หลายคนอาจเคยได้ยินประโยคที่ว่า “งานหนักไม่เคยฆ่าคน” แต่รู้หรือไม่? การทำงานหนักจนเกินไปอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพมากจนสามารถนำไปสู่โรคซึมเศร้าได้วันนี้ ConNEXT จะพาคุณมารู้จักกับการเสพติดการทำงานและวิธีเอาชนะการเสพติดการทำงานกัน กัน!!
“เสพติดการทำงาน” คืออะไร
ถึงแม้จะไม่มีข้อบ่งชี้ว่าอะไรคือสาเหตุของการเสพติดงาน แต่นักพฤติกรรมศาสตร์ได้ตั้งทฤษฎี ว่าผู้คนที่เสพติดงานมากๆ เป็นเพราะว่าพวกเขาอาจรู้สึกว่าการทำงานเป็นทางออกให้ปัญหาต่างๆ ได้ โดยความแตกต่างของ “ทำงานหนัก” กับ “เสพติดงาน” นั้นสามารถแยกด้วยการสังเกตจากพฤติกรรมเหล่านี้
- กังวลกับงานมากเกินไป
- มีแรงจูงใจในการทำงานมากเกินไป
- ทุ่มตัวกับงานมากเกินไปจนกระทบตัวเองและคนรอบข้าง
ผลกระทบของการเสพติดการทำงาน
ผลกระทบของการทำงานหนักนั้นมีมากกว่าที่คุณคิด จากการศึกษาเผยว่าความเครียดต่อเนื่องที่เกิดจากงานอาจทำไปสู่การ Burnout รวมไปถึงโรคทางสุขภาพ เช่น โรคหัวใจหรือโรคซึมเศร้าได้
วิธีแก้ปัญหา
การที่จะแก้ปัญหานี้ได้ จำเป็นต้องขอความช่วยเหลือจากทั้ง 2 ฝ่าย ทั้งตัวพนักงานเองและตัวผู้จ้างด้วย
1. ให้ความสำคัญกับการแบ่งเวลา
ผู้จ้างและพนักงานควรแยกเวลางานกับเวลาส่วนตัวออกจากกันอย่างชัดเจน และให้ความยืดหยุ่นกับตารางเวลาการทำงานมากขึ้น
2. หัวหน้างานควรตั้งความคาดหวังกับพนักงานแบบพอดี
กำหนดขอบเขตของการทำงานให้พอเหมาะ ซึ่งจะช่วยให้พนักงานทำงานได้เป็นเวลามากขึ้น
3. จัดลำดับความสำคัญของงาน
พนักงานควรจัดลำดับความสำคัญของงาน โดยใช้วิธี Eisenhower Matrix ที่เป็นวิธีจำแนกว่างานที่กำลังทำนั้นสำคัญหรือเร่งด่วนหรือไม่ โดยมีเกณฑ์จำแนกเป็น 2 ข้อดังนี้
- หากงานเหล่านั้นมีความเร่งด่วนและสำคัญ คุณจำเป็นต้องทำงานนั้นทันที แต่ถ้างานไหนไม่เร่งด่วนแต่ยังมีความสำคัญอยู่ คุณสามารถวางแผนงานนั้นไว้ก่อน แล้วค่อยมาทำทีหลัง
- ถ้างานที่คุณทำต้องส่งเร่งด่วนแต่งานไม่สำคัญมากนัก ให้คุณพยายามหาคนมาช่วยทำงานเหล่านั้น
การเสพติดการทำงานเรียกได้ว่าเป็นเรื่องอันตราย ดังนั้นเราจึงควรเรียนรู้ที่จะทำงานอย่างพอดี ไม่มากจนเกินไป เพื่อเลี่ยงปัญหาสุขภาพที่จะตามมา ConNEXT หวังว่าคุณจะหาสมดุลในการทำงานได้ ทำงานหนักแล้วก็อย่าลืมพักนะ
เขียนโดย : Weerapat Nenbumroong
อ้างอิง : zenefits