วิธีทำให้สมองโฟกัสกับสิ่งที่อยู่ตรงหน้า โดย Chris Bailey | Techsauce
talentsauce logo
ฝากประวัติ ค้นหา Tech Talent Talent Insights Job Hack Life Hacks News Video Podcast
วิธีทำให้สมองโฟกัสกับสิ่งที่อยู่ตรงหน้า โดย Chris Bailey
By Connext Team กันยายน 20, 2022
share facebook icon share facebook icon hover share x icon share x icon hover share line icon share line icon hover share icon share icon hover

เซสชั่นนี้เป็นคอร์ส TED โดย Chris Bailey ได้บรรยายในงาน TEDxManchester ซึ่ง Chris Bailey เป็นนักเขียนและที่ปรึกษาด้านความสร้างสรรค์ชาวแคนาดา และเป็นผู้เขียน The Productivity Project (2016) และ Hyperfocus (2018) ได้ขึ้นบรรยายในหัวข้อ “How to Get Your Brain to Focus”

Chris Bailey

คุณ Chris ได้สังเกตจากพฤติกรรมส่วนตัวและปัญหาของคนส่วนใหญ่ในสังคมทุกวันนี้ คือ ในชีวิตประจำวันมักจะมีสิ่งที่คอยดึงดูดความสนใจเราอยู่ตลอด อย่างเช่นในตอนเช้า เราอาจเสียเวลาไปกับสิ่งที่หันเหความสนใจ เช่น อาจไถ Scroll หน้าฟีด Facebook อยู่หลายนาที กว่าจะเข้าห้องน้ำในตอนเช้า พอก่อนทำงานกว่าที่เราจะแต่งตัวเสร็จก็อาจมานั่งไล่เช็กอีเมลหรือไม่ก็เปิดคอมพิวเตอร์ต่อ ลามไปจนถึงเปิดทีวีดูข่าว เพียงเพราะเป็นการทำฆ่าเวลาแก้เบื่อหรือทำแล้วรู้สึกเพลิดเพลินใจ กว่าจะรู้ตัวอีกทีเราก็ไปทำงานสายหรือไม่ก็เสียเวลาการทำภารกิจอย่างอื่นไปมากแล้ว เมื่อเป็นอย่างนี้ทำอย่างไรเราถึงจะเลิกพฤติกรรมการเสียสมาธิได้ง่ายอย่างนี้ได้? แล้วเราจะมีวิธีโฟกัสกับสิ่งที่อยู่ตรงหน้าได้อย่างไร? มาร่วมเรียนรู้ไปด้วยกัน

สาเหตุที่คนส่วนใหญ่ชอบหลุดโฟกัส (หรือ สมาธิสั้น)

ก่อนที่เราจะรู้ว่าทำอย่างไรถึงจะสร้างสมาธิให้มากขึ้นได้นั้น เรามาทำความเข้าใจในหลักธรรมชาติของสมองเราก่อน จากผลวิจัยรองรับที่มีอยู่หลายชิ้นนั้นพบว่า เรามักจะโฟกัสต่อเรื่องๆ หนึ่งได้นานไม่เกิน 40 วินาที/เรื่อง ก่อนที่จะเปลี่ยนไปทำอย่างอื่น หรือถ้าเราเปิดการแจ้งเตือนมือถือ หรือแอปฯ อย่างอื่น เช่น Line หรือ Slack ไปด้วย สมาธิของเราก็จะเหลือเพียง 35 วินาที/เรื่อง เท่านั้น

How to Get Your Brain to Focus

ซึ่งหลายคนอาจคิดว่า เทคโนโลยีกำลังทำให้สมองของเราเบี่ยงเบน ถูกดึงดูดไปยังเรื่องอื่น (Distracted) จนกลายเป็นสมาธิสั้นหรือเปล่า? ความจริงแล้ว สมองไม่ได้ถูกหันเหความสนใจ แต่ถ้าวิเคราะห์ตามความเป็นจริง ต้องกล่าวว่า สมองถูกสิ่งเร้ากระตุ้นมากเกินไป (Overstimulated) เพราะแต่เดิมแล้ว สมองเรามักมีแนวโน้มชอบคิดในเรื่องที่น่าตื่นเต้น อย่างเช่น ข่าวสารที่อยู่ตามหน้าฟีดนั่นเอง สาเหตุที่สมองเราชอบเสพข่าวสารและเรื่องราวที่น่าสนุก นั่นเป็นเพราะสมองของเรามีกลไกที่เรียกว่า “Novelty-Bias” ซึ่งร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนชื่อโดพามีน (Dopamine) เมื่อเราทำเรื่องใดๆ ที่น่าตื่นเต้น หรือรู้สึกท้าทายได้สำเร็จ ฮอร์โมนนี้จะทำให้เราพึงพอใจมาก แบบเดียวกันกับเวลาที่เรากินพิซซ่าหน้าเอ็กส์ตร้าชีสอย่างมีความสุข การเสพข่าวดราม่า ไถหน้าฟีดอยู่ตลอดก็สามารถทำให้สมองของเราสร้างฮอร์โมนตัวนี้ได้เช่นกัน ทำให้เราอดใจไม่ไหวจนเสียสมาธิอยู่แต่กับหน้าจอสมาร์ทโฟนอยู่ตลอดนั่นเอง

ถ้าเรามีสมาธิมากขึ้น สิ่งที่เราจะได้คืออะไร

เมื่อมีสมาธิ เราจะมีช่วงที่เรียกว่า Attention Span มากขึ้น ซึ่ง Attention Span คือ ช่วงเวลาที่เราสามารถจดจ่อกับสิ่งที่อยู่ตรงหน้า สิ่งที่เราให้ความสนใจกับเรื่องราวที่เกิดขึ้นรอบตัวของเรา เปรียบเสมือนเป็นพลังที่เราใช้ในการควบคุมสมาธิ ซึ่งสำคัญมากในการทำเรื่องต่างๆ ให้ประสบความสำเร็จ ดังนั้นเมื่อรู้ถึงประโยชน์ของการมีสมาธิที่มากขึ้นแล้ว เรามาลองดูว่ามีเคล็ดลับอย่างไรเราถึงจะเพิ่มสมาธิในการทำสิ่งต่างๆ ได้

How to Get Your Brain to Focus


เคล็ดลับการโฟกัสกับสิ่งที่อยู่ตรงหน้า เมื่อเจอสิ่งเร้าที่วุ่นวาย

เมื่อเรารู้แล้วว่าสมองของเราไม่ได้เสียสมาธิโดยไม่มีสาเหตุ แต่เกิดจากสิ่งเร้าที่อยู่ใกล้ตัวมีมากเกินไป ดังนั้น สิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้ามคือ การ “กำจัด” สิ่งเร้าเหล่านั้นเสีย ด้วยการทำให้ตัวเองอยู่ในสภาวะที่ใกล้เคียงกับภาวะ “เบื่อ” ซึ่งปกติเรามักจะหลีกหนีภาวะนี้อยู่ตลอด แต่คราวนี้เราต้องบังคับตัวเองให้อยู่ในภาวะที่สงบเรียบง่าย เพื่อให้ร่างกายได้พักผ่อนในเวลาที่ควรพักผ่อน ไม่ได้อยู่ในสถานะที่ถูกกระตุ้นอยู่ตลอดเวลา

สิ่งที่เกิดขึ้นต่อมาคือ เราจะมี Attention Span มากขึ้น ร่างกายจะผ่อนคลาย และสมองก็จะไม่เครียด กลายเป็นภาวะที่เราสามารถเปิดรับความคิดสร้างสรรค์ แก้ปัญหาต่างๆ และมีสมาธิได้นานขึ้น จนเราสามารถดึงความสนใจทั้งหมดของเรามายังสิ่งที่อยู่ตรงหน้า คราวนี้ร่างกายจะจดจ่อว่าเมื่อเราทำสิ่งตรงหน้าสำเร็จแล้ว ร่างกายก็จะตอบสนองด้วยการหลังโดพามีนออกมาได้เหมือนกับการที่เราเสพข่าวดราม่าไปเรื่อยๆ ในตอนแรก เมื่อเราบริหารเวลาได้ เราก็จะสามารถสร้างสรรค์ สิ่งที่เป็นประโยชน์ เกิดคุณค่า และ “Productive” ได้มากขึ้น

Key learnings :

1. เมื่อมีงานใดตรงหน้า ให้เริ่มทำทันที

2. ทำให้ร่างกายอยู่ในสภาวะผ่อนคลาย โดยการหลีกเลี่ยงสิ่งเร้า (มือถือ คือตัวการหลัก)   

3. โฟกัสกับสิ่งที่อยู่ตรงหน้า

4. เมื่อทำงานตรงหน้าสำเร็จ เราจะรู้สึกฟิน เมื่อร่างกายหลั่งสารโดพามีนเป็นรางวัล

อ้างอิง : TED

No comment

คัดลอก URL

×

https://techsauce.co/talentsauce/life-hacks/how-to-get-your-brain-to-focus