สร้างความสัมพันธ์ภายในทีม ให้รักกันมากขึ้นได้ง่าย ๆ ด้วย Compliments in the Workplace | Techsauce
talentsauce logo
ฝากประวัติ ค้นหา Tech Talent Talent Insights Job Hack Life Hacks News Video Podcast
สร้างความสัมพันธ์ภายในทีม ให้รักกันมากขึ้นได้ง่าย ๆ ด้วย Compliments in the Workplace
By Connext Team มกราคม 24, 2024
share facebook icon share facebook icon hover share x icon share x icon hover share line icon share line icon hover share icon share icon hover

หาก First impression ทำให้คนประทับใจเมื่อแรกเห็น คำชมเชยก็เป็น First emotion ที่ทำให้คนรู้สึกดีเมื่อเริ่มคุย เพื่อน ๆ รู้หรือไม่ว่าในสังคมการทำงานนอกจากการทำงานเป็น Teamwork จะสำคัญแล้วยังมีอีกหนึ่งสิ่งที่สำคัญไม่แพ้กันนั่นก็คือคำชมเชย Compliments in the Workplace นับว่าเป็นจิ๊กซอว์ที่สำคัญมาก ๆ ในการสื่อสารเพราะจะทำให้การสนทนาราบรื่น สร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน และสร้างความปลอดภัยในที่ทำงาน 

Compliments

นอกจากนี้คำชมยังมีข้อดีอีกหนึ่งข้อที่ใครหลาย ๆ คนคาดไม่ถึงอย่างแน่นอน ก็คือคำชมสามารถทำให้หัวหน้าบริหารพนักงานได้ง่ายขึ้น เพราะเมื่อไหร่ที่หัวหน้าเอ่ยปากชมพนักงานพวกเขาจะรู้สึกว่าตัวเองมีคุณค่า ได้รับการมองเห็น เป็นที่รักและเคารพในที่ทำงาน ซึ่งแสดงให้เห็นว่าหัวหน้ามองเห็นความตั้งใจในการทำงานหนักของพวกเขาส่งผลให้พนักงานมีแรงบันดาลใจในการทำงานและทำงานได้ดีขึ้น หัวหน้าก็จะสามารถบริหารและควบคุมพนักงานได้ง่ายขึ้น 

แล้วรู้หรือไม่ว่าวันที่ 24 มกราคม คือวันชมเชยแห่งชาติด้วย ดังนั้นแล้วเรามาร่วมสร้างบรรยากาศที่ทำงานให้ดีด้วยการชมเล็ก ๆ น้อย ๆ กันเถอะ และเพื่อน ๆ เคยสงสัยไหมว่าทำไมเราถึงรู้สึกดีเวลาเราชมคนอื่นหรือคนอื่นชมเรา ถ้ายังหาคำตอบไม่ได้ บทความนี้มีคำตอบ! 

ทำไมเราถึงรู้สึกดีเมื่อชมคนอื่นและคนอื่นชมเรา

เมื่อเราได้รับคำชมเราจะรู้สึกว่าตัวเองมีคุณค่าและรู้สึกเหมือนได้รับการยอมรับจากที่ทำงานอีกทั้งสมองของเราก็จะรู้สึกเหมือนว่าเราทำอะไรสำเร็จสักอย่าง แล้วรางวัลที่ได้รับก็คือเงิน จึงไม่แปลกใจว่าทำไมเวลาเราโดนชมเราถึงรู้สึกดีมาก ๆ นอกจากนี้การศึกษายังพบว่าการที่เราชมคนอื่นจะช่วยทำให้อารมณ์ของเราดีขึ้น เพราะเราได้เห็นถึงความดีของคนอื่นและการที่เราเอ่ยปากชมออกมาอีกนัยหนึ่งก็คือการที่เรารู้สึกยินดีกับความสำเร็จของคนอื่นนั่นเอง

สาเหตุที่ทำให้เราไม่กล้าชมคนอื่น

มีใครเคยเป็นบ้างเจอคนที่ทำงานดีมาก ๆ แล้วอยากเอ่ยปากชมสุด ๆ แต่ก็มีเหตุให้ไม่กล้าพูดจากการวิจัยพบว่ามีอยู่ 2 สาเหตุที่ทำให้เราต้องหยุดชมคนนั้นอย่างกะทันหัน จะมีอะไรบ้าง มาดูกัน!

1. Imposter syndrome 

Imposter syndrome คือการที่เราสงสัยในความสามารถของตนเองคิดว่าตัวเองยังไม่เก่งพอและไม่คู่ควรกับงานหรือตำแหน่งที่ได้รับ

Boothby และ Bohns นักเขียนจากมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา กล่าวว่าเป็นเพราะเราคิดว่าตัวเองยังไม่เก่งพอเลยทำให้เรารู้สึกขาดความมั่นใจไม่กล้าที่จะพูดชมคนอื่น

2. คิดไปเองว่าคนอื่นจะคิดว่าเราไม่จริงใจ

เคยคิดแบบนี้ไหม รู้สึกว่าคนนี้ทำงานได้ดีมาก ๆ อยากชมเขาสุด ๆ แต่พอมานึกดูอีกทีเขาจะคิดว่าเราชมเพราะอิจฉาหรือประชดอะไรเขารึเปล่านะ สุดท้ายเราก็ต้องเก็บเอาคำชมนั้นใส่กล่องความคิดของเราไป

Zhao นักเขียนจากมหาวิทยาลัยชิคาโก ประเทศสหรัฐอเมริกา กล่าวว่าเรามักจะคิดไปเองว่าคนอื่นจะรู้สึกไม่ดีต่อคำชมของเราเลยทำให้เราตัดสินใจที่จะไม่เอ่ยปากชมเขาและเงียบไปในที่สุด

ทำไมการชมเพื่อนร่วมงานจึงสำคัญ?

คำชมเชยในที่ทำงานนับว่าเป็นสิ่งที่สำคัญมาก เพราะเมื่อไหร่ที่เราชมคนอื่นพวกเขาจะรู้สึกว่าเรามองเห็นการตั้งใจทำงานอย่างหนักของพวกเขาและจากการวิจัยให้ข้อมูลว่ามี 2 เหตุผลที่ไขข้อสงสัยว่าทำไมการชมเพื่อนร่วมงานจึงสำคัญ?

1.เพิ่มการคิดบวก

จากการวิจัยด้านการจัดการธุรกิจและจิตวิทยาเชิงบวกพบว่าการได้รับคำชมมีผลต่อความคิดและงานของเราเพราะคำชมจะเป็นแรงผลักดันให้เรามีกำลังใจทำงานและรู้สึกว่าเพื่อนร่วมงานและที่ทำงานนี้ดีมาก ๆ

2.ทำงานได้มีประสิทธิภาพ

เมื่อเราได้รับคำชมเราจะรู้สึกมีความสุขมากขึ้นเพราะสมองจะหลั่งสารโดปามีนหรือสารสื่อประสาทที่ทำงานร่วมกับสมอง สารนี้จะหลั่งออกมาเมื่อเราทำอะไรสักอย่างสำเร็จ นอกจากนี้การได้รับคำชมในที่ทำงานเป็นเครื่องหมายยืนยันว่าเราเป็นที่ยอมรับ รู้สึกว่าตัวเองถูกมองเห็นและมีคุณค่า ดังนั้นแล้วคำชมนับได้ว่าเป็นพลังชั้นดีที่จะช่วยกระตุ้นให้เราทำงานได้ดีมากยิ่งขึ้น

ชมอย่างไรให้คนอื่นรับรู้ว่าเราจริงใจ?

การส่งเสริมให้ที่ทำงานมีการชมเชยให้แก่กันนับว่าเป็นวัฒนธรรมองค์กรที่ดีเพราะจะทำให้พนักงานรู้สึกว่าที่ทำงานเป็นสถานที่ที่ปลอดภัยและส่งผลให้พวกเขาทำงานได้ดีมากขึ้น

หากเราต้องการที่จะชมใครสักคนแล้วอยากให้เขารู้สึกว่าเราชมเขาจริง ๆ เราต้องคิดก่อนว่าจะชมเขาอย่างไรและส่งต่อคำชมนี้ด้วยความจริงใจ อ่านมาถึงตรงนี้อาจจะมีเพื่อน ๆ หลายคนอาจยังไม่เข้าใจงั้นมาลองอ่านวิธีการเป็นข้อ ๆ กันจะได้เข้าใจมากขึ้น

1.ชมความสามารถเฉพาะตัวของเขา

ลองสังเกตดูว่าเพื่อนร่วมงานที่เราจะชมเขามีทักษะหรือความสามารถพิเศษอะไร เช่น ไหวพริบดี ทำงานไม่เคยผิดพลาด

2.เลือกสถานการณ์ที่จะชม

บางครั้งในการชมเราไม่จำเป็นต้องชมเสมอไปแต่ให้เลือกสถานการณ์ที่สำคัญของคนที่เราจะชมแทน รับรองเลยว่าการชมในครั้งนั้นของเราเขาจำไม่ลืมแน่นอน

3.พูดชมด้วยความจริงใจ

ในการที่เราจะชมใครสักคนแค่พูดชมเฉย ๆ ยังไม่พอเราต้องมีภาษากายหรือแสดงท่าทางประกอบด้วยเพื่อให้การชมในครั้งนั้นของเราดูเป็นธรรมชาติที่สุด คนฟังก็จะรู้สึกเป็นกันเองและรู้สึกปลอดภัยกับเรามากขึ้น

4.คิดวิธีในการชม

สำหรับบางคนชอบที่จะได้รับคำชมต่อหน้าคนเยอะ ๆ แต่บางคนไม่ชอบที่จะถูกชมต่อหน้าผู้คนมากมายเราอาจจะส่งข้อความไปชื่นชมเขาแทน เช่น แชทส่วนตัวหรืออีเมล

5.เลือกใช้คำในการชม

คำชมเชยเป็นสิ่งที่ดีแต่การเลือกใช้คำในการชมก็ดีไม่แพ้กันเพราะถ้าเราเลือกใช้คำพูดที่ดี ตรงตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้น และกระชับได้ใจความ คนฟังก็จะรู้สึกว่าเราตั้งใจที่จะมาชมเราจริง ๆ ไม่ใช่แค่พูดชมให้จบ ๆ ไป

เมื่อได้รับคำชมต้องทำตัวอย่างไร

เชื่อเลยว่าเพื่อน ๆ หลายคนต้องเคยมีอาการแบบนี้เวลาที่โดนชม จะทำตัวไม่ถูก เกิดอาการเขิน ไม่รู้ว่าจะต้องพูดหรือแสดงท่าทางยังไงดี แต่พอเริ่มมีสติกลับมาคิดดี ๆ อีกที เราอาจเก็บมาคิดว่าจะมีคนรู้สึกไม่ดีที่เราโดนชมไหมนะหรือเราทำตัวเด่นไปรึเปล่า หากใครที่กำลังคิดแบบนี้อยู่ ลองทำตามวิธีเหล่านี้เลยจะช่วยให้เพื่อน ๆ รับมือกับคำชมได้ดีมากขึ้น

1.กล่าวขอบคุณจากใจจริง

แทนที่จะถ่อมตัวพูดว่าเรายังไม่ค่อยเก่งต้องพัฒนาอีกเยอะ ให้เปลี่ยนเป็นพูดขอบคุณและพูดต่อว่าเราจะพัฒนาต่อไป การพูดขอบคุณจะทำให้คนที่ชมรู้สึกว่าเราตอบรับคำชมและเห็นคุณค่าคำชมเขาจริง ๆ

 2.พูดความรู้สึกหลังจากกล่าวขอบคุณ

การรับมือต่อคำชมที่ดีแค่การพูดขอบคุณในบางครั้งอาจยังไม่พอ ถ้าจะตอบกลับแล้วทำให้คนชมรู้สึกดีมากขึ้นเราต้องพูดความรู้สึกต่อจากคำว่าขอบคุณด้วย เช่น ฉันรู้สึกดีมาก ๆ ที่ได้รับคำชม เพราะฉันไม่แน่ใจว่าฉันพูดออกมาได้ดีหรือเปล่า ขอบคุณมาก ๆ เลยนะคะที่ชมฉัน

3.รับคำชมและชมกลับ

เมื่อมีคนมาชมเราให้เรารับคำชมนั้นทันที คิดไว้เสมอว่าเราคู่ควรกับคำชมเหล่านี้และเลือกที่จะชมเขากลับเช่นกัน เพราะการทำแบบนี้จะทำให้ทั้ง 2 ฝ่ายรู้สึกดีมากขึ้น เช่น ขอบคุณนะคะ ฉันและทีมทำงานหนักมากเพื่อให้งานชิ้นนี้สำเร็จ ฉันซาบซึ้งใจมาก ๆ ที่ได้รับคำชมในครั้งนี้

4.รู้สึกขอบคุณต่อคำชมที่ได้รับจากใจจริง

แน่นอนว่าเรื่องของความรู้สึกถึงเราไม่พูดออกมา คนที่คุยกับเราก็รับรู้ได้เช่นเดียวกับการพูดตอบกลับเมื่อมีคนมาชมเรา ถ้าหากเราไม่รู้สึกขอบคุณที่เขามาชมเราจริง ๆ ต่อให้เราพูดตอบกลับดีแค่ไหนคนฟังก็สัมผัสถึงความจริงใจไม่ได้ ดังนั้นแล้วฝึกจิตใจของตัวเองให้รู้สึกขอบคุณต่อคำชมที่ได้รับและพูดตอบกลับด้วยความรู้สึกที่ออกมาจากใจจริง ๆ

ใครที่อ่านจบแล้วคงหมดข้อสงสัยว่าทำไมการชมคนอื่นถึงสำคัญและเวลาที่เราโดนชมต้องทำตัวยังไงไม่ให้คนอื่นไม่ชอบเรา นอกจากเราจะเอาเนื้อหาในเรื่องนี้ไปใช้ในที่ทำงานแล้วเรายังสามารถเอาไปใช้กับเพื่อน คนรัก หรือครอบครัว ก็ได้นะ รับรองเลยว่า Feel good ไม่แพ้กัน นับว่าเป็นอีกหนึ่งทริคเด็ด ๆ ที่ช่วยให้คนที่คุยกับเรารู้สึกว่าเราน่าคุยมากขึ้นและยังช่วยให้เราเริ่มต้นสร้างความสัมพันธ์ได้ดีอีกด้วยนะ มีดีขนาดนี้ ต้องลองทำตามเลย

เขียนโดย : Monnapha Wangchanakul 

อ้างอิง : smilingmind

No comment

คัดลอก URL

×

https://techsauce.co/talentsauce/life-hacks/compliments-in-the-workplace