ยิ่งเทศกาลการยื่นภาษีได้เริ่มต้นขึ้นแล้ว! ก็เป็นหน้าที่ของมนุษย์เงินเดือนทุกคนที่ต้องยื่นภาษีและเสียภาษีในกรณีที่มีรายได้ถึงเกณฑ์ที่จะต้องเตรียมตัวให้พร้อม และสำหรับใครที่เพิ่งเริ่มทำงาน หรือเพิ่งเคยยื่นภาษีเป็นครั้งแรก ไม่ต้องกังวลเลยว่าจะทำไม่เป็น
วันนี้ ConNEXT ได้สรุปการคำนวณภาษีมาให้แล้ว แต่ถ้าใครยังงง ๆ อยู่ ก็ไม่ต้องกังวลไป เรามีแอปฯ คำนวณภาษีดี ๆ มาแนะนำ เอาใจสายคนที่เพิ่งเคยยื่นครั้งแรก มีตารางรายได้แนะนำว่ารายได้เท่าไหร่ถึงต้องเสียภาษี แล้วต้องเสียเท่าไหร่บ้าง รวมถึงต้องใช้เอกสารอะไรในการยื่นภาษี บทความนี้มีคำตอบ ไปดูกัน!
ใครบ้างที่ต้องยื่นภาษี
โดยปกติแล้ว ‘การยื่นภาษี’ ก็คือหน้าที่ของคนไทยทุกคนที่มี ‘รายได้พึงประเมินขั้นต่ำ’ ที่สรรพากรกำหนดไว้
หมายความว่าไม่ว่าจะประกอบอาชีพใด หรือมีรายได้มาจากช่องทางไหน ต้องเสียภาษีรายได้บุคคลธรรมดาทั้งหมด ให้ทำความเข้าใจง่าย ๆ ว่า หากเรามีรายได้ ก็แปลว่าเราต้องเสียภาษีรายได้บุคคลธรรมดา ซึ่งเกณฑ์การยื่นภาษีและเสียภาษี จะยึดตามเงินได้พึงประเมิน หรือ เงินที่เป็นรายได้นั่นเอง
หากได้รับเงินเดือน 10,000 บาทต่อเดือน หรือ 120,000 บาทต่อปี หรือมีรายได้ประเภทอื่น ๆ ปีละ 60,000 บาทขึ้นไป หรือประมาณ 5,000 ต่อเดือน จำเป็นต้องยื่นภาษีทุกคน ซึ่งหมายความว่าเด็กจบใหม่ที่ได้รับเงินเดือนขั้นต่ำ 15,000 บาทต่อเดือน ต่ำกว่าหรือมากกว่านั้น ต้องยื่นภาษีตามกฎหมายและการยื่นภาษีเงินได้ แต่จะได้รับการยกเว้นจากการเสียภาษี
ยื่นภาษีต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง
- เอกสารหลักฐานแสดงรายได้ หนังสือรับรองเงินเดือน (50 ทวิ) จากนายจ้าง
- เอกสารรายการลดหย่อยภาษีกลุ่มต่าง ๆ ที่รวบรวมไว้ตลอดทั้งปี (ถ้ามีให้ยื่นพร้อมกับ 50 ทวิ)
วิธีการคำนวนภาษี คำนวณยังไง ?
การคำนวณภาษีจะมีอยู่ 2 วิธี คือ การคำนวณภาษีแบบขั้นบันไดและการคำนวณภาษีแบบเหมา ซึ่งใครที่มีรายได้จากเงินเดือน ไม่มีรายรับจากช่องทางอื่น ๆ จะต้องคำนวนณแบบขั้นบันได แต่ถ้ามีรายได้จากหลายช่องทาง นอกจากเงินเดือน จะต้องคำนวนภาษีแบบเหมาจ่าย
หลักการคำนวณภาษี คือ “ภาษีที่ต้องจ่าย = เงินได้สุทธิ x อัตราภาษี”
ซึ่งเงินได้สุทธิ มาจากการนำรายได้ทั้งปี มาหักลบค่าใช้จ่าย และค่าลดหย่อน (เงินได้สุทธิ = รายได้ทั้งปี - ค่าใช่จ่าย- ค่าลดหย่อน) ซึ่งสำหรับมนุษย์เงินเดือน สามารถหักค่าใช้จ่าย 50% ของรายได้ได้ ไม่เกิน 100,000 บาท
ตัวอย่างการคำนวณภาษีแบบขั้นบันได
อย่างแรก เราต้องหารายได้สุทธิก่อน โดยใช้สูตรคำนวณ เงินได้สุทธิ = รายได้ทั้งปี-ค่าใช้จ่าย-ค่าลดหย่อน
สมมติว่านาย A มีเงินเดือน 30,000 บาท เท่ากับมีเงินได้ทั้งปี = 30,000x12 = 360,000
สามารถหักค่าใช้จ่ายได้ 50% ของเงินเดือนแต่ต้องไม่เกิน 100,000 บาท
อย่างในเคสนี้เงินได้ทั้งปีของเราอยู่ที่ 360,000 หักค่าใช้จ่าย 50% จะเหลือ 180,000 บาท แต่สรรพากรบอกว่าสามารถหักค่าใช้จ่ายได้ไม่เกิน 100,000 บาท แล้วทีนี้เราสามารถนำมาลดหย่อนอะไรได้บ้าง ?
สามารถนำไปหักค่าลดหย่อนส่วนตัว 60,000 บาท และลดหย่อนประกันสังคม 9,000 บาท รวมกันแล้วจะเป็นเงิน 69,000 บาท
เพราะฉะนั้นเราก็จะได้ เงินได้สุทธิ = 360,000 (รายได้ทั้งปี) -100,000 (ค่าใช้จ่าย) - 69,000 (ค่าลดหย่อน) รายได้สุทธิของเราจะเท่ากับ 191,000 บาท
จากนั้นเราก็ไปดูว่ารายได้สุทธิของเราอยู่ในเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษีเท่าไหร่ (ในตาราง)
หลังจากนั้นเราก็มาดูตารางคำนวณภาษี
พอเราคำนวนรายได้สุทธิของเราเสร็จแล้ว ขั้นตอนต่อไปก็มาคำนวณภาษีที่ต้องจ่ายต่อ
ด้วยสูตร “ภาษีที่ต้องจ่าย = เงินได้สุทธิ x อัตราภาษี”
ภาษีที่ต้องจ่าย = (191,000-150,000) x 5% = 2,050
สรุปคือ ภาษีที่เราต้องจ่ายจะเท่ากับ 2,050 บาท
ตัวอย่างการคำนวนภาษีแบบเหมาจ่าย
อย่างที่บอกไปการคำนวณภาษีประเภทนี้ จะต้องมีรายได้ทางอื่นมากกว่าหนึ่งทาง ที่นอกเหนือจากเงินเดือน ซึ่งหากคุณมีรายได้นอกเหนือจากเงินเดือน จะต้องถูกคำนวณภาษีในอัตราเดียว คือ 0.5%
สูตรคำนวณ ภาษีแบบเหมา = (เงินได้ทุกประเภท – เงินเดือน) x 0.005
คิดง่าย ๆ ว่าหากเรามีเงินจากช่องทางอื่น ๆ รวมกัน 1,000,,000 บาทขึ้นไป ให้เรานำมาหักลบกับเงินเดือนที่ได้ ในทีนี้สมมติว่าเรามีเงินเดือน 30,000 บาท
ลองคำนวณภาษีแบบเหมาเราจะได้
ภาษีแบบเหมา = (1,000,00,000 –30,000) x 0.005 = 4,850
ในที่นี้เท่ากับภาษีแบบเหมาของเราจะอยู่ที่ 4,850 บาท ซึ่งหากเราคำนวณแล้วมีภาษีที่ต้องเสียไม่เกิน 5,000 บาท จะได้รับการยกเว้นภาษีในวิธีนี้
ตัวช่วยคำนวณภาษี
ใครเป็นเหมือนกันบ้าง? รู้สึกงง ๆ และปวดหัวทุกครั้งที่ต้องคำนวณภาษี ไม่รู้ว่าจะต้องเริ่มตรงไหนก่อนดี ไหนจะเงินได้ เงินสุทธิ ค่าลดหย่อน อัตราภาษีต่าง ๆ จะดีกว่าไหมถ้าเรามีตัวช่วยในการคำนวณภาษีมาช่วยจัดการแทนเรา และแอปฯ คำนวนณภาษีนั่นก็คือแอปฯ “iTAX”
iTAX คือ แอปฯ คำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ที่ออกแบบมาเพื่อผู้เสียภาษีทุกคน ใครที่ไม่พื้นฐานด้านภาษีก็สามารถเข้าใจได้ง่าย ๆ ซึ่งเป็นข้อดีของแอปนี้เลย
เพราะ iTAX มีฟีเจอร์การคำนวณภาษีที่ละเอียดทั้งการคิดคำนวณรายได้และการลดหย่อนภาษีต่าง ๆ แยกประเภทสำหรับรายได้ชัดเจน เช่น เงินเดือน, รายได้จากงานฟรีแลนซ์, รายได้ขายของออนไลน์, กำไรจากการเทรดคริปโต, เงินปันผลจากกองทุน ซึ่งมั่นใจว่าจะช่วยเราคำนวณภาษีอย่างได้ถูกต้องแม่นยำตามข้อกำหนดของกรมสรรพากรแน่นอน เพียงแค่เรากรอกรายละเอียดตามที่แอปถาม ในแอปก็จะคำนวนออกมาให้เราทันทีว่าเราจะต้องเสียภาษีเท่าไหร่ ได้เงินคืนจากภาษีเท่าไหร่ แอปนี้โหลดฟรีนะ ไม่มีค่าใช้จ่ายด้วย สามารถดาวน์โหลดใช้งานได้ทั้ง iOS และ Android
ทีนี้รู้วิธีการยื่นภาษีรวมถึงตัวช่วยในการคำนวณภาษีแล้ว ConNEXT หวังว่าบทความนี้จะช่วยให้เพื่อน ๆ ทุกคนเข้าใจเรื่องการยื่นภาษีอย่างถูกต้องได้ แล้วอย่าลืมไปยื่นภาษีกันได้ถึงวันที่ 9 เมษา 2567 นี้นะ!
หากบทความนี้มีประโยชน์เพื่อน ๆ ก็อย่าลืมแบ่งปันคอนเทนต์นี้ไปให้เพื่อน ๆ เตรียมตัวกันด้วยน้า
อ้างอิง : rd.go.th , finnomena