ว ให้ค้นคว้าหาข้อมูลดูว่าในสาขาที่เราจบมา คนที่เรียนจบไปแล้วทำงานอะไรบ้างในช่วง 5 ปีหรือ 10 ปี ให้จดชื่อตำแหน่งต่างๆ ไว้ แล้วลองตัดสินใจดูว่าเราอยากทำตำแหน่งไหนหรืออยากก้าวหน้าต่อไปอย่างไรในอนาคต หลังจากนั้นให้หาสิ่งที่สามารถทำได้เพื่อปูเส้นทางไปสู่เป้าหมาย เช่น การเข้ารับฝึกอบรม การกำหนดเป้าหมายอาชีพจะช่วยให้เราสามารถวางแผนได้โดยอิงจากความก้าวหน้าที่คาดหวังไว้ 

3. ค้นหาบุคลิกภาพของตัวเอง

เราสามารถค้นหาบุคลิกภาพของตัวเองได้ผ่านการทำแบบทดสอบต่างๆ ให้ลองทำแบบทดสอบที่หลายหลาก เพื่อค้นหาอาชีพที่เหมาะกับบุคลิกภาพของตัวเองจริงๆ

ตัวอย่างแบบทดสอบยอดนิยม:

4. ทบทวนประสบการณ์ที่ผ่านมา

ความพึงพอใจในงานที่เคยทำมาก่อนหน้านี้ จะสามารถช่วยชี้แนะทางเลือกในอาชีพของเราได้ ให้ลองดูว่างานที่เคยทำแล้วรู้สึกเติมเต็มก่อนหน้านี้มีอะไรบ้าง 

5. เปรียบเทียบวุฒิที่งานต้องการกับวุฒิที่ตัวเองมี

งานแต่ละงานมีข้อกำหนดด้านการศึกษาต่างกัน เช่น บางงานอาจต้องการวุฒิการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย บางงานอาจต้องการวุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือปริญญาโท ลองดูให้ดีว่างานที่เราสนใจตรงกับวุฒิการศึกษาของเราหรือไม่ ถ้าไม่ตรงเราสามารถทำอย่างไรได้บ้าง เช่น อาจจะไปลงคอร์สเรียนเพิ่ม

6. ประเมินว่าตอนนี้เรามีทักษะอะไรบ้าง

ลองเช็กดูว่าตอนนี้เรามีทักษะและมีใบประกาศนียบัตรอะไรบ้าง รวมถึงดูว่าสิ่งเราเชี่ยวชาญในปัจจุบันคืออะไร โดยเราอาจจะถามความเห็นจากเพื่อนร่วมงานเกี่ยวกับทักษะด้านเทคนิค ทักษะระหว่างบุคคล และทักษะการจัดการบุคคลของเราว่าเป็นอย่างไรก็ได้ การประเมินนี้จะช่วยให้เราค้นหาอาชีพที่ตรงกับทักษะที่เรามี

7. สร้างลิสต์สิ่งที่สนใจออกมา

สิ่งที่เราสนใจสามารถนำไปประกอบอาชีพได้ แต่คนเราไม่ได้มีความสนใจแค่เพียงอย่างเดียว ดังนั้นให้ดูสิ่งที่สนใจควบคู่ไปกับบุคลิกภาพ งานอดิเรก และประสบการณ์อาสาสมัครในอดีตของตัวเอง เพื่อค้นหากิจกรรมที่ชอบและจำกัดเส้นทางอาชีพให้แคบลง นอกจากนี้เรายังสามารถสำรวจเส้นทางอาชีพใหม่ๆ ว่าเหมาะกับความเป็นตัวเราหรือไม่ ผ่านการลองทำงานสั้นๆ หรือลองทำงานอาสาสมัครก็ได้

8. ค้นหาค่านิยมหลัก

การรู้ว่าค่านิยมหลักของตัวเองมีอะไรบ้าง จะช่วยให้เราค้นหาสายงานเฉพาะที่เรารู้สึกชอบจริงๆ ได้ ดังนั้นให้ลองเขียนลิสต์คุณสมบัติที่เราให้ความสำคัญของบริษัทหรือคุณสมบัติของเพื่อนร่วมงานในอนาคต เพื่อใช้ในการค้นหาบริษัทและงานที่ตรงกับค่านิยมหลักของตัวเอง

9. พิจารณาว่าต้องการเงินเดือนเท่าไหร่

เมื่อเส้นทางอาชีพต่างกัน แน่นอนว่าค่าตอบแทนก็ต่างกันเช่นกัน ลองหาเงินเดือนเฉลี่ยตามตำแหน่งงาน และบริษัทที่สนใจ เพื่อนำมากำหนดว่างานแรกเราควรได้เงินเท่าไหร่ แล้วเมื่อมีประสบการณ์มากขึ้นควรได้เงินเดือนเท่าไหร่ แม้ว่าเงินเดือนจะมีความสำคัญไม่เท่ากับการได้ทำงานที่ชื่นชอบ แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่ควรพิจารณาเมื่อกำหนดเส้นทางความก้าวหน้าในอาชีพ

อ้างอิง Indeed, Goodwall 

No comment