อย่ารู้สึกผิดที่ให้ความสำคัญกับตัวเองมากกว่างาน | Techsauce
talentsauce logo
ฝากประวัติ ค้นหา Tech Talent Talent Insights Job Hack Life Hacks News Video Podcast
อย่ารู้สึกผิดที่ให้ความสำคัญกับตัวเองมากกว่างาน
By Connext Team มีนาคม 9, 2023
share facebook icon share facebook icon hover share x icon share x icon hover share line icon share line icon hover share icon share icon hover

เมื่อคุณเป็นคนรุ่นใหม่ที่เพิ่งเข้าสู่วัยทำงาน เป็นเรื่องปกติที่จะรู้สึกคาดหวัง กระตือรือร้น หรือแม้กระทั่งวิตกกังวล แน่นอนว่าคุณมักจะตั้งความคาดหวังที่เฉพาะเจาะจงกับตัวเองเกี่ยวกับสิ่งที่คุณต้องการบรรลุและวิธีที่คุณต้องการเติบโต เพราะทุกคนล้วนเชื่อว่าการทำงานหนักอย่างตั้งใจเป็นระยะเวลานานๆ จะนำไปสู่ความสำเร็จในหน้าที่การงานได้

แต่จริงๆ แล้วความเป็นจริงกลับไม่ใช่อย่างนั้น เพราะการให้ความสำคัญกับงานมากกว่าสุขภาพร่างกาย จิตใจ และอารมณ์มักจะนำไปสู่อาการ Burnt out หรืออาการหมดไฟในการทำงานได้ ถึงแม้ว่าคุณจะย้ายไปทำงานที่อื่น แต่ถ้ายังไม่เลิกทำให้ตัวเองตกอยู่ในวังวนของการทำงานหลายชั่วโมงที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพ คุณก็จะยิ่งยากที่จะฟื้นตัวจากผลกระทบระยะยาวของการทำงานที่หนักเกินไป

อย่ารู้สึกผิดที่ให้ความสำคัญกับตัวเองมากกว่างาน

ทำไมเราถึงรู้สึกผิดกับการให้ความสำคัญของชีวิตมากกว่าการทำงาน ?

ในทางสังคม หลายคนยังคงเปรียบเทียบชั่วโมงการทำงานกับระดับประสิทธิภาพการทำงานของของตัวเอง เพราะเรามักจะถือว่าการทำงานต่างๆ นั้นย่อมส่งผลให้สิ่งต่างๆ เกิดประสิทธิภาพมากขึ้น จึงทำให้บางคนก็มักจะรู้สึกผิดและแอบตำหนิตัวเองทุกครั้งที่ใช้เวลาในวันหยุดไปกับ "การพักผ่อนเฉยๆ โดยไม่ทำอะไรเลย" เพราะคุณเลือกที่จะใช้เวลานั้นในการพักผ่อนแทนที่จะวางแผนการทำงาน ซึ่งนี่ถือว่าเป็นความคิดผิดๆ ที่อาจส่งผลระยะยาวต่อสุขภาพกายและสุขภาพใจของคุณได้

ในช่วงการปฏิวัติอุตสาหกรรมนั้น พนักงานทั่วไปโดยเฉลี่ยคาดว่าจะต้องทำงานเกือบ 14 ชั่วโมงต่อวัน เป็นเวลาหกถึงเจ็ดวันต่อสัปดาห์ จนกระทั่งมีการยกเลิกระบบนี้ไปในช่วงต้นศตวรรษที่ 19 เมื่อ Henry Ford ผู้ก่อตั้ง Ford Motor Company เป็นบริษัทแห่งแรกที่ให้เวลาทำงาน 40 ชั่วโมงต่อหนึ่งสัปดาห์ ซึ่งเหตุผลที่ทำให้ Ford ตัดสินใจปรับเปลี่ยนรูปแบบเวลาในการทำงาน เพราะเขาเชื่อว่าบริษัทจะสามารถขายรถยนต์ให้กับพนักงานได้มากขึ้นหากพวกเขามีเวลาหยุดมากขึ้น

แนวคิดของ “Hustle culture” หรือ วัฒธรรมคลั่งงานได้รับความนิยมในช่วงเศรษฐกิจถดถอยครั้งใหญ่ในปี 2008 ด้วยการล้มละลายของเศรษฐกิจโลกผลักดันให้ผู้คนต้องทำงานหลากหลายมากขึ้นเพื่อความอยู่รอด อัตราการว่างงานที่สูงและสภาวะค่าเงินแข็งตัวขึ้นทำให้การทำงานมากเกินไป (Overwork) กลายเป็นเครื่องหมายที่นำไปสู่ความสำเร็จในที่สุด

แต่ผลกระทบจากวิกฤตโรคระบาดกลับส่งผลให้ทั้งบริษัทและพนักงานต้องเปลี่ยนแปลงแนวคิดในการทำงานไปตลอดกาล ปัจจุบันนายจ้างได้ยอมปรับรูปแบบการทำงานเป็นแบบ Work from home หรือแบบ Hybrid และเริ่มตระหนักถึงการมีส่วนร่วมและการสร้างแรงจูงใจให้พนักงานเพื่อเป็นกุญแจสำคัญในการรักษาพนักงานที่มีศักยภาพและส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีให้แก่พนักงาน ซึ่งส่งผลให้รูปแบบการทำงานนั้นยืดหยุ่นและมีการไว้วางใจระหว่างองค์กรและพนักงานมากขึ้น

ประเด็นคือ คำจำกัดความของ “การทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ” ของเรานั้นมีการวิวัฒนาการอย่างมากในช่วง 2 ปีให้หลังนี้ องค์กรเริ่มให้ความสำคัญกับการสร้างผลกระทบต่อการทำงานให้มีประสิทธิภาพโดยไม่กระทบต่อสุขภาพพนักงานมากขึ้น

คุณค่าความสามารถหรือคุณค่าในฐานะ “พนักงาน” สามารถกำหนดได้จากผลลัพธ์ของงานที่ออกมาไม่ใช่เพียงระยะเวลาในการทำงานอีกต่อไป เพราะฉะนั้นต่อไปนี้คุณต้องสลัดความคิดรู้สึกผิดกับการให้ความสำคัญของชีวิตเรามากกว่าการทำงาน แล้วหันมาสร้างสมดุลระหว่างชีวิตและงานอย่างยั่งยืนโดยให้ความสำคัญกับตัวคุณ สุขภาพ และความสุขของคุณเป็นอันดับแรก  

วิธีจัดลําดับความสําคัญของตัวเอง

แม้ความต้องการของผู้คนบนโลกจะเปลี่ยนไปตามกาลเวลา แต่มีสิ่งหนึ่งที่ทุกคนก็ต้องการอย่างชัดเจนเลยคือ การดูแลเอาใจใส่สุขภาพตัวเอง คุณควรให้ความสำคัญกับตัวเองเพื่อจะดึงศักยภาพของคุณออกมาได้เต็มที่ ถ้าคุณเริ่มสร้างพฤติกรรมที่ดีต่อสุขภาพเร็วเท่าไร คุณจะเติมเต็มความสุขของคุณได้เร็วมากขึ้นเท่านั้น

และนี่คือ 4 สิ่งที่คุณจะสามารถนำมาปรับมาใช้เพื่อให้ชีวิตคุณได้มีเวลากับตัวเองมากขึ้นโดยไม่ส่งผลกระทบกับการเติบโตในอาชีพ

1. หาเวลาว่างที่จะไม่ทำอะไรเลย

ลองปล่อยตัวเองให้มีเวลาว่างบ้างโดยที่ไม่ต้องทำอะไรเลย แต่ถ้ายังคิดมากอยู่ให้ลองแก้โดยเขียนความคิดของคุณลงไปในกระดาษเพื่อเป็นการระบายความคิดให้สมองโล่งขึ้น

2. รู้จักที่จะปฏิเสธ

การปฏิเสธไม่ได้แย่เสมอไป เรียนรู้ขีดจำกัดที่คุณสามารถทำได้ กำหนดขอบเขตเพื่อให้คุณได้เข้าใจถึงความสามารถและยอมรับขีดจำกัดของตัวเอง เพื่อที่จะได้รู้ว่างานไหนที่คุณมีความกระตือรือร้นและมีแรงจูงใจที่จะทำจริง แม้จะทำได้ยากแต่การมีทักษะในการปฏิเสธอย่างสุภาพส่งผลดีต่อตัวเราเองและเพื่อนร่วมงานอีกด้วย

3. ควรแยกระหว่างการทำงานและชีวิตคุณออกจากกัน

อาจจะยากหน่อยสำหรับผู้ที่ทำงานแบบ Hybrid หรือห่างไกลจากที่ทำงาน แม้ว่าการได้ทำงานอยู่ที่บ้านจะทำให้เกิดความยืดหยุ่นและผ่อนคลาย แต่ก็ทำให้ยากต่อการวาดขอบเขตที่ระหว่างการทำงานและชีวิตส่วนตัวด้วยเช่นกัน

แต่คุณสามารแก้ปัญหาได้โดยกำหนดขอบเขตกับพื้นที่ในบ้านของคุณแบ่งพื้นที่ที่ใช้ทำงานเฉพาะ โดยควรหลีกเลี่ยงการใช้โซฟาหรือที่นอนเพราะพื้นที่นี้ควรเป็นพื้นที่ปลอดภัยสำหรับการพักผ่อนอย่างแท้จริง

4. เข้าใจว่างานมีความหมายกับคุณอย่างไร?

คุณต้องการอะไรจากอาชีพที่คุณทำอยู่? อาจจะเป็นคำถามที่น่าฉงนแต่ก็เพื่อจะได้เห็นความชัดเจนของสิ่งที่คุณต้องการ เพราะเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อการทำงานระยะยาวเพื่อที่จะช่วยให้คุณไปถึงเป้าหมายที่แท้จริงได้ เพราะฉะนั้นคุณจึงควรทำความเข้าใจเป้าหมายและวิสัยทัศน์ในอาชีพคุณ

เพราะฉะนั้นแล้วบนโลกนี้ไม่มีคำจำกัดความว่าเวลาใดที่เหมาะสมที่สุดที่จะดูแลตัวเอง ลองใส่ใจที่จะเรียงลำดับความสำคัญชีวิตและสุขภาพของคุณกับการทำงาน เพราะยิ่งคุณดูแลใส่ใจกับตัวเองมากเท่าไร คุณก็จะเริ่มรู้สึกดีไปกับการทำงานและไม่แน่คุณอาจจะค้นพบ Career path และเป้าหมายทางอาชีพใหม่ๆ กับสายงานอาชีพคุณก็เป็นได้


เขียนโดย Wasin Lerksumrand 

อ้างอิง : hbr

No comment

คัดลอก URL

×

https://techsauce.co/talentsauce/life-hacks/dont-feel-bad-about-prioritizing-yourself-over-work