เมื่อบ้านกลายเป็นที่ทำงาน Work From Home ส่งผลต่อสุขภาพจิตอย่างไร? | Techsauce
เมื่อบ้านกลายเป็นที่ทำงาน Work From Home ส่งผลต่อสุขภาพจิตอย่างไร?

พฤศจิกายน 16, 2021 | By Siramol Jiraporn

หลังจากสถานการณ์โควิด-19 ทำให้หลายบริษัทหันมาทำงานแบบ Work From Home เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของโรคโควิด-19 สิ่งหนึ่งที่ต้องคิดถึงเป็นอันดับต้นๆ คือ ผลกระทบด้านสุขภาพจิตที่อาจเกิดขึ้นจากการทำงานทางไกล

work from home

ความเสี่ยงของสุขภาพจิตจากการทำงานทางไกล

เรื่องสำคัญที่เราต้องคิดถึงคือ พนักงานหลายคนอาจเผชิญกับปัญหาทางสุขภาพจิตจากการทำงานทางไกลอย่างไม่รู้ตัว โดยสองเรื่องหลักที่เราต้องให้ความสำคัญคือ ความโดดเดี่ยว (Isolation) และ ภาวะหมดไฟในการทำงาน (Burnout) 

การทำงานทางไกลเป็นสิ่งที่บริษัทหลายอุตสาหกรรมกำลังทำในตอนนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุตสาหกรรมทางด้านการบริการเทคโนโลยีและธุรกิจ หลายคนคงจะรู้ดีว่าความโดดเดี่ยวของการทำงานทางไกลส่งผลต่อสุขภาพจิตอย่างไร

สำหรับคนที่คุ้นเคยและชื่นชอบชีวิตออฟฟิศแบบเดิมๆ และชอบการมีปฏิสัมพันธ์ในที่ทำงาน การเปลี่ยนไปทำงานทางไกลเนื่องจากการเว้นระยะห่างทางสังคม (Social distancing) ในช่วงการระบาดของโรคโควิด-19 อาจทำให้สุขภาพจิตแย่ลงได้ แม้ว่าสุขภาพจิตจะเสื่อมลงเล็กน้อยก็ตาม

ความโดดเดี่ยว (Isolation)

การมีปฏิสัมพันธ์ของเราในแต่ละวันเป็นสิ่งที่เสริมสร้างการมีสุขภาวะที่ดีและการเป็นส่วนหนึ่งของสังคม อย่างในช่วงที่ผ่านมาที่มีการล็อกดาวน์ ทำให้หลายคนต้องทำงานจากที่บ้านอย่างเลี่ยงไม่ได้ ร้านอาหาร ผับบาร์ และงานอีเวนต์ต่างๆ ถูกปิดหมด 

ถ้าเป็นช่วงเวลาปกติเราคงไม่มีวันเข้าใจผลกระทบของความเหงาและความโดดเดี่ยว จากงานวิจัยพบว่าความเหงาและความโดดเดี่ยวสามารถส่งผลกระทบต่อสุขภาพกายและใจเป็นสองเท่าของโรคอ้วน

งานวิจัยหนึ่งพบว่า คนที่ทำงานทางไกล 19% เกิดความรู้สึกเหงาขึ้น ความเหงานี้เป็นสิ่งที่มีความเสี่ยงที่สุดเมื่อเป็นนานๆ ซึ่งสำหรับคนที่อยู่คนเดียวอาจทำให้เกิดความรู้สึกเหงาขึ้นมาได้จริงๆ เพราะโควิด-19 ทำให้ต้องอยู่บ้านเป็นเวลานาน

สิ่งสำคัญที่สุดคือ ต้องรักษาความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานและเจ้านาย ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญต่อประสิทธิภาพการทำงานและสุขภาพทางอารมณ์และจิตใจด้วย เทคโนโลยีสามารถช่วยส่งเสริมการสื่อสารนี้ได้ ซึ่งมีตัวอย่างให้เห็นในหลายบริษัทที่สามารถให้พนักงานทำงานทางไกลได้ตั้งแต่ยังไม่มีมาตรการบังคับให้เว้นระยะห่างทางสังคม อย่างเช่น บริษัท GitLab ส่งเสริมให้มีกิจกรรม การดื่มกาแฟเสมือน ในช่วงเวลาทำงานให้กับทีมที่ทำงานทางไกล เพื่อเสริมสร้างการทำงานร่วมกันของพนักงาน

ภาวะหมดไฟในการทำงาน (Burnout)

จากการสำรวจของบริษัท Digital Ocean ในปี 2019 พบว่า 82% ของพนักงานเทคโนโลยีที่ต้องทำงานทางไกลในประเทศสหรัฐฯ รู้สึกหมดไฟ และ 52% รายงานว่าพวกเขาใช้เวลาทำงานมากกว่าคนที่ทำงานในออฟฟิศ และ 40% รู้สึกต้องการมีส่วนร่วมมากกว่าคนที่ทำงานในออฟฟิศ 

คนที่ยังใหม่กับการทำงานทางไกลควรคิดถึงสิ่งนี้ เพราะอาจจะรู้สึกว่าต้องทำงานนานขึ้นและต้องพิสูจน์ว่าสามารถทำงานที่บ้านได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีกิจกรรมหลังเวลางานน้อยลง

นอกจากนี้ ในช่วงการระบาดของโควิด-19 ทำให้เส้นแบ่งระหว่างชีวิตส่วนตัวกับชีวิตการทำงานได้อย่างไม่ชัดเจนแม้กระทั่งกับคนที่เคยทำงานทางไกลมาก่อนก็ตาม เนื่องจากมีการปิดโรงเรียนจำนวนมาก ทำให้เด็กๆ จะต้องอยู่บ้านและผู้ปกครองที่ทำงานอาจต้องฝ่าฟันกับการแบ่งแยกหน้าที่ความรับผิดชอบของตัวเอง

สิ่งที่ต้องทำเพื่อรักษาสุขภาพจิตไปพร้อมกับการรักษาสุขภาพกายของคุณและครอบครัวคือ เริ่มจากการรักษาสุขภาวะพื้นที่ทำงานในบ้าน รวมถึงสร้างพื้นที่ที่คุณรู้สึกสะดวกสบายและเป็นส่วนตัวเพื่อการทำงานในบ้านของคุณ ถ้าเป็นไปได้ควรเพิ่มการออกกำลังกายและการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมเข้าไว้ในกิจวัตรประจำวันของคุณด้วย และสิ่งสุดท้ายที่ต้องทำคือ ปิดการแจ้งเตือนอีเมลทั้งก่อนและหลังเวลาทำงาน และรักษาเวลานอนหลับให้เป็นปกติ

การปรับตัวสู่ความปกติแบบใหม่

การทำงานทางไกลมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และการระบาดของโควิด-19 จะทำให้เห็นโอกาสและความท้าทายของการทำงานจากที่บ้านที่หลายบริษัทอาจไม่เคยคิดถึง คนจำนวนมากโดยเฉพาะคนที่มีความหลากหลายทางประสาท (Neurodivergent) ได้รับประโยชน์ทางอาชีพและทางจิตใจจากการทำงานทางไกลได้มากขึ้น สถานการณ์โควิด-19 แสดงให้เห็นถึงความสามารถที่คาดไม่ถึงในการปรับตัวให้เข้ากับความต้องการด้านสุขภาพกายและสุขภาพจิตของพนักงานได้อย่างรวดเร็วของหลายๆ องค์กร

สิ่งหนึ่งที่แน่นอนในช่วงเวลาแห่งความไม่แน่นอนนี้ นายจ้างจะต้องให้ความสำคัญเรื่องสุขภาพจิตของพนักงานทั้งในที่ทำงานและที่ออฟฟิศเป็นอันดับแรก

ที่มา: When Home Becomes The Workplace: Mental Health And Remote Work (forbes.com)

No comment