หลายประเทศกำลังเผชิญกับปัญหาการขาดแรงงานอย่างหนัก ซึ่งปัญหานี้จะฉุดรั้งเศรษฐกิจของประเทศให้แย่ลง แล้วสิ่งนี้จะส่งผลต่อโลกการศึกษาอย่างไรต่อไปในอนาคต?
ในปี 2022 สถานการณ์ COVID-19 ยังไม่มีทีท่าว่าจะดีขึ้น ทำให้ส่งผลกระทบในหลายๆ ด้าน รวมถึงการศึกษาที่ต้องปรับตัวให้เข้ากับยุคโควิดให้ได้ และสิ่งที่จะเป็นกุญแจสำคัญในการจัดการกับความท้าทายที่เกิดขึ้นนี้ได้ก็คือ Career education หรือการศึกษาเพื่ออาชีพ ซึ่งอาจเข้ามาทำให้การเรียนปริญญา 4 ปีลดความสำคัญลงไป ต่อไปนี้คือการคาดการณ์อนาคตของโลกการศึกษาว่าจะเป็นอย่างไรต่อไปหลังจากนี้
การเรียนปริญญา 4 ปีจะไม่ใช่ทางเลือกหลักของการศึกษาหลังจบมัธยมปลายอีกต่อไป
บริษัท ECMC ได้สำรวจความคิดเห็นของนักเรียนมัธยมปลายในช่วงสองปีที่ผ่านมา พบว่า นักเรียนจำนวนมากกำลังมองหาทางเลือกอื่นนอกจากการเรียนปริญญา 4 ปี และตั้งแต่การระบาดของ COVID-19 ทำให้มีนักเรียนมัธยมปลายตัดสินใจเรียนต่อระดับปริญญาลดลง 23% และมีนักเรียนไม่ถึงครึ่งที่วางแผนจะเรียนปริญญาต่อ
การเรียนต่อระดับปริญญาเป็นเหมือนสิ่งที่สังคมกำหนดไว้ว่า เมื่อเรียนมัธยมปลายจบแล้ว จะต้องเรียนต่อระดับมหาวิทยาลัย แต่เมื่อเผชิญกับปัญหา Skill gap ทำให้คนรุ่นใหม่หลายคนตั้งคำถามกับการเรียนมหาวิทยาลัยว่าจำเป็นหรือไม่ และมองหาทางเลือกอื่นที่มีระยะเวลาการเรียนที่สั้นกว่า ถูกกว่า และเป็นตัวเลือกสายตรงสู่อาชีพได้มากกว่า
ดังนั้นจึงมีการคาดการณ์ว่าคนที่จะชนะในโลกของการศึกษาและทำงานในอนาคต จะเป็นคนที่สามารถปรับตัวเข้ากับทัศนคติที่เปลี่ยนแปลงไปได้ ซึ่งรวมถึงองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรและนายจ้างอื่นๆ ที่สามารถปรับเปลี่ยนข้อกำหนดด้านการศึกษาในการรับเข้าทำงาน โดยเฉพาะในตำแหน่ง Entry-level
Lifelong learning จะกลายเป็นมาตรฐานการศึกษา
เนื่องจากการเกิดขึ้นของเทคโนโลยี ทำให้สิ่งต่างๆ เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งจะเห็นได้ตั้งแต่การเพิ่มขึ้นของ AI และ Automation ไปจนถึงอาชีพใหม่ๆ ที่ตลาดต้องการสูงในช่วง 5, 10 และ 15 ปีในอนาคต สิ่งนี้ทำให้การเรียนมหาวิทยาลัย 4 ปีไม่สามารถตามการเปลี่ยนแปลงของโลกทันได้ ส่งผลให้ในอนาคตการศึกษาและการอบรมจะต้องเป็นสิ่งที่มีความว่องไว สร้างสรรค์ และอยู่ได้ยาวนานยิ่งขึ้น
คน Gen Z มากกว่าครึ่งคาดหวังว่าตนเองจะได้เรียนรู้ตลอดชีวิต และเกือบหนึ่งในสามกล่าวว่า ชอบการศึกษาระยะสั้นมากกว่า (หนึ่งปีหรือน้อยกว่านั้น) เพื่อสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงนี้ องค์ไม่แสวงหาผลกำไรและธุรกิจต่างๆ จะต้องให้ความสำคัญกับการเรียนรู้ตลอดชีวิต โดยประเมินความสนใจของพนักงานตั้งแต่กระบวนการจ้างงานไปจนถึงการพัฒนาทักษะในการทำงานให้กับพนักงาน อีกทั้งยังต้องส่งเสริมวัฒนาธรรมการเรียนรู้ให้กับทุกคน
องค์กรไม่แสวงหาผลกำไรจะเข้ามาเป็นผู้นำในการจัดการ Skill gap
จากการสำรวจคน Gen Z พบว่า 87% กำหนดความสำเร็จสำหรับของตัวเองในอีก 5 ไว้คือ การได้ทำงานตามสิ่งที่ชอบ ในขณะที่ 30% กำหนดความสำเร็จคือ เงินที่สามารถหาได้จากการทำงาน นอกจากนี้ คน 60% ยังกล่าวว่าสถานที่ในการเรียนรู้ที่ดีที่สุดก็คือ ที่ทำงาน
เมื่อคนรุ่นใหม่อาจไม่ได้มองว่าการเรียนปริญญาเป็นทางเลือกหลัก อีกทั้งยังต้องการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ตลอด ดังนั้นในอนาคตองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรอาจใช้ประโยชน์จากเรื่องนี้ โดยการเข้ามาเสนอโอกาสในการฝึกอบรมและพัฒนาอาชีพในด้านต่างๆ เช่น IT เพื่อพัฒนาองค์กรให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอยู่ตลอดเวลา
ที่มา - Forbes