รู้หรือไม่? การจดโน้ตระหว่างอ่านหนังสือ ช่วยให้เราจดจำสิ่งที่อ่านได้ดียิ่งขึ้น | Techsauce
talentsauce logo
ฝากประวัติ ค้นหา Tech Talent Talent Insights Job Hack Life Hacks News Video Podcast
รู้หรือไม่? การจดโน้ตระหว่างอ่านหนังสือ ช่วยให้เราจดจำสิ่งที่อ่านได้ดียิ่งขึ้น
By Connext Team มิถุนายน 7, 2021
share facebook icon share facebook icon hover share x icon share x icon hover share line icon share line icon hover share icon share icon hover

ใครก็ตามที่รักในการอ่านหนังสือ ไม่ว่าจะเป็นการอ่านเพื่อความเพลิดเพลินหรือศึกษาหาความรู้ มักจะประสบปัญหาอย่างหนึ่งที่เหมือนกัน คือ ‘อ่านไปแล้วจำอะไรไม่ได้’ นั่นอาจเป็นเพราะว่า วิธีการอ่านหนังสือของเรายังไม่มีประสิทธิภาพมากพอที่จะดูดซับสิ่งที่ได้จากการอ่าน

Credit ภาพประกอบ: freepikอย่างไรก็ตาม ใช่ว่าเราจะต้องกลับไปอ่านหนังสือเล่มนั้นอีกรอบ เพื่อทบทวนความจำให้กลับคืนมา หากเราต้องการจดจำเรื่องราวและความรู้จากการอ่านให้ได้ในระยะยาว การจดโน้ตระหว่างอ่าน ก็นับเป็นอีกวิธีที่ช่วยให้เราอ่านหนังสือได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

ทำไม? การจดโน้ตจึงช่วยให้เราอ่านหนังสือได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

จากการศึกษาวิจัยพบว่า นักอ่านที่มักจะจดโน้ตด้วยปากกาและกระดาษ มีแนวโน้มที่จะจดจำรายละเอียดของเรื่องที่อ่านได้ดีกว่าคนที่ไม่ได้จดอะไรเลย เนื่องจากคนเราจะจดจำความรู้สึกของการเขียนตัวหนังสือด้วยมือได้ดีกว่าการอ่านตัวหนังสือลอยๆให้ผ่านตาไป อีกทั้งการสรุปเนื้อหาออกมาเป็นภาษาของตนเอง จะทำให้เราได้คิดวิเคราะห์และเลือกส่วนที่จะจดจำได้ง่ายขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้เราจดจำสิ่งเหล่านั้นได้นานตามไปด้วยเพราะฉะนั้น การจดโน้ต จึงเหมาะสำหรับนักอ่านตัวยงที่มีลิสต์หนังสือมากมาย และต้องการจดจำเรื่องราวในแต่ละเล่มไว้เป็นความรู้และความทรงจำไปอีกนานแสนนาน

ไฮไลท์และเน้นยำในส่วนสำคัญที่ต้องการจดจำ

ก่อนที่เราจะเริ่มจดโน้ตอะไรก็ตาม เราจำเป็นต้องคัดเลือกใจความสำคัญหรือส่วนที่อยากจะจดจำออกมาก่อน เพื่อให้ง่ายต่อการจับใจความและปรับให้เป็นภาษาของตนเอง ซึ่งวิธีที่ง่ายและดีที่สุด คือ การใช้ปากกาไฮไลท์ (ย้ำว่า ห้ามไฮไลท์ลงบนหนังสือที่ไม่ใช่ของเรานะ)

การใช้ปากกาไฮไลท์เน้นในส่วนสำคัญที่ต้องการจดจำจะช่วยให้

  • โฟกัสกับสิ่งที่อ่านได้ง่ายขึ้น และจับใจความสำคัญได้สะดวกเมื่อกลับมาอ่านอีกครั้ง

  • คิดวิเคราะห์เกี่ยวกับไอเดียและสิ่งที่ผู้เขียนต้องการจะสื่อสารในภาพรวมได้ดีขึ้น

  • รู้ได้ทันทีว่า เราอ่านหน้านี้ไปแล้วหรือยัง เมื่อกลับมาอ่านอีกครั้ง  

จดโน้ตย่อฉบับของเราไว้สำหรับกลับมาอ่านอีกครั้ง

แม้ว่าการใช้ปากกาไฮไลท์ จะเป็นวิธีที่เร็วที่สุดสำหรับการจับใจความสำคัญของเรื่องที่อ่าน แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่า มันจะทดแทนการจดโน้ตสำหรับกลับมาอ่านอีกครั้งไปได้

ครั้งแรกๆที่เริ่มจดโน้ตระหว่างที่อ่านหนังสือ ไม่มีใครจดโน้ตได้สมบูรณ์แบบนักหรอก บางครั้งเราอาจจะต้องเผชิญกับสภาวะที่จดโน้ตไปสักระยะ แล้วหลงทางไปจากแก่นเรื่องของหนังสือ หรือสับสนว่าส่วนไหนเป็นความคิดเห็นของผู้เขียนและส่วนไหนเป็นของเรา อย่างไรก็ตาม ทักษะในการจดโน้ต ก็เหมือนทักษะทั่วไปในชีวิตที่ต้องอาศัยการฝึกฝนและประสบการณ์ หากเราฝึกจดโน้ตระหว่างอ่านหนังสืออย่างสม่ำเสมอ ท้ายที่สุด การจดโน้ตสำหรับกลับมาอ่านอีกครั้งก็จะไม่ใช่เรื่องยากสำหรับเราอีกต่อไป

องค์ประกอบสำคัญ 2 ประการ ที่จำเป็นต้องมีในโน้ตย่อฉบับของเรา

  • เนื้อเรื่องของหนังสือที่อ่าน มักจะเป็นสรุปใจความสำคัญ และวลีที่ประทับใจจากหนังสือ 

  • ความคิดเห็นที่มีต่อเนื้อเรื่อง อาจจะเป็นความรู้สึกหรือประทับใจ หรือแม้แต่คำถามที่มีต่อเนื้อเรื่อง


ยิ่งกว่านั้น รูปแบบและสไตล์ในการจดโน้ตก็สำคัญเช่นกัน โดยแบ่งออกเป็น 3 รูปแบบหลักๆ ดังนี้

  • Linear คือ การจดโน้ตเรียงลำดับเหมือนการเขียนหนังสือทั่วไป โดยใช้ Headings และ Sub-headings เป็น Bullet Point เพื่อให้ง่ายต่อความเข้าใจ

  • Diagrammatic คือ การจดโน้ตที่มีลักษณะคล้าย Flowcharts เพื่อเชื่อมโยงเนื้อหาส่วนต่างๆเข้าด้วยกัน

  • Patterns คือ การจดโน้ตที่มีลักษณะเป็น Mind Map ซึ่งเหมาะสำหรับการย่อเนื้อหาจำนวนมาก ให้สามารถจบได้ภายในกระดาษแผ่นเดียว 

โดยรูปแบบและสไตล์ในการจดโน้ต นับเป็นความถนัดและความชอบส่วนบุคคล บางคนอาจชอบการจดโน้ตแบบ Linear เพราะ ไม่ชอบการจดจำสิ่งต่างๆด้วยภาพ ขณะที่อีกหลายคนก็ชอบการจดโน้ตแบบ Diagrammatic และ Patterns มากกว่า เพราะฉะนั้น เลือกรูปแบบและสไตล์ในการเขียนแบบไหนก็ได้ ที่เหมาะกับเราและช่วยให้เราจดจำสิ่งที่อ่านได้ดีที่สุด

ลองอ่านโน้ตของตัวเองอีกครั้ง เพื่อเช็คว่าโอเคแล้วหรือยัง

นักอ่านหลายคนอาจจะคิดว่า เมื่อเราจดโน้ตเสร็จเรียบร้อยแล้วทุกอย่างเป็นอันจบสิ้น อย่างไรก็ตาม เมื่อเรากลับมาอ่านโน้ตของเราทั้งหมดอีกครั้ง เราอาจจะพบข้อผิดพลาดบางประการ เช่น เนื้อเรื่องตอนต้นเรื่องและท้ายเรื่องไม่สัมพันธ์กัน เพราะ เขียนคนละช่วงเวลากัน และอื่นๆ ที่อาจทำให้โน้ตย่อของเราไม่สมบูรณ์ ดังนั้น การอ่านอ่านโน้ตย่อดูทั้งหมดอีกครั้ง หลังจากผ่านไปวันสองวัน จึงเป็นขั้นตอนสำคัญที่จะช่วยให้โน้ตย่อของเราสมบูรณ์แบบยิ่งขึ้น

สิ่งที่จะช่วยให้ขั้นตอน Review โน้ตย่อของตัวเองดีขึ้น ได้แก่

  • ใช้ปากกาไฮไลท์สีสว่างๆ เน้นส่วนที่สำคัญในโน้ตย่ออีกที เพื่อให้ง่ายต่อการอ่านโดยภาพรวม

  • หากมีปากกาไฮไลท์หลายสี ลองกำหนดให้แต่ละ theme หรือหัวข้อที่อ่านใช้สีที่ต่างกัน และกำหนดให้เป็นระบบ เพื่อให้ง่ายต่อการแยกเนื้อหาแต่ละส่วนออกจากกัน

  • โน้ตส่วนที่ต้องการแก้ไขทิ้งไว้ พร้อมทั้งบอกเหตุผลว่าทำไมต้องแก้จุดนี้

แก้ไขและจัดเรียงโน้ตของเราให้สมบูรณ์พร้อมอ่าน

หลังจาก Review โน้ตย่อฉบับของเราเรียบร้อยแล้ว ก็แก้ไขจุดที่เราต้องการแก้ไขให้เรียบร้อย จากนั้นจึงจัดเรียงโน้ตให้เป็นระเบียบและน่าอ่าน หากมีโน้ตจากหนังสือมากมายที่เราอ่าน เราควรจะจัดเก็บให้เรียบร้อย อาจจะนำไปใส่แฟ้ม หรือเย็บรวมเป็นเล่มเดียวก็ได้ เพื่อความสะดวกต่อการหยิบอ่านในครั้งถัดไป 

อ้างอิง: skillyouneed

สำหรับผู้อ่านท่านใดที่สนใจบทความเกี่ยวกับชีวิตการทำงาน ทักษะที่จำเป็นในอนาคต สามารถลงทะเบียนเพื่อรับอัพเดทข้อมูลข่าวสาร และบทความในอนาคต จาก Techsauce Thailand ได้ ที่นี่ 

No comment

คัดลอก URL

×

https://techsauce.co/talentsauce/life-hacks/taking-a-note-can-help-you-read-a-book-more-effectively