จากหนังสือ ‘Loneliness’ เขียนโดยศาสตราจารย์ John Cacioppo จากมหาวิทยาลัยชิคาโก ได้พูดถึงการใช้ชีวิตอยู่คนเดียวว่ามีผลเสียมากกว่ามลพิษทางอากาศหรือโรคเบาหวานเสียอีก เช่นเดียวกันกับคน Gen Z หรือคนที่เกิดระหว่างปี 1997 - 2012 ที่เติบโตท่ามกลางเทคโนโลยีมากมาย แต่ต้องใช้เวลาส่วนใหญ่ในวัยเด็กเผชิญกับความเหงาอย่างสุดซึ้ง
ผลสำรวจจาก American National Family Life เผยว่า มีอย่างน้อย 56% ของคน Gen Z ที่รู้สึกโดดเดี่ยวประมาณ 1 - 2 ครั้งต่อเดือน ในขณะที่วัย Baby boomers มีเพียง 24% เท่านั้นที่รู้สึกโดดเดี่ยว
สาเหตุที่ทำให้ชาว Gen Z รู้สึกโดดเดี่ยว
สถานการณ์โรคระบาด
เนื่องจากสถานการณ์ COVID-19 ทำให้กิจกรรมหลายอย่างต้องถูกหยุดไป โดยเฉพาะกิจกรรมที่ทำร่วมกันกับผู้อื่นและกิจกรรมนอกบ้าน จึงทำให้กิจกรรมที่ทำคนเดียว เช่น การเล่น Social media เข้ามาแทนที่
ครอบครัว
สาเหตุอาจมาจากการมีครอบครัวแบบเลี้ยงเดี่ยว เพราะครอบครัวเลี้ยงเดี่ยวมีผู้ปกครองเพียงคนเดียว และผู้ปกครองคนนั้นต้องใช้เวลาส่วนใหญ่ออกไปทำงานหาเงิน เป็นเหตุผลหลักที่ทำให้ครอบครัวเกิดการแตกแยกอย่างต่อเนื่องในสังคม นอกจากนี้ คนที่อยู่ในครอบครัวแบบเลี้ยงเดี่ยวหรือไม่มีผู้ปกครอง จากการสำรวจพบว่าเด็กอเมริกันกว่า 52% ที่ถูกเลี้ยงดูโดยพ่อหรือแม่เลี้ยงเดี่ยวประสบกับความรู้สึกเหงา เมื่อเทียบกับเด็กเพียง 33% ของเด็กที่อาศัยอยู่ในครอบครัวที่มีทั้งพ่อและแม่
แล้วเราจะหยุดความโดดเดี่ยวนี้ได้อย่างไร
วิธีที่จะช่วยให้คน Gen Z หลุดจากห้วงความโดดเดี่ยวมีหลายวิธี เช่น
- จัดหากิจกรรมที่ทำให้ผู้คนได้ออกมามีปฏิสัมพันธ์ในเชิงบวก เพื่อลดการแยกตัวของคนในวัยนี้
- พัฒนาทักษะการสื่อสารและเรียนรู้การทำงานร่วมกับคนทุกช่วงวัย เพราะคนในวัยนี้ส่วนใหญ่มักจะนั่งอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์มากกว่าการมองหาความสัมพันธ์ในชีวิตจริง ดังนั้นการส่งเสริมปฏิสัมพันธ์ในชีวิตจริงจะช่วยให้พวกเขาคลายความเหงาได้
อีกหนึ่งวิธีที่เราสามารถช่วยได้คือการเอื้อมมือออกไปหาคนที่กำลังรู้สึกโดดเดี่ยว โดยการรับฟังและคอยอยู่เคียงข้าง เพราะนั่นอาจช่วยให้คนคนนั้นรู้สึกดีขึ้นและหลุดออกจากห้วงของความเหงานั้นได้
เขียนโดย Wanicha Pumkeaw
อ้างอิง Dailysignal