"ไม่ว่าวันนี้จะได้เรียนรู้อะไร ผมอยากให้คุณเอาทุกสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปลองใช้ และไม่ต้องกลัวที่จะพลาด ความรู้นั้นสร้างโอกาส และโอกาสก็จะสร้างทางเลือก"
สิทธิพงศ์ ศิริมาศเกษม CEO and Founder at RGB72 and CREATIVE TALK ได้กล่าวในงาน AP Thailand presents CREATIVE TALK CONFERENCE 2024 เซสชัน Creative Generation
7 - 8 มิถุนายน 2567 - CREATIVE TALK ผู้จัดงาน AP Thailand presents CREATIVE TALK CONFERENCE 2024 งานมหกรรมความรู้แห่งปี ที่จัดโดย CREATIVE TALK ณ ไบเทค บางนา (Bangkok International Trade & Exhibition Centre: BITEC) โดยในปีนี้มาภายใต้ธีมของ “CREATIVE GENERATION” ที่จะพาทุกคนมาปลดล็อกทักษะความคิดสร้างสรรค์ไปด้วยกัน ทั้งในแง่ของการทำธุรกิจ, การพัฒนาตนเอง และการสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ เพื่อสร้าง Creative Economy ให้เกิดขึ้นในประเทศไทย
CREATIVE TALK CONFERENCE จัดมาอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 11 ปี จำนวน 14 ครั้ง และมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยในปีนี้ AP Thailand presents CREATIVE TALK CONFERENCE 2024 งานทอล์ก 4 เวที 12 Workshop, 48 Session มี Speaker จากทั้งในและต่างประเทศกว่า 98 ท่าน มีผู้เข้าร่วมงานมากกว่า 5,000 คน , มีผู้พิการมาร่วมงานกว่า 150 ท่าน, Media Partner มากถึง 128 สื่อ
รวมไปถึงเรื่องของ Sustainability เสื้อ Volunteer ภายในงานผลิตโดย moreloop ที่ทำการ upcycle เสื้อผ้าให้กลับมามีชีวิตใหม่ โดยเราได้ช่วยลดการปล่อย Carbon Footprint ลงไปถึง - 3,196.58 kg เทียบเท่ากับการขับรถยนต์กว่า 26,000 กิโลเมตร และเรายังเป็น Conference งานแรกและงานเดียวที่ใช้ภาษามือทุก Sessions
ภายในงานได้มีการพูดถึง 5 แกนสำคัญได้แก่ Creativity, Entrepreneur, Marketing, People, Innovation รวมถึงประเด็นที่ผู้คนทั่วโลกให้ความสำคัญอย่าง ESG เพราะทุกเรื่องที่กล่าวมาล้วนแล้วแต่มีความสำคัญต่อสังคม, ต่อธุรกิจ, และคนทำงานทุกคน อะไรบ้างที่ต้องเตรียมพร้อมหลังจากนี้ ครึ่งปีหลังต่อจากนี้จะเป็นอย่างไร แล้วทำไม ‘ความคิดสร้างสรรค์’ จะกลายเป็นเรื่องที่จำเป็น และสำคัญต่อทุกอาชีพ ต่อทุกธุรกิจหลังจากนี้
CREATIVE GENERATION จะเกิดขึ้นได้ในกลุ่มคนทำงาน ต้องประกอบด้วย 3 เรื่องนี้
ใน ‘เซสชัน Creative Generation’ โดยคุณ สิทธิพงศ์ ศิริมาศเกษม CEO and Founder at RGB72 and CREATIVE TALK หนึ่งในผู้จัดงานร่วมกับทาง CREATIVE TALK ได้พูดถึงธีมเรื่องของ CREATIVE GENERATION ปัจจุบันเรามีเครื่องมือ มี AI เยอะเต็มไปหมด แต่ถ้าเราไม่มีไอเดียที่จะไปสั่ง ไปบอก สุดท้ายเครื่องมือเหล่านี้ช่วยอะไรเราไม่ได้อยู่ดี สิ่งหนึ่งที่แยกระหว่างมนุษย์ กับ AI นั่นคือ ‘ความคิดสร้างสรรค์’
หนึ่งใน Topic สำคัญที่เวลาคุณเก่งไปบรรยายให้กับองค์กร เรื่องที่คนในองค์กรให้ความสำคัญคือ ความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) ซึ่งการที่ทุกคนจะเป็น CREATIVE GENERATION ได้ต้องประกอบไปด้วย 3 เรื่องนี้
- Create Engagement เราต้องทำให้คนในองค์กรมีส่วนร่วม คิดโปรเจกต์ทำงานร่วมกัน รวมถึงต้องสร้างพื้นที่ปลอดภัย ทำให้คนในองค์กรกล้าพูด กล้าเสนอไอเดีย
- Open for Diversity ต้องเปิดรับความแตกต่าง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของอายุ ไม่ใช่ว่างานนี้ต้องผู้ใหญ่เท่านั้น งานนี้เฉพาะเด็กเท่านั้น หรือไม่ควรตีกรอบงานเฉพาะคนกลุ่มไหน เพราะยิ่ง Diversity มากเท่าไหร่ คนก็ยิ่งมี Creativity มากเท่านั้น
- Embracing the Dreamer ให้ความสำคัญกับคนที่ช่างฝัน เพราะคนที่มีไอเดียกับการที่เป็นคนช่างฝัน อาจจะสร้างสิ่งใหม่ให้เกิดในองค์กรได้ เวลาคนช่างฝันเสนออะไรใหม่ ๆ ในห้องประชุมมักจะมีคนอยู่ 2 กลุ่ม คนแรกคือกลุ่มขวาง แต่อีกกลุ่มคือ กลุ่มซัพพอร์ต ว่ากันว่าคนที่กล้าที่จะขัดขวาง ยังใช้ความกล้าน้อยกว่าคนที่กล้าจะซัพพอร์ต เพราะคนที่กล้าซัพพอร์ต มีความกล้าที่จะเติมพลังให้คนช่างฝัน แม้จะยังไม่เห็นเป็นรูปธรรมก็ตาม
และท้ายที่สุดนี้ 3 เรื่องที่กล่าวมาจะเกิดขึ้นไม่ได้เลย ถ้าเราไม่มีสิ่งที่เรียกว่า Knowledge (ความรู้), เพราะความรู้จะทำให้เกิด Engagement, Diversity, Dreamer และความรู้จะนำไปสู่ Opportunities (โอกาส) สุดท้ายคือ Choices (ทางเลือก) เพราะถ้าโอกาสมาเยอะ เราก็จะเลือกสิ่งที่ดีสุดได้ เสมือนคุณอยู่ในลำธารตื้น ๆ เพราะโอกาสก็เหมือนการจับปลา ถ้าไม่มีความรู้ก็จับปลาไม่ได้ เมื่อคุณมีความรู้คุณก็จะจับมันได้ แต่ถ้าคุณมีความรู้มากขึ้นกว่าเดิม คุณก็จะเลือกได้ว่าจะเลือกจับปลาตัวไหน
เรื่องไหนไม่ชัดเจน นั่นคือหน้าที่ของ ‘ผู้นำ’
อีกหนึ่งเซสชันที่น่าสนใจมาก ๆ กับ ‘เซสชัน แอบฟัง CEO คุยกัน เคล็ดลับบริหารงานของ CEO ที่ไม่เคยบอกใคร’ โดยคุณอนุพงษ์ อัศวโภคิน, CEO AP Thailand และคุณรวิศ หาญอุตสาหะ, CEO Srichand & Mission To The Moon Media ได้พูดถึงการบริหารของผู้นำที่มีความแตกต่างกัน
คุณอนุพงษ์ คือตัวแทนของผู้บริหารที่ดูแลองค์กรขนาดใหญ่ ดังนั้นสไตล์การบริหารจึงค่อนข้างให้ความสำคัญกับ ‘Culture และการตัดสินใจในเรื่องใหญ่ ๆ’ ซึ่งเป็นตัวชี้วัดสำคัญสำหรับองค์กร ทางด้านคุณรวิศ คือตัวแทนของผู้บริหารในองค์กรขนาดกลาง สไตล์การบริหารจึงเป็นในรูปแบบ ‘โค้ชฟุตบอล’ เรามีหน้าที่เป็นโค้ช คอยไกด์ ถ้าลูกทีมต้องการอะไรเพิ่มเราก็จะคอยช่วย รวมถึงในช่วงเวลาวิกฤต หน้าที่สำคัญของผู้นำ เมื่อไหร่เรื่องไหนไม่ชัดเจน เรื่องไหนมีวิกฤต นั่นคือหน้าที่ของผู้นำที่ต้องไปทำงานมากขึ้น
หลายคนอาจสงสัยว่า แล้วคนเป็นผู้นำ หรือผู้บริหารระดับนี้ เขามีภาวะหมดไฟ (Burnout) ได้ไหม ทั้งสองท่านก็ได้ให้คำตอบไว้อย่างน่าสนใจในฐานะมนุษย์คนทำงาน มันเป็นเรื่องธรรมชาติของชีวิต ก่อนอื่นเราต้องเข้าใจก่อนว่า Burnout มาจากที่ร่างกายเราไม่พร้อม นอนไม่พอ เพราะถ้ายิ่งเรานอนพอ IQ จะดี และ EQ จะดี การทำงานเยอะ ไม่ได้ทำให้ Burnout แต่ถ้าเราไม่ดูแลร่างกายและจิตใจให้ดียังไงก็ Burnout ได้ ดังนั้นการดูแลร่างกายและจิตใจสำคัญมาก เพราะสุขภาพที่ไปแล้วมันเอากลับมาไม่ได้
ในเรื่องของ ‘การตัดสินใจ’ ของผู้นำเองก็มีผลอย่างมากต่อสุขภาพร่างกายและจิตใจ ในหลาย ๆ ครั้ง ความสำเร็จขององค์กรขึ้นอยู่กับการควบคุมอารมณ์ของ CEO มากกว่าการบริหารงาน เวลาเราโกรธ เราอารมณ์เสีย ไม่ได้ช่วยให้งานดีได้ และมักจะส่งผลเสียต่อองค์กร
หนึ่งในเคสที่น่าสนใจจากบริษัท AP Thailand คุณอนุพงษ์ได้กล่าวไว้ว่า เราไม่ค่อยได้ตัดสินใจแล้ว เหตุเพราะ เราต้องให้คนที่ใกล้ลูกค้าที่สุด และคนที่รู้จักลูกค้าดีที่สุดตัดสินใจแทน เพราะความเป็นอิสระไม่มีทางมีได้ ถ้าไม่มีขอบเขต หน้าที่เราคือกำหนดขอบเขต แล้วให้คนที่รู้จักตลาดดีกว่าเราตัดสินใจแทน และเป็นหนึ่งในความท้าทายให้กับพนักงานของ AP Thailand
ถ้าสิ่งที่คุณทำสำเร็จ คุณจะได้รับสิ่งนั้น แต่ถ้ามันผิดพลาด คุณก็ต้องรับผิดเช่นกัน เพื่อฝึกให้เกิดการตัดสินใจเล็ก ๆ ในองค์กร การตัดสินใจของเราคือ Worksmart เน้น Outcome แต่คุณสามารถไปหาวิธีการจัดการให้สำเร็จได้
นอกจากนี้ยังมีเนื้อหาสุดเข้มข้นจัดเต็มตลอดทั้งวัน ไม่ว่าจะเป็น
- Half Year Trends: Creativity, Innovation, People, Marketing, Business and Economy
- โฆษณา 15 วินาทีนี่มันทำยากนะครับ What I have Discovered in 15 Seconds โดยคุณวิชัย มาตกุล
- Essential skills for the future of Thailand โดยคุณพิธา ลิ้มเจริญรัตน์
- Money - Life Balance เหนื่อยวันนี้ สบายวันไหน โดยคุณจักรพงษ์ เมษพันธุ์
- Questioning the Future: Why Questioning Is the Most Important Skill in the Age of AI โดยคุณนครินทร์ วนกิจไพบูลย์
ภายในงานเรายังได้รับการสนับสนุนจาก Sponsored กว่า 69 แบรนด์ อาทิ AP Thailand, ททท. , DataRockie, MelodyPlus และมีการจัดกิจกรรมแจกรางวัล และกิจกรรมอื่น ๆ จากบูธกว่า 31 บูธภายในงาน
สำหรับผู้ที่มาร่วมงาน AP Thailand presents CREATIVE TALK CONFERENCE 2024 สามารถรับชมคลิปวิดีโอย้อนหลังได้ทุกเซสชัน ได้ตั้งแต่วันนี้ จนถึงวันที่ 9 ธันวาคม 2567 (ระยะเวลารับชม 6 เดือน)
ใครที่ยังไม่มีบัตร หรือซื้อบัตรไม่ทันสามารถซื้อบัตรรับชมย้อนหลังได้ในราคา 1,490 บาท: https://bit.ly/4aPf235
น่าสนใจมากครับ