4 สัญญาณที่บ่งบอกว่า ลัทธิสมบูรณ์แบบนิยม (Perfectionism) หรือการรักความสมบูรณ์แบบมากเกินไปกำลังกลายเป็นพิษภัยแก่คุณในการทำงาน | Techsauce
talentsauce logo
ฝากประวัติ ค้นหา Tech Talent Talent Insights Job Hack Life Hacks News Video Podcast
4 สัญญาณที่บ่งบอกว่า ลัทธิสมบูรณ์แบบนิยม (Perfectionism) หรือการรักความสมบูรณ์แบบมากเกินไปกำลังกลายเป็นพิษภัยแก่คุณในการทำงาน
By Connext Team กรกฎาคม 26, 2022
share facebook icon share facebook icon hover share x icon share x icon hover share line icon share line icon hover share icon share icon hover

ความคาดหวังสูงในตัวเองและผู้อื่นสูงนั้นมีประโยชน์ แต่ก็มีจุดพลิกผันที่ทำให้เกิดผลเสียมากเช่นกันความพยายามในการทำงานให้ดีที่สุดคือเป้าหมายที่น่าชื่นชม แต่เมื่อความคาดหวังสูงกลายเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ แสดงว่าคุณกำลังอยู่บนเส้นทางสู่การเป็นพวกชอบความสมบูรณ์แบบ

การแสวงหาความสมบูรณ์แบบไม่ใช่เรื่องเลวร้ายเสมอไป วิจัยพบว่าผู้ที่มีมาตรฐานสูงจะมีความรอบคอบ มีส่วนร่วมกับงาน และมีแนวโน้มที่จะประสบความสำเร็จ แต่จุดพลิกผันก็เกิดขึ้นเมื่อมาตรฐานที่เข้มงวดมากเกินไปของลัทธิสมบูรณ์แบบนิยม (Perfectionism) เริ่มสร้างผลเสียมากกว่าผลดี

Perfectionism

ลัทธิสมบูรณ์แบบนิยมเป็นรูปแบบหนึ่งของความวิตกกังวล

Shannon Garcia นักจิตบำบัดกล่าวว่า ความสมบูรณ์แบบอาจกลายเป็นสิ่งที่ขัดขวางไม่ให้มนุษย์ก้าวหน้าในอาชีพการงาน เนื่องจากลัทธิสมบูรณ์แบบนิยมจะทำให้มนุษย์หลีกเลี่ยงการทำงานเพราะกลัวว่างานจะไม่เสร็จอย่างสมบูรณ์แบบหรือใช้เวลามากเกินไปในการพยายามสร้างงานที่สมบูรณ์แบบ

ต่อไปนี้คือสัญญาณที่บ่งบอกว่าคุณกำลังเข้าสู่ลัทธิสมบูรณ์แบบนิยมที่เป็นพิษภัยแก่ตัวเองและเพื่อนร่วมงาน

1. คุณหมกมุ่นอยู่กับความผิดพลาด ซึ่งทำให้คุณไม่สามารถไตร่ตรองถึงความสำเร็จของคุณได้

คุณไม่สามารถไตร่ตรองและไม่มีวันพอใจกับสิ่งที่คุณทำสำเร็จได้ ผู้ที่ชอบความสมบูรณ์แบบมักจะไม่สนใจชมเชยความสำเร็จที่ได้รับ พวกเขาไม่เคยคำนึงถึงช่วงเวลาแห่งความสำเร็จของตน แต่มักจะหมกมุ่นอยู่กับความผิดพลาดและการกดดันตัวเอง ซึ่งจะส่งผลให้หมดไฟในการทำงาน 

อาการหมดไฟในการทำงานเป็นผลมาจากความเครียดเรื้อรังในที่ทำงานและอาจทำลายสุขภาพในระยะยาว เช่น เหนื่อยล้า ปวดศีรษะ นอนไม่หลับ และอาการซึมเศร้า เป็นต้น ฉะนั้น การไตร่ตรองและมีความสุขกับงานที่คุณทำสำเร็จจึงเป็นเรื่องสำคัญมาก

2. คุณกังวลมากเกินไปหากคุณหรือเพื่อนร่วมงานของคุณไม่สามารถเอื้อมถึงมาตรฐานระดับสูงได้

หากคุณมีความกังวลว่าจะไม่สามารถทำงานให้เสร็จตามมาตรฐานที่ตั้งไว้ได้ นั่นเป็นสัญญาณว่าคุณอาจเป็นพวกชอบความสมบูรณ์แบบที่กำลังพยายามหลีกเลี่ยงความล้มเหลว และนั่นเป็นปัญหาอย่างยิ่ง 

ผลการวิจัยของ Laurens Steed ชี้ให้เห็นว่าลัทธิสมบูรณ์แบบนิยมไม่มีประโยชน์ในที่ทำงาน การยึดติดกับความสมบูรณ์แบบมากเกินไปสามารถนำไปสู่ผลลัพธ์เชิงลบได้ โดยรวมแล้วการเป็นพวกชอบความสมบูรณ์แบบไม่ได้ช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานให้ดีขึ้นได้ งานวิจัยยังแสดงให้เห็นอีกว่าความเหนื่อยหน่าย ความเครียด และความวิตกกังวลมีความเกี่ยวข้องอย่างยิ่งกับลัทธิสมบูรณ์แบบนิยมประเภทนี้

3. คุณส่งงานเกินกำหนดบ่อยครั้ง เพราะคุณคิดว่างานของคุณยังไม่ดีพอ

ลัทธิสมบูรณ์แบบนิยมมีข้อเสียมากกว่าข้อดีเมื่อมันทำให้คุณไม่สามารถทำงานให้สำเร็จได้ คุณแก้ไขงานชิ้นเดิมซ้ำแล้วซ้ำเล่าจนเกินกำหนดส่งงาน เพราะคุณรู้สึกว่าสิ่งที่คุณทำอยู่ไม่ดีพอ หรืออาจประสบปัญหาในการเริ่มงานด้วยความกลัวว่าคุณจะไม่สามารถทำงานนั้นได้อย่างสมบูรณ์

ลัทธิสมบูรณ์แบบนิยมไม่เพียงแต่นำไปสู่ความเหนื่อยหน่ายและความอึดอัดต่อเพื่อนร่วมงานเท่านั้น แต่ยังทำให้ตัวเองและเพื่อนร่วมงานได้รับความเครียดที่ส่งต่อจากงานไปสู่ชีวิตที่บ้านอีกด้วย

4. คุณไม่เข้าสังคม เพราะคุณกังวลเกินไปว่าตัวเองจะไม่สมบูรณ์แบบ

อีกหนึ่งสัญญาณที่บ่งบอกว่าลัทธิสมบูรณ์แบบนิยมกำลังกลายเป็นอันตราย คือ คุณไม่สามารถมีส่วนร่วมหรือปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานได้ เพราะคุณกังวลเรื่องการรักษาภาพลักษณ์ที่สมบูรณ์แบบของตัวเองมากเกินไป

นอกจากลัทธิสมบูรณ์แบบนิยมที่สร้างมาตรฐานโดยตัวเองแล้ว ยังมีลัทธิสมบูรณ์แบบนิยมที่สังคมเป็นตัวกำหนดมาตรฐานขึ้นมา โดยลัทธิสมบูรณ์แบบนิยมประเภทนี้สัมพันธ์กับภาวะซึมเศร้าและภาวะสุขภาพจิตอื่นๆ  ซึ่งผู้ที่ชอบความสมบูรณ์แบบเช่นนี้มักจะรู้สึกว่า “ยิ่งฉันทำดีเท่าไหร่ ฉันก็ยิ่งถูกคาดหวังให้ทำดีมากขึ้นเท่านั้น” จึงส่งผลให้พวกเขาไม่เข้าสังคม 

และทั้งหมดนี้คือสัญญาณหลักที่บ่งบอกว่าคุณกำลังเข้าสู่ลัทธิสมบูรณ์แบบนิยมที่เป็นพิษเป็นภัยแก่ตัวเองและเพื่อนร่วมงาน และส่งผลเสียต่อสุขภาพของคุณอีกด้วย หากใครมีหนึ่งในสัญญาณเหล่านี้ ถึงเวลาที่คุณต้องไตร่ตรองตัวเองแล้ว คุณไม่จำเป็นต้องกำหนดมาตรฐานของตัวเองให้สมบูรณ์แบบ เพียงกำหนดมาตรฐานของตัวเองใหม่ให้ “ดีพอ” แค่นี้ก็พอแล้ว 

เขียนโดย Chonlasit Tadapairot

อ้างอิง huffpost 

No comment

คัดลอก URL

×

https://techsauce.co/talentsauce/life-hacks/4-signs-of-perfectionism-in-the-workplace