อยากถอยบัตรเครดิตใบแรก แต่เพิ่งเริ่มทำงาน ทำได้ไหม? อะไรบ้างที่ต้องระวัง! | Techsauce
talentsauce logo
ฝากประวัติ ค้นหา Tech Talent Talent Insights Job Hack Life Hacks News Video Podcast
อยากถอยบัตรเครดิตใบแรก แต่เพิ่งเริ่มทำงาน ทำได้ไหม? อะไรบ้างที่ต้องระวัง!
By Chanapa Siricheevakesorn พฤศจิกายน 22, 2023
share facebook icon share facebook icon hover share x icon share x icon hover share line icon share line icon hover share icon share icon hover

แน่นอนว่าเมื่อเรียนจบและเริ่มทำงาน ก้าวแรกของการวางแผนทางการเงินนั้นย่อมสำคัญไม่แพ้กับการวางแผน Career path เพราะคำว่ามนุษย์เงินเดือนย่อมพ่วงมาด้วยค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เราต้องจัดการ ทั้งค่าที่พัก ค่าเดินทาง ค่ากิน ค่าจิปาถะ ซึ่งทำให้หลายคนต้องเผชิญกับเงินที่มีสภาพช็อต ๆ

ทำให้บัตรเครดิตกลายมาเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกทางการเงินสำหรับคนที่อยากใช้จ่ายอย่างคล่องตัว วางแผนการเงินให้ตอบโจทย์กับไลฟ์สไตล์ รวมถึงสร้างเครดิตเพื่ออนาคต แต่ก็มีคนรุ่นใหม่ไม่น้อยที่กังวลว่าการมีบัตรเครดิตคือ การดึงเงินอนาคตมาใช้ เป็นกับดักการเงินและเป็นการสร้างหนี้!

อยากถอยบัตรเครดิตใบแรก แต่เพิ่งเริ่มทำงาน ทำได้ไหม? อะไรบ้างที่ต้องระวัง!

2 ด้านของการมีบัตรเครดิตใบแรก

‘บัตรเครดิต’ สิ่งมหัศจรรย์ที่ รูด ปื้ดด ๆ แล้วสามารถเสกให้ใครหลาย ๆ คนใช้ชีวิตได้ง่ายขึ้น ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์การเงินของคนรุ่นใหม่ แถมพ่วงมาด้วยเครดิตด้านการเงินและสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ อีกมากมาย ตอบรับการก้าวเข้าสู่ยุค Cashless Society สังคมไร้เงินสดได้แบบปังสุด ๆ แต่ก็ยังมีเด็กจบใหม่รวมถึงใครหลาย ๆ คนเพลิดเพลินกับการมีอำนาจเงินในมือจนอาจเผลอพอกหนี้สินโดยไม่ตั้งใจ 

ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยเผยว่ากว่า 69% ของบัญชีหนี้ครัวเรือนไทยทั้งหมดเป็นสินเชื่อส่วนบุคคลและบัตรเครดิต ส่วนใหญ่คือ หนี้เพื่อการกิน-ใช้ ที่มีระยะผ่อนสั้นแต่ดอกเบี้ยสูง โดยบริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด หรือ “เครดิตบูโร” ได้ออกมาเผยว่า คนรุ่นใหม่ก่อหนี้พุ่ง 200% ซึ่งเป็นผลมาจาก “Digital Lending” หรือ การเข้าถึงแหล่งเงินกู้ยืมที่ง่ายขึ้น

แล้วทำไมเราควรจะต้องมีบัตรเครดิต?

การตั้งคำถามเพื่อชั่งความสมเหตุสมผลและความแตกต่างของสิทธิประโยชน์บัตรแต่ละใบเป็นวิธีที่ช่วยให้เราสามารถตัดสินใจให้ได้บัตรที่เหมาะกับเราที่สุด 

  • เงินเดือนขั้นต่ำสมัครแล้วต้องเสียค่าธรรมเนียมแรกเข้า ค่าธรรมเนียมรายปี และค่าธรรมเนียมอื่นๆเท่าไหร่ แล้วคุ้มค่ากับไลฟ์สไตล์การใช้จ่ายหรือไม่?
  • อัตราดอกเบี้ยและขั้นตอนการชำระเงินเป็นอย่างไร?

เพราะการมีบัตรเครดิตเปรียบเสมือนการสร้างเครดิตให้ตัวเองเพื่อง่ายต่อการทำธุรกรรมทางการเงินในอนาคตได้ เช่น ใช้เป็นหลักฐานในการประกอบพิจารณากู้รถ กู้บ้าน และการกู้อื่น ๆ พร้อมทั้งมีสิทธิประโยชน์ ซึ่งสามารถแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายลงไปได้ เช่น การใช้บัตรเพื่อสะสมคะแนนหรือได้รับ Cash Back แลกรับสิทธิพิเศษต่าง ๆ 

ยัยบัตรเครดิตตัวร้ายกับคนรุ่นใหม่ตัวแสบ

ท่ามกลางบัตรเครดิตที่เต็มไปอำนาจทางการเงิน สิทธิพิเศษที่ล่อตาล่อใจและค่าธรรมเนียมก็สมเหตุสมผลมากมาย เราจะมีวิธีอย่างไร? ให้ไม่ใช้บัตรเครดิตแบบเกินตัว

1. เปลี่ยนความคิดว่า ‘บัตรเครดิต ไม่ใช่ เงินในอนาคต’

ความคิดเรื่องบัตรเครดิตว่าเป็นเงินในอนาคตคือ กับดักทางการเงิน เพราะเวลาเรายืมเงินตัวเองมักจะมีความยืดหยุ่น ทำให้เกิดความชะล่าใจและหลายคนก็ผลัดวันกระกันพรุ่งจนพอกเป็นหนี้สิน เพราะคิดว่าจะจ่ายคืนเมื่อไหร่ก็ได้

2. มีวินัยและความรับผิดชอบ ก่อนตัดสินใจ ‘รูด’ เงิน 

สิ่งแรกที่ต้องนึกถึงทุกครั้งก่อนรูดจ่ายสินค้าหรือบริการต่าง ๆ ก็คือต้องมั่นใจว่าเราสามารถชำระเงินเมื่อครบรอบบิลได้ เพราะทุกการรูดทุกครั้งมักจะมาพร้อมดอกเบี้ย ทั้งนี้สิ่งที่ขาดไม่ได้คือการมีวินัยและความรับผิดชอบโดยมีการวางแผนการชำระเงินคืนแบบระยะยาว

3.เตรียมความพร้อมก่อนมีบัตรเครดิตใบแรก

เมื่อพร้อมที่จะมีบัตรเครดิตใบแรกแล้ว สิ่งที่ต้องเตรียมคือ การศึกษาเงื่อนไขของบัตรเครดิตเพราะแต่ละที่จะมีเงื่อนไขที่แตกต่างกันออกไป 

นอกจากนี้ การเตรียมเอกสารทำบัตรเครดิตก็สำคัญไม่แพ้กัน ซึ่งโดยทั่วไปจะใช้เอกสาร เช่น

  • บัตรประชาชนและสำเนาบัตรประชาชน
  • สำเนาทะเบียนบ้าน
  • สลิปเงินเดือนหรือหนังสือรับรองรายได้เดือนล่าสุด
  • สำเนา รายการบัญชีธนาคารย้อนหลัง 1-6 เดือนขึ้นไป

4.เลือกบัตรที่ตรงกับไลฟ์สไลต์การใช้จ่ายของตัวเอง

สายช็อปออนไลน์ สายสะสมแต้ม สายกินบุฟเฟต์ การมีบัตรเครดิตควรต้องตอบรับกับไลฟ์สไตล์การใช้จ่ายที่หลากหลาย เช่น

สายช็อปออนไลน์ 

บัตรเครดิต Krungsri NOW Platinum 

  • Cashback 5% สำหรับสายชอบช็อปออนไลน์ ไลฟ์สไตล์ดิจิทัล
  • รับคะแนนทุกการใช้จ่าย ทุก 25 บาทรับ 1 พอยต์
  • ผ่อน 0% 10 เดือน กับสินค้าและบริการที่ร่วมรายการ
  • ใช้งานง่าย สะดวกแสกนจ่ายผ่านแอป u choose
  • ไม่มีค่าธรรมเนียมแรกเข้า และฟรีค่าธรรมเนียมรายปี
  • อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม Krungsri Now

บัตรเครดิต KBank Shopee

  • รับ 1% Shopee coins (สูงสุด 50 Coins/ เดือน)
  • แลก 1,000 แต้ม K Point รับโค้ดส่วนลดที่ Shopee สูงสุด 150 บาท
  • รับ K Point สูงสุด X10 เมื่อใช้จ่ายผ่านบัตรฯ ที่ Shopee
  • รับโค้ดส่งฟรีทุกเดือน
  • ไม่มีค่าธรรมเนียมแรกเข้า และฟรีค่าธรรมเนียมรายปี เมื่อใช้ครบ 12 ครั้ง/ปี 
  • อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม KBank Shopee

สายไลฟ์สไตล์ 

บัตรเครดิต UOB TMRW

  • Cashback คืน 1% ในทุกการใช้จ่าย
  • Cashback คืน 3% (สูงสุด 2,000 บาทต่อเดือน) ในหมวดที่เลือก 3 หมวด ซึ่งสามารถเปลี่ยนหมวดได้ทุกเดือน
  • ผ่อนจ่าย 0% กับร้านค้าที่ร่วมรายการ ยอดใช้จ่ายขั้นต่ำ 5,000 บาท
  • อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม UOB TMRW

สายเดินทาง BTS-MRT

บัตรเครดิต Aeon Rabbit Platinum 

  • Cashback 5% (สูงสุด 50 บาท) เมื่อเติมเงินและใช้จ่าย ผ่านแรบบิท Auto Top-up และ Rabbit Line Pay
  • Cashback 1%  (สูงสุด 50 บาท) เมื่อเติมบัตรรถไฟฟ้า MRT ที่สถานีสายสีม่วง (สถานีคลองบางไผ่ -เตาปูน)
  • Cashback 3% (สูงสุด 1,000 บาท) เมื่อใช้จ่ายออนไลน์ขั้นต่ำ 1,000 บาทขึ้นไป
  • ใช้จ่ายทุกๆ 20 บาท จะได้รับคะแนนสะสม ( AEON Happy Point ) 1 คะแนน
  • อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม Aeon Rabbit Platinum

หรือถ้าใครยังกล้า ๆ กลัว ๆ กับการสมัครบัตรเครดิตใบแรก อาจลองก้าวแรกจากการใช้บัตรเสริมของคุณพ่อคุณแม่ก่อนเพื่อดูว่าเรามีความสามารถในการจัดการบริหารเงินมากพอหรือไม่

สุดท้ายนี้ ก่อนเพื่อน ๆ จะเปิดบัตรเครดิตหรือรูดบัตร ควรคำนึงทุกครั้งว่าเราใช้บัตรนี้เพื่อจุดประสงค์อะไร และอย่าลืมสร้างวินัยในการชำระเงินคืน เพื่อรักษาเครดิตทางการเงินในอนาคต เพียงเท่านี้บัตรเครดิตใบแรกก็จะกลายเป็น ‘ตัวเลือกทางการเงิน’ ที่สะดวกสบาย เต็มไปด้วยสิทธิพิเศษตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ได้อย่างคล่องตัว 

เพราะการวางแผนทางการเงินอย่างชาญฉลาดก็เปรียบเสมือนการติดกระดุมเม็ดแรก ถ้าเราติดได้อย่างถูกต้องก็จะทำให้เราไปสู่ความมั่นคงทางการเงินในระยะยาวได้

ติดตามความรู้และทริคดี ๆ เกี่ยวกับการเงินได้ที่ ConNEXT เพื่อนคู่คิดทางการเงินที่จะมาร่วมแบ่งปันความรู้และเติบโตในด้านการเงินไปพร้อมกัน แล้วมาเรียนรู้ไปด้วยกันนะ!


อ้างอิง : manpowerthailand, bot

No comment

คัดลอก URL

×

https://techsauce.co/talentsauce/personal-finance/get-your-first-credit-card-what-should-you-avoid