รวมมาให้แล้ว 21 เครื่องมือฝาแฝดของนักออกแบบทั้งแบบฟรีและพรีเมียม
By
Suchanan Songkhor
ธันวาคม 12, 2023
หากใครทำงานด้านสายกราฟิกคงจะรู้จักเครื่องมือออกแบบกราฟิก อย่าง Photoshop, Adobe Stock และ Premiere Pro เป็นอย่างดี แต่จะดีแค่ไหนถ้าเราเจอเครื่องมือที่คล้ายคลึงกัน แต่ใช้งานได้ฟรี!! วันนี้ ConNEXT จึงได้รวบรวมเครื่องมือออกแบบทั้งหมดของชาวกราฟิกมาให้แล้ว ไปดูเลยย
เครื่องมือออกแบบพรีเมียม vs ฟรี
เครื่องมือออกแบบกราฟิก
แบบพรีเมียม
- Photoshop เป็นเครื่องมือออกแบบที่นักกราฟิกต้องรู้จักกันเป็นอย่างดี เป็นหนึ่งในแอปพลิเคชั่นอันดับต้น ๆ ที่เน้นตกแต่งรูปแบบและแก้ไขรูปภาพเพื่อสร้างสรรค์ผลงานต่าง ๆ เช่น งานออกแบบปกหนังสือ โปสเตอร์ งานโฆษณา ช่วยออกแบบหน้าเว็บไซค์ หรือจะช่วยออกแบบผลิตภัณฑ์ก็ได้ แต่ข้อเสียของ Photoshop คือมีราคาที่แพงเอาเรื่องอยู่
แบบฟรี
- Canva เรียกว่าเป็นแอปที่ต้องมีจริง ๆ เพราะสารพันประโยชน์สุด ๆ สามารถทำได้เกือบทุกอย่างทั้งออกแบบกราฟิก ทำ Presentation ออกแบบ Logo, Poster และ Infographic ข้อดีของ Canva คือมีเทมเพลตให้เลือกใช้เยอะกว่า 60,000 แบบ ทำให้ใช้งานได้ แม้ไม่มีพื้นฐานกราฟิกก็สามารถใช้ได้นะ
- Figma คือเครื่องออกแบบเว็บไซค์หรือแอปพริเคชั่น สำหรับ UX/UI หรือจะใช้สำหรับการแบบโลโก้, artwork ต่างๆ ของสายงานกราฟิก หรือคนทั่วไปที่ใช้ในการออกแบบ Presentation ก็ได้ เปิดให้ใช้บริการฟรี
เครื่องมือตัดต่อรูปภาพ
แบบพรีเมียม
- Photoshop คือโปรแกรมแต่งรูปภาพระดับมือโปร ที่นักออกแบบส่วนใหญ่เลือกใช้กัน จุดเด่นของโปรแกรมนี้คือจะเน้นไปที่การแก้ไขรูปภาพ การรีทัชภาพ จัดองค์ประกอบ การปรับแสง ปรับแต่งสี การใส่เอฟเฟ็กต่าง ๆ และเหมาะมาก ๆ กับงานออกแบบเว็บไซต์, Motion Graphics, ออบแบบ UI&Mock Up
แบบฟรี
- Lightroom โปรแกรมนี้จะคล้าย ๆ กับ Photoshop แต่ว่าจะเน้นไปที่ การตกแต่งภาพ สีสัน ความสว่าง และจัดการภาพถ่ายในจำนวนเยอะๆ มากกว่า โปรแกรมนี้จะเหมาะสำหรับคนที่ต้องแต่งรูปให้ไปใน Mood&Tone เดียวกัน
- PixelLab เป็นเครื่องมือแก้ไขภาพ ที่เป็นเหมือนขุนทรัพย์ดี ๆ อีกแอปหนึ่ง เพราะว่าเป็นแอปที่ค่อนข้างยืดหยุ่นและทำได้หลายอย่าง ทั้งการใส่ข้อความ สติ้กเกอร์ อิโมจิ เอฟเฟกต์ต่าง ๆ ปรับความสว่าง เฉดสีได้ ซึ่งหากเราไม่ชอบเอฟเฟกต์ตัวไหนของแอปเราก็สามารถวาดเองได้ตลอด ด้วยฟีเจอร์นี้จะทำให้เราสามารถเลือกขนาดของแปรงและสีได้เองได้ เริ่ดสุด ๆ และรูปภาพที่แก้ไขเสร็จแล้วจะถูกบันทึกไว้เป็นโปรเจ็ก นั่นหมายความว่าเราสามารถกลับมาแก้ไขรูปภาพได้เรื่อย ๆ และจุดเด่นอีกย่างหนึ่งคือสามารถทำงานแยกออกเป็นเลเยอร์ได้คล้าย Photoshop
เครื่องมือตัดต่อวีดีโอ
แบบพรีเมียม
- Premiere Pro คือโปรแกรมตัดต่อวีดีโอที่เป็นที่นิยมออกแบบมาสำหรับการตัดต่อวีดีโอโดยเฉพาะ เรียกได้ว่าเป็นแอปที่นักตัดต่อต้องมีทุกคน เพราะสามารถทำงานได้ครอบคลุม และมีฟังก์ชั่นตัดต่อแบบครบครัน
แบบฟรี
- VN คือแอปพลิเคชันตัดต่อวีดีโอ ที่เปิดให้ใช้บริการฟรี มีหลากหลายฟีเจอร์ให้เลือกใช้ไม่แพ้ไปกว่าโปรแกรมบนคอมพิวเตอร์ ใครที่เป็นมือใหม่ก็สามารถใช้แอปนี้ได้หรือแม้แต่มือโปรก็สามาใช้แอปนี้ได้เหมือนกัน เพราะเป็นแอปที่ใช้งานง่ายและครบเครื่องสุด ๆ มีทั้งพื้นหลัง ฟิลเตอร์ให้เลือก Transition ระหว่างฉากต่าง ๆ หรือจะเพิ่ม Effect เสียง ใส่ตัวหนังสือก็ได้ ที่สำคัญไม่มีลายน้ำด้วย
- Capcut คือหนึ่งในแอปพลิเคชั่นตัดต่อวีดีโอที่ฮิตมาก ๆ ในช่วงนี้ หากใครที่เล่น TikTok ก็น่าจะเคยเห็นโลโก้นี้ผ่าน ๆ ตามาบ้าง ความดีงามของแอปนี้คือใช้งานง่าย ไม่ซับซ้อน มีเทมเพลตให้เลือก มีลูกเล่นให้เล่นเยอะ แถมมีเพลงฮิต ๆ ให้เลือกเพียบ ใครสนใจอยากลองใช้ดาวน์โหลดได้เลยนะเพราะฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย
เครื่องมือช่วยหาภาพสต็อก
แบบพรีเมียม
- Adobe Stock คือคลังภาพถ่ายสต็อกขนาดใหญ่ ที่ได้รวบรวมทั้งรูปถ่าย, ภาพประกอบ, ภาพเวกเตอร์, ไอคอน, คลิปวีดีโอ, คลิปเสียง, ฟุตเทจ, เทมเพลต, ภาพโมชั่น, ภาพ 3 มิติ รวมทั้งรูปภาพที่มีความละเอียดสูง ๆ ไว้ในที่เดียว เพื่อให้คุณนำไปใช้ในการออกแบบงานต่าง ๆ ได้ ซึ่งภาพจะมีทั้งแบบปลอดลิขสิทธิ์ให้ใช้งานได้ และภาพที่ตัองเสียค่าใช้จ่าย
แบบฟรี
- Unsplash เป็นแหล่งรวบรวมภาพสวย ๆ กว่า 2.5 ล้านภาพจากช่างภาพทั่วโลก ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นภาพแนวไลฟ์สไตล์ ภาพทั้งหมดที่เผยแพร่บน Unsplash สามารถดาวน์โหลดได้ฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย แถมยังนำไปใช้ในเชิงการค้าได้ วิธีใช้ง่านก็ง่ายมาก ๆ เพียงแค่เสริชหาคำที่เราต้องการในช่องค้นหา ก็จะมีรูปที่เราต้องการขึ้นมาให้แล้ว ซึ่งจุดเด่นของ Unsplash คือ พอเราเสริชคำไหน ระบบจะแนะนำภาพที่อยู่ในหมวดหมู่เดียวกันขึ้นมาให้เราด้วย เรียกได้ว่าช่วยให้เราค้นหาภาพที่ต้องการได้ง่ายขึ้น แบบไม่ต้องเสริชหาหลารอบเลยล่ะ
- Freepik เว็บไซค์ดาวน์โหลดภาพฟรีอันดับต้น ๆ ที่หลายคนเลือกใช้กัน เพราะมีรูปภาพสวย ๆ หลากหลายสไตล์ให้เลือกเยอะมาก ทั้งภาพถ่าย ภาพเวกเตอร์ ภาพพื้นหลัง ไอคอน ภาพ Mock Up รวมถึงเทมเพลต พรีเซนเทชั่น วีดีโอ ข้อดีอีกอย่างของ Freepik คือมีรูปภาพที่ค่อนข้างเป็นเชิงธุรกิจ ดูเป็นมืออาชีพ สามารถทำให้นำไปใช้บนสื่อโฆษณาหรือประกอบบทความได้เป็นอย่างดี
เครื่องมือช่วยหาภาพวีดีโอ
แบบพรีเมียม
- Shutterstock เป็นผู้ให้บริการคลังรูปภาพและวีดีโอระดับพรีเมียม เพราะมีภาพให้เลือกดาวน์โหลดกว่า 450 ล้านภาพ และจะมีเพิ่มใหม่ทุกวันวันละ 200,000 ภาพ นอกจากนี้ยังมีให้ดาวน์โหลดเพลงที่ติดลิขสิทธิ์หรือเพลงที่ฮิต ๆ ด้วยนะ สามารถนำรูปภาพและวีดีโอไปใช้ในเชิงพาณิชย์ได้ เปิดให้ลองใช้ฟรีเพียง 10 วันเท่านั้นหลังจาดนนั้นจะมีค่าใช้จ่าย
แบบฟรี
- Pexels คือคลังคลิปและฟุตเทจฟรีขนาดใหญ่ เพราะมีทั้งคลิปวีดีโอแบบ HD และ 4K ให้เลือกตามต้องการ เว็บนี้ไม่ได้มีเพียงวีดีโออย่างเดียว แต่ยังมีภาพถ่ายให้เลือกใช้ฟรีด้วยเหมือนกัน ที่สำคัญสามารถค้นหาด้วยภาษาไทยได้ แถมยังมีภาพสไตล์ไทย ๆ ให้เลือกเยอะพอสมควร ทั้งภาพทั้งวีดีโอสามารถนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ได้ฟรีโดยไม่จำเป็นต้องให้เครดิต และสามารถนำไปปรับแต่งภาพและวิดีโอได้ตามต้องการ
- Videvo อีกหนึ่งเว็บไซค์ที่มีไฟล์วีดีโอให้ดาวน์โหลดกว่า 18,000 รายการ มีให้ดาวน์ทั้งแบบ HD และ 4K อีกทั้งยังมี Motion Graphics และ Sound Effect ให้ดาวน์โหลดใช้ฟรีด้วยนะ ทั้งหมดนี้สามารถนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ได้แบบไม่ติดลิขสิทธิ์
เครื่องมือช่วยสร้าง Icons
แบบพรีเมียม
- IconFinder เว็บไซค์ที่ได้รวบรวมไอคอนสวย ๆ และฮิต ๆ มาให้เลือกแล้วกว่า 3 แสนแบบ เว็บไซค์นี้มีทั้งแบบฟรีและเสียตังนะ
แบบฟรี
- Flaticons เป็นแหล่งรวมไอคอนที่นักออกแบบรู้จักกันดี เพราะเป็นเว็บไซค์ที่ได้รวบรวมไอคอนสวย ๆ มาให้แล้วกว่า 4 ล้านแบบ สามารถดาวน์โหลดไฟล์ PNG หรือ PSD ได้ฟรี ข้อดีของ Flaticons คือเราสามารถเปลี่ยนสีไอคอนได้เอง ปรับขนาดเล็ก-ใหญ่ได้ หรือจะเปลี่ยนสีพื้นหลังของไอคอนก็ได้หมดเลยนะ ดังนั้นจึงเหมาะมากสำหรับคนที่ต้องการให้งานให้อยู่ใน Mood&Tone เดียวกัน
- Icon8 เว็บไซต์ดาวน์โหลดไอคอนฟรีทุกรูปแบบ มีไอคอนให้เลือกกว่า 160,000 ไอคอน สามารถเลือกค้นหาตามหมวดหมู่ได้เลยว่าเราต้องการไอคอนอะไร นอกจากนี้ยังดาวน์โหลดได้ทั้งแบบภาพนิ่งและแบบขยับได้ แต่เว็บไซค์นี้เราไม่สามารถเปลี่ยนสีหรือแก้ไขรูปได้นะ เราต้องใช้ตามที่นักออกแบบออกแบบมาให้เราเลย
เครื่องมือช่วยสร้าง Fonts
แบบพรีเมียม
- FontLab เป็นเครื่องมือสร้างและแก้ไขฟอนต์ที่ครบเครื่องสุด ๆ มีตัวเลือกให้เลือกเยอะมากในการปรับแต่ง รองรับการบันทึกฟอนต์ได้หลายมาตรฐาน ทั้ง TTF, OTF, WOFF, UFO และ Glyphs แต่ต้องบอกก่อนนะว่าโปรแกรมนี้ไม่ฟรีนะ มีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง แต่สำหรับใครที่ต้องการให้ผลงานของตัวเองดูแตกต่าง และน่าสนใจ โปรมแกรมนี้ก็ถือว่าคุ้มค่าสุด ๆ
แบบฟรี
- Dafont คือเว็บไซต์ดาวน์โหลดฟอนต์ฟรี ย้ำว่าฟรีจริง ๆ นะ แต่จะมีเฉพาะฟอนต์ที่เป็นภาษาอังกฤษ ไม่มีฟอนต์ภาษาไทย แต่ข้อดีของ Dafont อย่างหนึ่งคือมีฟอนต์ภาษาอังกฤษสวย ๆ ให้เลือกเต็มไปหมด ใครที่ต้องการฟ้อนที่แปลกใหม่ แปลกตา ไม่ซ้ำใคร แนะนำเว็บนี้เลย หรือจะเป็นฟ้อนแบบ Handwritten ก็มีนะ
- Google Font เป็นเว็บดาวน์โหลดฟอนต์ฟรีที่รองรับทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ แต่จุดเด่นของ Google Font คือไม่ได้รองรับแค่ฟ้อนภาษาไทยหรืออังกฤษเพียงเท่านั้น แต่ยังรองรับภาษาอื่น ๆ กว่า 800 ภาษาบนโลกใบนี้ และยังสามารถดาวน์โหลดฟอนต์ไปใช้ได้ทั้งแบบส่วนตัวและในเชิงพาณิชย์ได้ด้วย