ทำไม Gen Z และ Millennials ถึงกล้า ‘ลาออก’ ทั้งที่ยังไม่มีงานรองรับ | Techsauce
ทำไม Gen Z และ Millennials ถึงกล้า ‘ลาออก’ ทั้งที่ยังไม่มีงานรองรับ

พฤษภาคม 20, 2022 | By Chanapa Siricheevakesorn

เราคงเคยได้ยินกันว่า ‘เด็กสมัยนี้ไม่อดทน’ หรือ ‘ลาออกทำไมบ่อยๆ งานใหม่ก็ยังไม่ได้’

การที่พวกเขาต้องเผชิญกับผลกระทบจากโรคระบาด และภาวะเศรษฐกิจที่ถดถอยในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา คนรุ่นใหม่ในวัยทำงานต่างแสวงหาความสมดุล และการเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืน? หรือจริงๆ แล้วพวกเขาแค่กำลังมองหาวิธีใหม่ๆ ในการทำงาน บทความวันนี้ของ ConNEXT มีคำตอบ

Great Resignation

ช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ปฏิเสธไม่ได้ว่าตลาดแรงงานทั่วโลกสั่นคลอนเพราะขาดแรงงานหลังจากมีสถานการณ์โรคระบาด คนรุ่นใหม่หลายคนว่างงาน แต่ในทางกลับกันมีคนจำนวนมากเช่นกันที่ลาออก ซึ่งปรากฏการณ์นี้เรียกว่า ‘Great Resignation’

ผลสำรวจ Gen Z (อายุ 19-27 ปี) มากกว่า 14,000 คน และคนรุ่น Millennials (อายุ 28-39 ปี) กว่า 7,400 คนจาก 46 ประเทศ ได้รับการสำรวจจาก THE DELOITTE GLOBAL 2022 GEN Z & MILLENNIAL SURVEY เผยว่า

เหตุผลที่คนรุ่นใหม่ลาออก

Gen Z ประมาณ 40% และ Millennials ประมาณ 24% ลาออกจากงานภายในสองปี และการสำรวจทั่วโลกพบว่าประมาณหนึ่งในสามตัดสินใจลาออกแม้ยังไม่มีงานใหม่มารองรับ ถ้าองค์กรใดสามารถเรียนรู้จากช่วงเวลานี้ และนำการเปลี่ยนแปลงมาใช้ในองค์กรจะช่วยดึงดูดและรักษาคนรุ่นใหม่ที่มีความสามารถไว้ได้

ปัจจัยอะไรคือสิ่งที่คนรุ่นใหม่ต้องการ

ถ้าองค์กรสามารถทำให้คนรุ่นใหม่พึงพอใจโดยการสร้างสังคม สภาพแวดล้อม วัฒนธรรมที่หลากหลาย และให้สมดุลกับการทำงานได้ อาจมีแนวโน้มที่คนรุ่นใหม่จะอยู่กับองค์กรนั้นๆ มากกว่าห้าปี และนี่คือปัจจัยที่จะทำให้คนรุ่นใหม่ทั้ง Gen Z และ Millennials เลือกทำงานในองค์กรใดองค์กรหนึ่ง 

คนรุ่นใหม่จัดให้ความสมดุลระหว่างชีวิต และการทำงานที่ดี (Good work/life balance) รวมถึงโอกาสในการเรียนรู้และการพัฒนา (Learning and development opportunities) สำคัญสูงที่สุด ดังนั้นองค์กรที่สามารถปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงนี้ได้ จะกลายเป็นสถานที่ทำงานที่น่าดึงดูดมากยิ่งขึ้น

ปัจจัยรองลงมา ได้แก่ 

นอกจากนี้ Michele Parmelee รองซีอีโอของ Deloitte Global และประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคล กล่าวว่า “ความคาดหวังขององค์กรในการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงทางสังคม และสิ่งแวดล้อมไม่เคยสูงเท่านี้มาก่อน คนรุ่นเก่าอาจไม่ได้คาดหวังว่าองค์กรจะยืนหยัดในประเด็นทางสังคม แต่คนรุ่นใหม่ทำ พวกเขามีอำนาจมากขึ้นในการเรียกร้องสิ่งต่างๆ และแสดงให้เห็นเสมอว่าพวกเขาเต็มใจที่จะลาออก และพวกเขามีคาดหวังสูงมากกว่านี้”

ลาออก

องค์กรต้องปรับตัวอย่างไรเพื่อดึงดูดคนรุ่นใหม่

1. สนับสนุนคนรุ่นใหม่ที่ต้องต่อสู้กับความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจ และความเครียดทางการเงิน

หนึ่งในการดำเนินการที่องค์กรสามารถดำเนินการได้ คือการให้ความสำคัญกับการสนับสนุนพนักงานของพวกเขา โดยการทำความเข้าใจ ลำดับความสำคัญของพนักงาน จัดสวัสดิการและค่าตอบแทนให้เหมาะสม เช่นเดียวกับผลประโยชน์ เช่น ค่าลาหยุดงาน ค่ารักษาพยาบาล และเงินออมเพื่อการเกษียณ 

2. ส่งเสริมให้พนักงานเป็นผู้นำ และขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลง

Gen Z และ Millennials ต้องการแสดงความคิดเห็น และขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลง ‘Great Resignation’ ทำให้เรื่องนี้สำคัญยิ่งขึ้นสำหรับองค์กรต่างๆ นอกเหนือจากค่าตอบแทนที่ดีขึ้น ความสมดุลในการทำงาน/ชีวิต การเรียนรู้และการพัฒนา และมีความยืดหยุ่นเป็นสิ่งจำเป็นที่จะดึงดูดและรักษาคนรุ่นใหม่ที่มีความสามารถ 

องค์กรจำเป็นต้องรับฟังพนักงานและให้อำนาจพวกเขาในการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงผ่านความคิด เช่น การให้คำปรึกษา การให้โอกาสในการเพิ่มทักษะเพื่อขยายโครงการ ให้โอกาสในการเติบโต สำรวจ และเพิ่มศักยภาพของพวกเขา

3. ใช้กลยุทธ์การทำงานแบบผสมผสาน (Hybrid work strategies)

บริษัทต่างๆ กำลังมองหาวิธีเพิ่มความยืดหยุ่นในช่วงเวลา และสถานที่ในการทำงาน จากการสำรวจ Pulse Survey of C-suite ของ PWC พบว่า มีบริษัทกว่า 43% นำเสนอโมเดลไฮบริด ที่เน้นในเรื่อง สุขภาพกาย สุขภาพจิต และการเงิน กำลังเป็นที่นิยมมากขึ้น และพ่วงมาด้วยผลประโยชน์อื่นๆ เช่น การทำงาน 4 วัน/สัปดาห์ วันหยุดพักผ่อน และการทำงานจากที่ใดก็ได้ ในขณะเดียวกันก็ส่งเสริมวัฒนธรรมการทำงานแบบมีส่วนร่วมซึ่งทุกคนมีความเท่าเทียมกันอีกด้วย

4. ให้ความสำคัญ และส่งเสริมให้พนักงานตระหนักถึงความสำคัญของการช่วยลดโลกร้อน และสิ่งแวดล้อม

Gen Z และ Millennials ใส่ใจเกี่ยวกับปัญหาโลกร้อน และสิ่งแวดล้อม พวกเขาต้องการมีส่วนร่วมโดยตรง การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ธุรกิจต่างๆ ให้ดียิ่งขึ้นไปพร้อมกับการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงในวงกว้าง

องค์กรต้องสร้างแรงบันดาลใจให้พนักงานมีส่วนร่วมในการดำเนินชีวิตประจำวัน เช่น ใช้แก้วน้ำประจำตัวเพื่อกรอกน้ำแทนการใช้แก้วกระดาษหรือแก้วพลาสติกแบบใช้แล้วทิ้ง 

นอกจากนี้ยังรวมถึงกลยุทธ์ระยะยาวเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้เป็นศูนย์ เช่น ลดการเดินทางเข้าออฟฟิศ และพื้นที่สำนักงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม 

5. สนับสนุนสุขภาพจิตในที่ทำงาน

ระดับความเครียดและความวิตกกังวลสูงในกลุ่ม Gen Z และ Millennials ไม่น่าจะบรรเทาลงได้ง่ายๆ เนื่องจากสถานการณ์ทั่วโลกยังคงส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันของพวกเขา 

ในบริบทนี้องค์กรมีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนสุขภาพจิตในการทำงาน และบรรเทาสาเหตุของความเครียดและความเหนื่อยหน่าย สภาพแวดล้อมจึงเป็นสิ่งที่หลายๆ องค์กรควรให้ความสำคัญ เพื่อให้พนักงานสามารถพูดเกี่ยวกับความต้องการของตนได้โดยไม่ต้องกลัวว่าจะถูกตัดสิน

ที่มา - CNBC, Deloitte

No comment