เอ็นดูเขา เอ็นเราขาด : คุณเป็นคนมีความรับผิดชอบสูงเกินไปหรือไม่? | Techsauce
talentsauce logo
ฝากประวัติ ค้นหา Tech Talent Talent Insights Job Hack Life Hacks News Video Podcast
เอ็นดูเขา เอ็นเราขาด : คุณเป็นคนมีความรับผิดชอบสูงเกินไปหรือไม่?
By Connext Team สิงหาคม 9, 2022
share facebook icon share facebook icon hover share x icon share x icon hover share line icon share line icon hover share icon share icon hover

ความรับผิดชอบเป็นคุณสมบัติสำคัญของการเป็นผู้นำที่ดี ทำให้คนที่มีภาวะความเป็นผู้นำหลายคนรู้สึกว่าความรับผิดชอบทั้งหมดอยู่กับตัวเอง ทั้งในเรื่องงาน อารมณ์ ความผิดพลาด และปัญหาของผู้อื่นโดยไม่ได้ตั้งใจ

ตัวอย่างเช่น Joyce ผู้นำด้านเทคโนโลยีอาวุโส ใช้เวลาวันหยุดสุดสัปดาห์ไปกับการทำงานเพื่อไม่ให้คนในทีมทำงานหนักเกินไป หรือ Tyra ที่รู้สึกผิดหรือรู้สึกเป็นทุกข์เมื่อเห็นสมาชิกในทีมเผชิญกับปัญหาในการทำงาน

จะเห็นได้ว่าผู้นำที่มีความรับผิดชอบมากเกินไปจะต้องจมอยู่กับความทุกข์ หรืออาจรู้สึกว่ามีภาระมากเกินไป ซึ่งสามารถนำไปสู่ภาวะหมดไฟในการทำงานได้ 

ความรับผิดชอบ

เพื่อสำรวจว่าคุณกำลังมีความรับผิดชอบสูงเกินไปหรือไม่ ให้พิจารณาสิ่งต่อไปนี้

- คุณมักจะให้ความสำคัญกับความต้องการของคนอื่นจนละเลยความต้องการของตัวเองหรือไม่?

- คุณมักจะเตือนคนอื่นว่าจะต้องทำอะไรและรู้สึกไม่ชอบใจที่คนอื่นดูไร้ความรับผิดชอบหรือไม่?

- คุณมักจะตอบตกลงเมื่อคนอื่นมาขอให้ช่วยงานแต่สุดท้ายแล้วคุณก็รู้ขุ่นเคืองใจหรือไม่?

- เมื่อมีอะไรผิดพลาดเกิดขึ้น คุณรู้สึกว่าตัวเองต้องเป็นคนรับผิดชอบเรื่องนั้นทั้งหมดหรือไม่?

ถ้าคำตอบคือ ‘ใช่’ นี่อาจเป็นสัญญานว่าคุณกำลังเป็นคนมีความรับผิดชอบสูงเกินไป

ความรับผิดชอบสูงเกินไปนี้เป็นนิสัยที่แก้ยาก เพราะการช่วยเหลือคนอื่นทำให้รู้สึกดี เช่น รู้สึกว่ามีความสามารถ ลดความเครียด และหลีกเลี่ยงความขัดแย้ง นิสัยนี้ได้รับการส่งเสริมจากคนรอบข้างที่จ้องจะพึ่งพาคุณ ซึ่งอาจทำให้คุณรู้สึกหมดไฟการทำงานได้ในสักวันหนึ่ง ดังนั้นอย่ารอให้นิสัยนี้ทำให้คุณไปสู่จุดนั้น ให้ใช้กลยุทธ์ต่อไปนี้เพื่อสร้างความสมดุลของความรับผิดชอบที่เหมาะสม

ตรวจสอบความเชื่อเกี่ยวกับความรับผิดชอบที่มากเกินไปของตัวเอง

ก่อนอื่นให้ลองเช็กก่อนว่าคุณมีความเชื่อผิดๆ เกี่ยวกับความรับผิดชอบที่มากเกินไปหรือเปล่า เช่น คุณอาจรู้สึกว่าภูมิใจในตัวเองที่มีความรับผิดชอบสูง อาจเป็นไปได้ว่าคุณกำลังผูกตัวตนและคุณค่าในตัวเองไว้กับการที่ต้องเป็นคนมีความรับผิดชอบสูง

ความเชื่อเหล่านี้ทำให้เราต้องติดอยู่กับพฤติกรรมที่ไม่ Productive ได้ ดังนั้นจึงควรเริ่มจากการตรวจสอบความเชื่อและความกลัวที่หล่อเลี้ยงนิสัยนี้ให้ยังคงอยู่ หลังจากนั้นให้ปรับความเชื่อเหล่านั้น และพยายามคืนอำนาจให้แก่ผู้อื่น เช่น ปล่อยให้คนในทีมได้ต่อสู้กับงานและแก้ปัญหาของตัวเอง หรือปล่อยให้พวกเขายอมรับความผิดพลาด แล้วคุณก็จะได้ช่วยให้คนเหล่านั้นได้พัฒนาความสามารถและความมั่นใจมากขึ้น

คืนความรับผิดชอบให้ผู้อื่น

ไม่ว่างานที่ได้รับมอบหมายให้ช่วยจะเป็นงานที่คุณเต็มใจหรือโดนบังคับให้ทำ ก็ถึงเวลาแล้วที่จะส่งงานนั้นคืนให้กับเจ้าของ

เริ่มจากการระบุว่ามีความรับผิดชอบใดบ้างที่สามารถส่งคืนให้กับเจ้าของได้ เช่น การส่งงานง่ายๆ คืนกลับไป พร้อมบอกว่าตอนนี้กำลังมีงานอื่นอะไรในมืออยู่บ้างและบอกเหตุผลว่าทำไมถึงส่งงานคืน แม้ว่าการพูดในช่วงแรกๆ จะยากไปบ้าง แต่ก็ควรบังคับให้ตัวเองไม่กระโดดเข้าไปทำงานแทนคนอื่น ไม่อย่างนั้นคุณก็จะต้องกลับไปที่จุดเริ่มต้นใหม่

กำหนดว่าสิ่งที่คุณควรรับผิดชอบจริงๆ มีอะไรบ้าง

เมื่อรู้สึกว่างานที่มีอยู่ในมือตอนนี้เหมือนบ่าที่ต้องแบกโลกไว้ทั้งใบ ให้ลองทำแผนภูมิวงกลม โดยเริ่มจากหยิบกระดาษขึ้นมาหนึ่งแผ่น พร้อมเขียนชื่อทุกคนที่มีความเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์นี้โดยเฉพาะ เช่น ซีอีโอ ทีมผู้บริหาร คณะกรรมการ ทีมที่ปรึกษากลยุทธ์ ที่ปรึกษากฎหมาย และอื่นๆ

หลังจากนั้น ให้วาดวงกลมลงบนกระดาษและจัดสรรความรับผิดชอบให้กับบุคคลต่างๆ แล้วแบ่งงานที่คุณต้องรับผิดชอบจริงๆ ลงไป การทำแบบนี้จะช่วยให้มองเห็นภาพการทำงานและประเมินความรับผิดชอบของตนเองได้ชัดขึ้น

ยอมรับความช่วยเหลือจากผู้อื่น

หากมีคนเข้ามาเสนอความช่วยเหลือ ให้ตอบว่า “ได้” แต่ถ้ากังวลว่าถ้าตอบรับความช่วยเหลือไปแล้วจะกลายเป็นภาระคนอื่น ให้คิดซะว่าการยอมรับข้อเสนอของคนอื่นจะทำให้เขาได้รับความรู้สึกดีๆ แบบเดียวกับที่คุณได้เมื่อคุณช่วยคนอื่น เมื่อรู้สึกสบายใจในการยอมรับความช่วยเหลือแล้ว ก็ควรเริ่มขอความช่วยเหลือจากคนอื่นบ้าง 

ไม่รับความทุกข์ของคนอื่นมาเป็นของตัวเอง

ผู้นำที่มีความรับผิดชอบสูงเกินไปมีแนวโน้มที่จะแบกรับภาระทางอารมณ์ของผู้อื่น ซึ่งสิ่งนี้จะเป็นการเพิ่มภาระทางอารมณ์ให้กับตนเองได้ เพื่อป้องกันการรับอารมณ์เชิงลบและผลเสียจากการเอาใจใส่คนอื่นมากไป ให้เรียนรู้ที่จะสร้างความสมดุลในการเอาใจใส่ผู้อื่น ผ่านการเอาใจใส่ทางปัญญาแทนการเอาใจใส่ทางอารมณ์ เช่น การใช้มุมมองอื่นทำความเข้าใจสิ่งที่คนอื่นคิดและรู้สึก แทนที่จะมานั่นรู้สึกเหมือนคนอื่นรู้สึก เพราะมันสามารถทำลายสุขภาพของคุณได้ ให้โฟกัสที่การค้นหาข้อมูลเเพิ่มเติน เช่น การถามคำถามให้มากขึ้นเพื่อให้เข้าใจว่าคนอื่นคิดเห็นและรู้สึกอย่างไรกับสถานการณ์นั้นๆ 

หัดใจดีกับตัวเองบ้าง

การเปลี่ยนนิสัยไม่ใช่เรื่องง่าย ในช่วงแรกๆ ของการปรับเปลี่ยนนิสัยคุณอาจต้องพบกับการต่อต้านจากคนที่คอยพึ่งพาคุณมาตลอด ให้อดทนและใจดีกับตัวเองให้มากขึ้น เพื่อสร้างความสมดุลเรื่องความรับผิดชอบให้พอดีกับทั้งคุณและคนรอบข้าง 

การกำหนดสมดุลความรับผิดชอบนี้ไม่ได้หมายความว่าให้คุณหลีกเลี่ยงงานของตัวเอง แต่เป็นการหาความสมดุลในการทำงานให้มีความเหมาะสมขึ้น เพื่อหลีกเลี่ยงความเครียดที่ไม่จำเป็น และช่วยให้คนรอบข้างเติบโต

อ้างอิง HBR

No comment

คัดลอก URL

×

https://techsauce.co/talentsauce/life-hacks/are-you-too-responsible