รู้หรือไม่? การจดโน้ตระหว่างอ่านหนังสือ ช่วยให้เราจดจำสิ่งที่อ่านได้ดียิ่งขึ้น | Techsauce
รู้หรือไม่? การจดโน้ตระหว่างอ่านหนังสือ ช่วยให้เราจดจำสิ่งที่อ่านได้ดียิ่งขึ้น

มิถุนายน 7, 2021 | By Connext Team

ใครก็ตามที่รักในการอ่านหนังสือ ไม่ว่าจะเป็นการอ่านเพื่อความเพลิดเพลินหรือศึกษาหาความรู้ มักจะประสบปัญหาอย่างหนึ่งที่เหมือนกัน คือ ‘อ่านไปแล้วจำอะไรไม่ได้’ นั่นอาจเป็นเพราะว่า วิธีการอ่านหนังสือของเรายังไม่มีประสิทธิภาพมากพอที่จะดูดซับสิ่งที่ได้จากการอ่าน

Credit ภาพประกอบ: freepikอย่างไรก็ตาม ใช่ว่าเราจะต้องกลับไปอ่านหนังสือเล่มนั้นอีกรอบ เพื่อทบทวนความจำให้กลับคืนมา หากเราต้องการจดจำเรื่องราวและความรู้จากการอ่านให้ได้ในระยะยาว การจดโน้ตระหว่างอ่าน ก็นับเป็นอีกวิธีที่ช่วยให้เราอ่านหนังสือได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

ทำไม? การจดโน้ตจึงช่วยให้เราอ่านหนังสือได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

จากการศึกษาวิจัยพบว่า นักอ่านที่มักจะจดโน้ตด้วยปากกาและกระดาษ มีแนวโน้มที่จะจดจำรายละเอียดของเรื่องที่อ่านได้ดีกว่าคนที่ไม่ได้จดอะไรเลย เนื่องจากคนเราจะจดจำความรู้สึกของการเขียนตัวหนังสือด้วยมือได้ดีกว่าการอ่านตัวหนังสือลอยๆให้ผ่านตาไป อีกทั้งการสรุปเนื้อหาออกมาเป็นภาษาของตนเอง จะทำให้เราได้คิดวิเคราะห์และเลือกส่วนที่จะจดจำได้ง่ายขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้เราจดจำสิ่งเหล่านั้นได้นานตามไปด้วยเพราะฉะนั้น การจดโน้ต จึงเหมาะสำหรับนักอ่านตัวยงที่มีลิสต์หนังสือมากมาย และต้องการจดจำเรื่องราวในแต่ละเล่มไว้เป็นความรู้และความทรงจำไปอีกนานแสนนาน

ไฮไลท์และเน้นยำในส่วนสำคัญที่ต้องการจดจำ

ก่อนที่เราจะเริ่มจดโน้ตอะไรก็ตาม เราจำเป็นต้องคัดเลือกใจความสำคัญหรือส่วนที่อยากจะจดจำออกมาก่อน เพื่อให้ง่ายต่อการจับใจความและปรับให้เป็นภาษาของตนเอง ซึ่งวิธีที่ง่ายและดีที่สุด คือ การใช้ปากกาไฮไลท์ (ย้ำว่า ห้ามไฮไลท์ลงบนหนังสือที่ไม่ใช่ของเรานะ)

การใช้ปากกาไฮไลท์เน้นในส่วนสำคัญที่ต้องการจดจำจะช่วยให้

จดโน้ตย่อฉบับของเราไว้สำหรับกลับมาอ่านอีกครั้ง

แม้ว่าการใช้ปากกาไฮไลท์ จะเป็นวิธีที่เร็วที่สุดสำหรับการจับใจความสำคัญของเรื่องที่อ่าน แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่า มันจะทดแทนการจดโน้ตสำหรับกลับมาอ่านอีกครั้งไปได้

ครั้งแรกๆที่เริ่มจดโน้ตระหว่างที่อ่านหนังสือ ไม่มีใครจดโน้ตได้สมบูรณ์แบบนักหรอก บางครั้งเราอาจจะต้องเผชิญกับสภาวะที่จดโน้ตไปสักระยะ แล้วหลงทางไปจากแก่นเรื่องของหนังสือ หรือสับสนว่าส่วนไหนเป็นความคิดเห็นของผู้เขียนและส่วนไหนเป็นของเรา อย่างไรก็ตาม ทักษะในการจดโน้ต ก็เหมือนทักษะทั่วไปในชีวิตที่ต้องอาศัยการฝึกฝนและประสบการณ์ หากเราฝึกจดโน้ตระหว่างอ่านหนังสืออย่างสม่ำเสมอ ท้ายที่สุด การจดโน้ตสำหรับกลับมาอ่านอีกครั้งก็จะไม่ใช่เรื่องยากสำหรับเราอีกต่อไป

องค์ประกอบสำคัญ 2 ประการ ที่จำเป็นต้องมีในโน้ตย่อฉบับของเรา


ยิ่งกว่านั้น รูปแบบและสไตล์ในการจดโน้ตก็สำคัญเช่นกัน โดยแบ่งออกเป็น 3 รูปแบบหลักๆ ดังนี้

โดยรูปแบบและสไตล์ในการจดโน้ต นับเป็นความถนัดและความชอบส่วนบุคคล บางคนอาจชอบการจดโน้ตแบบ Linear เพราะ ไม่ชอบการจดจำสิ่งต่างๆด้วยภาพ ขณะที่อีกหลายคนก็ชอบการจดโน้ตแบบ Diagrammatic และ Patterns มากกว่า เพราะฉะนั้น เลือกรูปแบบและสไตล์ในการเขียนแบบไหนก็ได้ ที่เหมาะกับเราและช่วยให้เราจดจำสิ่งที่อ่านได้ดีที่สุด

ลองอ่านโน้ตของตัวเองอีกครั้ง เพื่อเช็คว่าโอเคแล้วหรือยัง

นักอ่านหลายคนอาจจะคิดว่า เมื่อเราจดโน้ตเสร็จเรียบร้อยแล้วทุกอย่างเป็นอันจบสิ้น อย่างไรก็ตาม เมื่อเรากลับมาอ่านโน้ตของเราทั้งหมดอีกครั้ง เราอาจจะพบข้อผิดพลาดบางประการ เช่น เนื้อเรื่องตอนต้นเรื่องและท้ายเรื่องไม่สัมพันธ์กัน เพราะ เขียนคนละช่วงเวลากัน และอื่นๆ ที่อาจทำให้โน้ตย่อของเราไม่สมบูรณ์ ดังนั้น การอ่านอ่านโน้ตย่อดูทั้งหมดอีกครั้ง หลังจากผ่านไปวันสองวัน จึงเป็นขั้นตอนสำคัญที่จะช่วยให้โน้ตย่อของเราสมบูรณ์แบบยิ่งขึ้น

สิ่งที่จะช่วยให้ขั้นตอน Review โน้ตย่อของตัวเองดีขึ้น ได้แก่

แก้ไขและจัดเรียงโน้ตของเราให้สมบูรณ์พร้อมอ่าน

หลังจาก Review โน้ตย่อฉบับของเราเรียบร้อยแล้ว ก็แก้ไขจุดที่เราต้องการแก้ไขให้เรียบร้อย จากนั้นจึงจัดเรียงโน้ตให้เป็นระเบียบและน่าอ่าน หากมีโน้ตจากหนังสือมากมายที่เราอ่าน เราควรจะจัดเก็บให้เรียบร้อย อาจจะนำไปใส่แฟ้ม หรือเย็บรวมเป็นเล่มเดียวก็ได้ เพื่อความสะดวกต่อการหยิบอ่านในครั้งถัดไป 

อ้างอิง: skillyouneed

สำหรับผู้อ่านท่านใดที่สนใจบทความเกี่ยวกับชีวิตการทำงาน ทักษะที่จำเป็นในอนาคต สามารถลงทะเบียนเพื่อรับอัพเดทข้อมูลข่าวสาร และบทความในอนาคต จาก Techsauce Thailand ได้ ที่นี่ 

No comment