8 วิธีพรีเซนต์งานให้ปัง สะกดใจผู้ฟังให้อยู่หมัด แม้จะกังวลมากก็ตาม | Techsauce
talentsauce logo
ฝากประวัติ ค้นหา Tech Talent Talent Insights Job Hack Life Hacks News Video Podcast
8 วิธีพรีเซนต์งานให้ปัง สะกดใจผู้ฟังให้อยู่หมัด แม้จะกังวลมากก็ตาม
By Siramol Jiraporn ธันวาคม 7, 2021
share facebook icon share facebook icon hover share x icon share x icon hover share line icon share line icon hover share icon share icon hover

การพรีเซนต์งานไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับใครหลายๆ คน เพราะกลัวการประเมินเชิงลบหรือการตัดสินจากผู้อื่น ทำให้หลายคนเมื่ออยู่ต่อหน้ากลุ่มคนเยอะๆ ถึงขั้นลืมว่าตัวเองจะพูดอะไร ซึ่งยิ่งทำให้เกิดความเครียดมากขึ้น

จากรายงานของ National Social Anxiety Center พบว่า ความหวาดกลัวที่พบบ่อยที่สุดคือ ความกลัวในการพูดในที่สาธารณะ ซึ่งความกลัวนี้มีมากกว่าการกลัวความสูง ความตาย และแมงมุม นอกจากนี้ National Institute of Mental Health ยังได้ประมาณการว่า คนกว่า 73% กลัวการพูดในที่สาธารณะการพรีเซนต์งาน

วันนี้ทาง ConNEXT จึงได้นำวิธีพรีเซนต์งานมาฝากว่า จะพรีเซนต์อย่างไรให้ปัง พร้อมทั้งสะกดใจผู้ฟังให้อยู่หมัดได้ แม้ว่าคุณจะมีความกังวลในใจมากก็ตาม

1. ให้ความสนใจกับสิ่งที่จะเสนอ

ดีกว่าต้องออกไปพูดในที่สาธารณะ แต่ปัญหาจริงๆ ไม่ใช่การกลัวการพูดในที่สาธารณะ แต่เป็นการกลัวว่าตัวเองจะสร้างความอับอายในที่สาธารณะต่างหาก

แต่การพรีเซนต์งานของคุณไม่ใช่การประกวดพูดในที่สาธารณะ ไม่มีใครสามารถมาตัดสินคุณได้ คุณไม่ใช่นักแสดงที่จะต้องขายตัวเอง แต่เป็นคนพรีเซนต์ที่ต้องขายไอเดียของคุณให้กับผู้อื่น

การเปลี่ยนความสนใจที่มีต่อตัวเองไปสู่ความสนใจที่มีต่อแนวคิดที่จะนำเสนอ จะทำให้ลดความวิตกกังวลลงได้ เพราะเป็นการเน้นไปที่ผลงานจริงๆ ไม่ใช่การพรีเซนต์เพื่อให้คนอื่นชื่นชม แต่เพื่อถ่ายทอดประเด็นของตัวเองอย่างมีประสิทธิภาพ

2. รู้ประเด็นของตัวเอง

การรู้ประเด็นของตัวเอง จะทำให้ถ่ายทอดเรื่องราวออกมาได้ดี ซึ่งประเด็นนั้นจะต้องเป็นประเด็นที่เฉพาะเจาะจงและตรงจุด โดยสามารถทำความเข้าใจประเด็นของตัวเองได้จากการถามคำถามตัวเอง 4 คำถามง่ายๆ

  • ไอเดียคืออะไร?

  • จะทำให้ไอเดียนั้นประสบความสำเร็จได้อย่างไร?

  • อะไรคืออิมแพ็คของความสำเร็จนั้น?

  • คนอื่นสามารถเรียนรู้อะไรได้จากความสำเร็จนั้นบ้าง?

คำตอบของคำถาม 4 ข้อดังกล่าว จะเป็นการนำเสนอของคุณที่มาจากข้อมูล เรื่องราว และเหตุผล สามารถนำมาปรับได้ตามความจำเป็น ถ้าเวลาในการนำเสนอคือ 5 นาที ต้องตอบคำถามโดยเฉลี่ยข้อละ 75 วินาที ถ้าคุณสามารถชี้ให้เห็นประเด็นในการนำเสนองานครั้งนี้กับผู้ฟังได้ ก็จะไม่มีใครบ่นได้ว่าคุณพรีเซนต์ไม่ดี

3. ใช้การจดโน้ตย่อให้เป็นประโยชน์

ลองนึกถึงตอนจดลิสต์ในการซื้อของ เป็นการจดโน้ตย่อที่ประโยคอาจไม่สมบูรณ์ แต่เมื่อเห็นก็จำได้ การพรีเซนต์งานก็เหมือนกัน ให้เขียนเกี่ยวกับสิ่งที่ต้องพูด โน้ตอาจจะมีเนื้อหาที่ยาวในตอนแรก แต่ในระหว่างที่ฝึกก็ย่อให้สั้นลงเรื่อยๆ เมื่อเริ่มจำได้แล้ว

ข้อควรจำ: โน้ตย่อของคุณมีไว้เพื่อช่วยให้การพรีเซนต์ดีขึ้น แต่ไม่ใช่สคริปต์ เพราะผู้ฟังต้องการให้คุณถ่ายทอดประเด็นออกมาไม่ใช่การอ่านสคริปต์ให้ฟัง

4. พูดเสียงดังฟังชัด

ไม่ว่าจะเป็นการพรีเซนต์ในห้องหรือออนไลน์ ระดับเสียงมีความสำคัญต่อสร้างจุดเด่นให้กับคุณเอง เพราะนอกจากจะทำให้ได้ยินมากขึ้นแล้ว ยังแสดงถึงอำนาจ ความมั่นใจ ความเป็นผู้นำ และความสามารถของคุณได้

5. เป็นตัวของตัวเอง

ผู้ฟังสามารถตอบสนองต่อพฤติกรรมที่แท้จริงของคุณได้ แม้ว่าสิ่งนั้นจะเป็นข้อผิดพลาดก็ตาม เพราะพวกเขารู้สึกเชื่อมโยงกับพฤติกรรมดังกล่าวในฐานะเพื่อนมนุษย์ ในทางกลับกัน ถ้าพฤติกรรมนั้นเกิดขึ้นจากการประดิษฐ์ขึ้นมาก็จะทำลายการเชื่อมโยงนั้น และลดการมีส่วนร่วมของคุณด้วย 

ดังนั้นหากคุณอยากแสดงท่าทางใดๆ ก็ให้แสดงท่าทางนั้น อยากจามก็สามารถจามได้ ถ้าเป็นคนตลกก็สามารถตลกได้ การแสดงตัวตนที่แท้จริงเป็นการสื่อถึงความเชื่อมั่นในสิ่งที่คุณกำลังนำเสนอได้ดีที่สุด 

6. สลัดสิ่งที่อยู่ในหัวทิ้ง

เสียงในหัวของคุณที่พยายามทำลายความมั่นใจของคุณอยู่ตลอดเวลา โดยการกระซิบว่า “คุณอายตัวเอง” แต่เสียงเหล่านี้ไม่ใช่ความจริง เป็นแค่เสียงของความไม่มั่นใจของคุณเองที่กำลังทำให้คุณรู้สึกประหม่ามากขึ้น

จุดอ่อนอย่างหนึ่งของความคิดในหัวคือ ความมั่นใจ จงตระหนักไว้ว่าเสียงที่อยู่ในหัวของคุณกำลังโกหก และเชื่อในความสามารถตัวเองจนเสียงเหล่านั้นหายไป

7. ฝึกฝนอย่างมีประสิทธิภาพ

การฝึกฝนที่มีประสิทธิภาพคือ การที่ปากกับใจทำงานร่วมกัน ถ้าคุณพูดพึมพำตอนพรีเซนต์เหมือนตอนซ้อมมา การฝึกพรีเซนต์ก็จะไม่มีความหมาย ดังนั้นเมื่อฝึกพรีเซนต์ควรพูดออกมาดังๆ เหมือนตอนพรีเซนต์งานจริง โดยไม่จำเป็นต้องมีผู้ฟัง กล้อง หรือกระจก สิ่งที่คุณต้องมีคือเวลาและพื้นที่ในการพรีเซนต์งานอย่างจัดเต็ม นี่เป็นวิธีเดียวที่จะทำให้รู้ว่าคุณใช้เวลาในการพรีเซนต์งานจริงเท่าไหร่

8. เปลี่ยนความประหม่าให้เป็นความตื่นเต้น

จากการศึกษาพบว่า ปฏิกิริยาระหว่างความประหม่าและความตื่นเต้นมีความใกล้เคียงกัน ดังนั้น การเปลี่ยนจากความประหม่าให้เป็นความตื่นเต้นอาจไม่ใช่เรื่องยาก โดยในช่วงก่อนเวลาพรีเซนต์งาน เมื่อคุณคิดว่าตัวเองรู้สึกประหม่าให้บอกตัวเองว่า "ฉันตื่นเต้น ฉันตื่นเต้น ฉันตื่นเต้น" 

แล้วความตื่นเต้นดีอย่างไร? ความตื่นเต้นจะนำไปสู่การแสดงให้เห็นว่าคุณมีความหลงใหลในประเด็นที่คุณกำลังจะพรีเซนต์ได้นั่นเอง

สิ่งสำคัญที่จะทำให้คุณพรีเซนต์งานได้ดีไม่ใช่การเกิดมาแล้วมีพรสวรรค์ในการเป็นผู้พูดในที่สาธารณะที่ดี แต่เป็นการรู้ประเด็นของตัวเอง และการรู้ว่าอะไรสำคัญ หรือไม่สำคัญต่อตัวคุณเองต่างหากที่เป็นเรื่องสำคัญ

ที่มา: Harvard Business Review, Indeed


No comment

คัดลอก URL

×

https://techsauce.co/talentsauce/life-hacks/how-to-deliver-an-effective-presentation-even-if-youre-nervous