สิ้นเดือนเหมือนสิ้นใจ มนุษย์เงินเดือน ทำอย่างไรให้มีเงินเก็บ | Techsauce
talentsauce logo
ฝากประวัติ ค้นหา Tech Talent Talent Insights Job Hack Life Hacks News Video Podcast
สิ้นเดือนเหมือนสิ้นใจ มนุษย์เงินเดือน ทำอย่างไรให้มีเงินเก็บ
By Suchanan Songkhor พฤศจิกายน 27, 2023
share facebook icon share facebook icon hover share x icon share x icon hover share line icon share line icon hover share icon share icon hover

ปัญหาเงินเดือนเข้าปุ้ปออกปั้ป ส่งผลให้มนุษย์เงินเดือนหลายคนประสบปัญหาสิ้นเดือนเหมือนสิ้นใจ หรือเงินเดือนหมดไวตั้งแต่ 3 วันแรก!!!  

โดยเฉพาะผู้ที่ทำงานและรับเงินเดือนเป็นประจำ หรือน้อง ๆ จบใหม่ที่เพิ่งเริ่มเข้าสู่โลกของการทำงาน อาจต้องมีภาระค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น เช่น ค่าห้อง ค่าเดินทาง ค่ากิน หรือค่าช็อปปิ้งต่าง ๆ ทำให้ใครหลายคนตั้งตารอคอยว่าเมื่อไหร่เงินเดือนจะเข้าบัญชี 

สิ้นเดือนเหมือนสิ้นใจ มนุษย์เงินเดือน ทำอย่างไรให้มีเงินเก็บ

ซึ่งสถานการณ์ “เดือนชนเดือน” มักเกิดจากการบริหารจัดการเงินเดือนที่ผิดพลาด เพราะฉะนั้นก่อนที่ปัญหาเรื่องเงินจะกลายเป็นปัญหาเรื้องรัง เราควรตัดไฟตั้งแต่ต้นลม ด้วยการจัดการหนี้ให้หมดก่อน

  1. เขียนรายการหนี้ของเราออกมา เพื่อให้เห็นภาพรวมของหนี้ทั้งหมด ทั้งค่าห้อง ค่าโทรศัพท์ ค่าบัตรเครดิต ค่าหนี้บ้าน หนี้รถ รวมไปถึงหนี้ที่เรายืมมาจากคนรอบข้าง
  2. จัดอันดับการใช้หนี้ว่าควรต้องจ่ายอันไหนก่อน-หลัง แนะนำว่าให้รีบเคลียหนี้ที่มียอดคงเหลือน้อยที่สุดและดอกเบี้ยมากที่สุดก่อน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยในชีวิตของเพื่อน ๆ ด้วยนะ
  3. หลังจากที่เคลียร์หนี้ทั้งหมดแล้ว ก็ควรเก็บออมเงินไว้ และในเดือนต่อ ๆ ไปเวลามีรายรับเข้ามา อยากให้แยกเงินออมกับเงินในส่วนที่เป็นค่าใช้จ่ายออกจากกัน เพื่อป้องกันไม่ให้เรากลับไปเป็นหนี้ได้อีกในอนาคต ซึ่งหนึ่งในเทคนิคการออมเงินที่อยากแนะนำมาก ๆ คือ “ทฤษฎี 6 Jar ”

6 Jars หรือ ทฤษฎีบริหารเงินด้วยการแบ่งเงิน ถูกคิดค้นโดยที ฮาร์ฟ เอคเคอร์ (T. Harv Eker) นักธุรกิจมหาเศรษฐีที่เริ่มต้นชีวิตจากการเป็นคนธรรมดา และผู้เขียนหนังสือ“ถอดรหัสลับ สมองเงินล้าน” (Secrets of the Millionaire Mind) เขาได้แชร์วิธีการบริหารเงินด้วยการแบ่งสัดส่วนเงินเดือนที่ได้ตามวัตถุประสงค์ต่าง ๆ ออกเป็น 6 ประปุก ดังนี้ 

กระปุกที่ 1 ใช้ในชีวิตประจำวัน (55%)

55% แรกของทฤษฎี 6 Jars จะถูกกันไว้ใช้สำหรับค่าใช้จ่ายที่จำเป็น เช่น ห้องห้อง ค่าเดินทาง ค่ากิน ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าโทรศัพท์ รวมไปถึงภาระหนี้สิ้นที่ต้องจ่ายต่อเดือน 

กระปุกที่ 2 อิสระภาพทางการเงิน (10%)

กระปุกนี้มีความสำคัญและต้องจัดการให้ดีที่สุด เพราะเป็นเงินที่เราจะต้องเก็บไว้เพื่ออนาคต เช่น เงินซื้อรถ เงินซื้อบ้าน ซื้อประกัน เงินลงทุนต่าง ๆ หรือเงินที่เก็บไว้เพื่อเป็นทุนสำรองฉุกเฉิน 

กระปุกที่ 3 ให้รางวัลตัวเอง (10%)

10% สำหรับกระปุกที่ 2 จะเป็นเงินไว้สำหรับการช็อปปิ้ง ดูหนัง กินอาหารดี ๆ เพื่อเติมความสุขให้กับตัวเองหลักจากที่ทำงานหนัก 

กระปุกที่ 4 พัฒนาตัวเอง (10%)

กระปุกนี้สำหรับการลงทุนให้ตัวเองในปัจจุบันและอนาคต ซึ่งเราจะกันเงินส่วนนี้ไปกับการลงทุนเพื่อเรียนในสิ่งที่ตัวเองสนใจ หรือต้องการเพื่อเพิ่มสกิลให้กับตัวเอง 

กระปุกที่ 5 เงินออมระยะยาว (10%)

กระปุกนี้เป็นเงินลงทุนสำหรับ “อนาคตระยะยาว” แนะนำว่าให้หยอดกระปุกนี้บ่อย ๆ เพราะเป็นกระปุกแห่งความมั่งคั่ง หรือเป็นเงินที่เก็บไว้สำรองยามฉุกเฉิน ยิ่งหยอดเงินในกระปุกนี้มากเท่าไหร่ ยิ่งทำให้เข้าใกล้ความเป็นอยู่ที่ดี และใช้ชีวิตได้อย่างสบายในวัยเกษียณมากขึ้น

กระปุกที่ 6 แบ่งปัน (5%)

กระปุกนี้ ฟังดูแล้วอาจจะดูเหมือนว่ามีไปทำไม หรืออาจรู้สึกเสียดายว่าเราควรเอา 5% นี้ไปทำอย่างอื่นดีไหม แต่การบริจากเพียงเล็กน้อยนี้ เราอาจเอาไว้ช่วยเหลือสังคม สำหรับคนที่ต้องการความช่วยเหลือ หรือแบ่งไว้สำหรับซื้อของขวัญให้คนพิเศษ เป็นกระปุกที่จะช่วยเติมความรู้สึกดี ๆ ให้กับตัวเองและผู้อื่น

แอปช่วยวางแผนเรื่องการเงิน 

นอกจากทฤษฎี 6 Jars ที่ช่วยบริหารเงินแล้ว ในปัจจุบันนี้มีธนาคารหลาย ๆ ที่ได้พัฒนาแอปพลิเคชั่นเพื่อให้ทุกคนสามารถบริหารเงินได้ง่ายขึ้น อย่าง MAKE by KBank และ Kept by Krungsri

MAKE by KBank

แอปนี้เหมาะสำหรับคนที่ต้องการวางแผนการเงินในอนาคต หรือคนที่เก็บเงินไม่อยู่ โดยสามารถโอนเงินจ่ายทุกอย่างและทุกค่าใช้จ่ายจะถูกบันทึกไว้หมด แบบไม่มีตกหล่น โดยมี 5 ฟีเจอร์สำคัญ 

  • Cloud Pocket เป็นฟีเจอร์ที่ช่วยแยกกระเป๋าเงินให้เป็นสัดส่วน การแยกกระเป๋าแบบนี้จะช่วยลดความผิดพลาดทางการเงิน เพราะจะสามารถระบุได้ว่าเราใช้เงินไปกับอะไรบ้างแล้ว
  • Expense Summary ฟีเจอร์ที่ช่วยสรุปยอดค่าใช้จ่ายของแต่ละเดือน เป็น 6 หมวด คือ ค่าอาหาร, ค่าเดินทาง, ความบันเทิง, ค่าช้อปปิ้ง, การชำระบิล, และหมวดหมู่อื่น ๆ และยังเช็กได้อีกว่าเราใช้เงินเกินงบหรือไม่ 
  • Pop Pay ฟีเจอร์นี้จะช่วยให้คุณสามารถโอนเงินได้โดยไม่ต้องใช้เลขบัญชี หรือ QR Code เพียงแค่ใช้ธนาคารกสิกรเหมือนกัน และเปิดบลูทูธ เพียงเท่านี้เราก็สามารถโอนเงินได้ 
  • Chat Banking ทุกครั้งที่มีการโอนเงินเข้าหรือออก ฟีเจอร์นี้จะช่วยบันทึกไว้ในรูปแบบแชทที่จะแยกตามบัญชีที่เราทำธุรกรรมด้วย ช่วยบันทึกรายรับ-รายจ่ายในรูปแบบแชท
  • Money Request ฟีเจอร์ที่ช่วยให้คุณทวงเงินเพื่อนได้โดยไม่รู้สึกผิด เพราะฟีเจอร์นี้เพียงเราส่ง Money Request หรือรายการเรียกเก็บไป เพียงเท่านี้เราก็จะสามารถติดตามธุรกรรมต่าง ๆ ได้ และไม่ต้องกระทบความสัมพันธ์กับเพื่อนด้วย 

Kept by Krungsri

แอปออมเงินสำหรับคนรุ่นใหม่ ที่มาพร้อม 3 บัญชีเงินฝากออนไลน์ในรูปแบบ 1 กระเป๋า 2 กระปุก โดยบัญชีแรก Kept  เป็นบัญชีที่ใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน ซึ่งจุดเด่นของบัญชีนี้คือ สามารถตั้งได้ว่าอยากมีเงินอยู่ในบัญชีนี้เท่าไหร่ ถ้าเกิดว่ามีเงินเกินกว่าที่เรากำหนดไว้ เงินในบัญชีนี้จะถูกโอนไปเก็บอยู่ในอีกบัญชี Grow โดยอัตโนมัติ และบัญชี Grow เป็นบัญชีสำหรับการออมเงิน เหมือนเป็นกระปุกเก็บเงินก้อน สุดท้ายบัญชี Fun จะช่วยให้การออมเงินเป็นเรื่องสนุก เป็นกระปุกเก็บเล็กผสมน้อยได้ทุกวัน โดยบัญชีนี้จะไม่ได้ให้เราเก็บเงินแบบเฉย ๆ แต่บัญชี Fun จะเป็นวิธีการแอบเก็บเงิน โดยจะให้เราเก็บเงินด้วยฟีเจอร์ “แอบเก็บ” ถ้าแอบเก็บครบ 10 ครั้งเมื่อไหร่ก็จะได้รับดอกเบี้ยพิเศษในเดือนถัดไปทันที ซึ่งจะช่วยให้เรามีเงินเก็บได้ไม่รู้ตัว

สุดท้ายจะเห็นว่าปัญหาการเงินของคนรุ่นใหม่ที่พบบ่อยมากที่สุดปัญหาหนึ่ง คือ ทำงานมาสักพักแต่ไม่สามารถเก็บเงินได้ วิธีการเก็บเงินด้วยเทคนิค 6 Jasr อาจเป็นตัวช่วยที่จัดการการเงินของคุณให้เป็นระเบียบ และเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพทางการเงินให้ดียิ่งขึ้น แอป MAKE by KBank และ Kept by Krungsri ก็เป็นอีกตัวช่วยที่ดีที่จะช่วยให้คุณสามารถเก็บเงินได้ผ่านฟีเจอร์ต่าง ๆ ที่ช่วยอำนวยความสะดวก และมากไปกว่าการมีแอปธนาคารจะช่วยให้คุณมองเห็นรายละเอียดการเงินของตัวเองทุกอย่างผ่านแอปของธนาคาร 

ติดตามความรู้และทริคดี ๆ เกี่ยวกับการเงินได้ที่ ConNEXT เพื่อนคู่คิดทางการเงินที่จะมาร่วมแบ่งปันความรู้และเติบโตในด้านการเงินไปพร้อมกัน แล้วมาเรียนรู้ไปด้วยกันนะ!

No comment

คัดลอก URL

×

https://techsauce.co/talentsauce/personal-finance/employee-on-a-salary-how-to-save-money