NFT Crypto เป็นอาชีพประจำได้ไหม ถ้าอยากหารายได้จากวงการบล็อกเชน จะต้องทำยังไง กับ คุณหนูเนย สิทธิพล พรรณวิไล | Techsauce
talentsauce logo
ฝากประวัติ ค้นหา Tech Talent Talent Insights Job Hack Life Hacks News Video Podcast
NFT Crypto เป็นอาชีพประจำได้ไหม ถ้าอยากหารายได้จากวงการบล็อกเชน จะต้องทำยังไง กับ คุณหนูเนย สิทธิพล พรรณวิไล
By Connext Team กรกฎาคม 27, 2022
share facebook icon share facebook icon hover share x icon share x icon hover share line icon share line icon hover share icon share icon hover

ในช่วงปีสองปีที่ผ่านมาจะเห็นได้ว่าตลาดคริปโตและ NFT คึกคักอย่างมาก ทำให้หลายๆ คนเลือกที่จะลาออกจากงานมาหารายได้จากสิ่งเหล่านี้ แต่ในช่วงปัจจุบันจะเห็นได้ว่าตลาดคริปโตได้เข้าสู่ภาวะตลาดหมี ทำให้หลายคนเป็นกังวลว่า NFT Crypto จะยังสามารถทำเป็นอาชีพประจำได้ไหม ควรจะวางแผนเข้ามาและหารายได้ในตลาดนี้อย่างไรดี 

เพื่อที่จะไม่ประมาทในการเข้ามาในตลาดนี้ คุณหนูเนย สิทธิพล พรรณวิไล เจ้าของบล็อก nuuneoi.com ได้มาแบ่งปันความรู้และนำเสนอมุมมองที่หลายๆ คนเข้าใจผิดในวงการนี้ ในงาน Tech ConNEXT Job Fair 2022

สำหรับใครที่พลาดเซสชั่นของคุณหนูเนย ลองมาค้นหากันดูว่า เราจะสามารถทำอะไรและหารายได้จากไหนในสภาวะตลาดแบบนี้ได้บ้าง

NFT Crypto

จุดเปลี่ยนที่ทำให้คริปโต NFT กลายเป็นที่นิยม และมีปัจจัยอะไรบ้าง

คุณหนูเนยกล่าวว่า อยากจะแบ่งปันมุมมองในส่วนพื้นฐาน เพราะหลายคนคิดว่าคริปโตเป็นอนาคตของโลกเนื่องจากมีเงินไหลเวียนเข้ามา ซึ่งความจริงแล้วมันเป็นเรื่องของโลกทุนนิยม เพราะการที่เงินไหลเข้ามาในตลาดคริปโตหลายคนเลยมองว่าเป็นอีกช่องทางที่ลงทุนได้

ซึ่งเมื่อมีเงินเข้ามาก็จะมีนวัตกรรมทางการเงินหรือการหลอกลวงทางการเงินเกิดขึ้นในตลาดนั้นเสมอ ส่งผลให้เกิดผลิตภัณฑ์ต่างๆ ขึ้น เพราะพอมีเงินสะพัดมาคนก็ต้องการเอาเงินเข้ากระเป๋าตัวเอง โดยสามารถแบ่งกลไกออกเป็น 2 รูปแบบ 

1. Real business ที่ทำกำไร คือการมีเงินสร้างธุรกิจ มีเงินฉีดเข้ามาในระบบ สร้างกำไร เอากำไรมาแบ่งบริษัท ปันผลผู้ถือหุ้น ซึ่งจะเป็นการที่คนโตไปพร้อมกับบริษัท

2. Money game คือ ไม่มีธุรกิจใดๆ ไม่มีเงินฉีดในระบบ เป็นเพียงเงินที่โยนเข้ามาแล้วหาวิธีการเปลี่ยนมือ มีคนรวยคนจน หรือเรียกแบบง่ายว่าคือ คาสิโน

ซึ่งคุณหนูเนยกล่าวเสริมว่า ในตลาดเงินเราอยู่ในทั้งสองระบบ สิ่งสำคัญต้องรู้ว่ามันแตกต่างกันอย่างไร เพราะถ้าหากเราไม่รู้ก็เท่ากับเราแพ้ให้ตลาดแล้ว 

จะแยกระหว่าง Real businese กับ Money game ได้อย่างไร

คุณหนูเนยได้กล่าวถึงความแตกต่างว่า Real business เป็นการสร้าง ผลิตภัณฑ์บางอย่าง เป็นการที่คนเอาเงินลงไปโดยไม่ได้หวังอะไรกลับมา

แต่ในส่วนของ Money game คืออะไรที่ไม่ทำกำไรจากบริการใดๆ แต่กลับมองเงินที่คนลงทุนไป เป็นการเอาเงินลงไปโดยที่หวังอะไรกลับมา

บล็อกเชนจะเข้ามาเปลี่ยนแปลงอนาคตหรือไม่?

คุณหนูเนยกล่าวว่า ส่วนตัวเชื่อว่าเปลี่ยนได้ แต่ไม่ใช่ทั้งหมด เพราะในมุมมองของนักพัฒนามันมีการตามเทรนด์มากเกินไป ซึ่งเกินครึ่งของผลิตภัณฑ์ไม่จำเป็นต้องใช้บล็อกเชน เพราะบล็อกเชนไม่ได้เกิดมาเพื่อทุกอย่างเกิดมาเพื่อบางอย่าง 

และกล่าวเสริมเรื่องของกราฟ โดยในกราฟจะมีสองแบบ ได้แก่แบบ Fundametal คือมูลค่าของคริปโตที่นำไปใช้งานได้จริง และอีกแบบคือ Bubble ซึ่งเกิดจากการตื่นตระหนกของคน

โปรเจกต์ที่หลายๆ ธุรกิจพยายามนำมาบล็อกเชนมาปรับใช้นั้นเป็นฟองสบู่รึเปล่า 

เป็นฟองสบู่เพราะว่าเมื่อเงินไหลเข้ามาฟองสบู่จะเกิด  แต่พอไม่มีเงินไหลเข้ามาฟองสบู่ก็จะแตก ก็จะกลับไปสู่ Fundamental ฟองสบู่ทั้งเรื่องการเงิน และเรื่องผลิตภัณฑ์คือ มีคนคิดแต่ไม่มีคนทำ และที่ทำมันก็ไม่ได้เวิร์กเพราะว่ามันไม่จำเป็นต้องใช้บล็อกเชน

การมาของ Social media ยุคก่อนๆ ได้ให้กำเนิดอาชีพต่างๆ มากมาย แล้วการมาของ WEB 3.0 จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือกำเนิดอาชีพต่างๆ  อะไรบ้าง

คุณหนูเนยได้ให้คำนิยามความแตกต่างของแต่ละ Web ว่า

Web 1 เป็นสิ่งที่แค่เฉพาะคนทำเว็บฟีดข้อมูลมา

Web 2 คือสิ่งที่ผู้ใช้สามารถสร้างคอนเทนต์เข้าไปได้

Web 3 จะเหมือนกับ Web 2.0 แต่ข้อมูลจะมีความเป็น Decentralize ไม่กระจุกตัวเหมือนกับ Web 2.0

ซึ่งในยุคของ Web  2.0 เกิดผลิตภัณฑ์ และอาชีพต่างๆ  ขึ้นมามากมาย แต่ใน Web  3.0 ยังไม่มีผลิตภัณฑ์ ที่เยอะเหมือน Web  2.0 สิ่งที่หลายคนทำเป็น Bubble เพราะสิ่งที่เป็น ผลิตภัณฑ์ จริงมีอยู่แค่เล็กน้อย ส่วนตัวคุณหนูเนยมองว่าจะไม่ได้สร้างอาชีพมากมายเหมือนของ Web  2.0 และอาชีพส่วนใหญ่ที่จะเกิดและมีความต้องการมากคืออาชีพฝั่ง Developer

ซึ่งในปัจจุบันมีวิธีและช่องทางในการหารายได้จากตลาดนี้อยู่หลายรูปแบบ ได้แก่ 

1. Investor : ช่องทางนี้ต้องมีการศึกษาหาข้อมูลให้ละเอียดถี่ถ้วนก่อน ถ้าไม่มีความรู้ลงทุนตามคนอื่นจะกลายมาเป็นรูปแบบของการพนันแทน

2. Day trade : มีบุคคลอยู่ 2 ประเภทคือ  มีคนได้กำไร และคนที่ขาดทุน ซึ่งต้องระมัดระวังเพราะมีความผันผวนของตลาดสูง

3. Play-to-earn : มองว่า 99% คือ Ponzi  (แชร์ลูกโซ่) เพราะโมเดลชัดเจนมาก คือ การที่คนลงเงินไปเพื่อที่จะต้องการเงินกลับมา ซึ่งตัวเกมไม่มีรายได้ และตอนนี้ได้หายไปเพราะไม่มีคนเอาเงินมาเล่นในสภาพตลาดแบบนี้

ซึ่งคุณหนูเนยได้กล่าวเสริมว่าสิ่งที่หายไปในช่วงตลาดหมีแบบนี้คือ แชร์ลูกโซ่ และสิ่งที่เหลือรอดอยู่คือผลิตภัณฑ์

4. XXX-to-earn : ไม่ต่างจากการ Play-to-earn เพราะต้องลงเงินไปก่อน ถึงจะได้เงินกลับคืนมา

5. Start Crypto Project : มีลักษณะเหมือนกับ Startups ที่มีผลิตภัณฑ์ออกมาเป็น Token ที่เจ้าของโปรเจกต์นำมาขาย (Raised Fund) แล้วนำเงินมาหมุนพัฒนาโปรเจกต์เพื่อหารายได้กลับคืนมาและพยายามคืนผ่าน Token ตรงนั้น และอีกแบบจะเป็นการเริ่มจาก Run Project ก่อน แล้ว Raised Fund ตอนหลังเพื่อขยายโปรเจกต์ แต่ส่วนใหญ่ที่เจอจะเป็น Raised Fund แล้ว Run away (Rugpull)

6. Invest And Start NFT Project : จริงๆ NFT ไม่ใช่แค่ Digital Art เพราะการลงทุน NFT เป็นการลงทุนเพื่อให้ได้ครอบครองสิทธิ์บางอย่าง โดยคุณหนูเนยมองว่าในอนาคต NFT จะเป็นหนึ่งในแกนหลักในการขับเคลื่อนคริปโตเคอเรนซี เพราะ NFT ได้สิทธิ์ในการเข้าถึงบางอย่างที่ Token ไม่สามารถทำได้ ทั้งนี้ในการทำโปรเจกต์  NFT ต้องมองให้มากกว่า Digital art มองให้ไปถึง Business มากกว่านั้น 

โดยคุณหนูเนยกล่าวเสริมว่า  อีกหนึ่งช่องทางรายได้ที่เจ้าของโปรเจกต์ จะได้คือ Royalty Fee ซึ่งก็คือส่วนแบ่งจากการขายบน Secondary Market ที่เจ้าของโปรเจกต์ สามารถกำหนดเองได้ กลับเข้ากระเป๋า Developer ตรงนี้เป็นช่องทางหนึ่งที่ทำให้คนทำโปรเจกต์ NFT เยอะ แต่มีสิ่งที่ต้องระวังคือการปั่นของราคา

7. ทำงานกับบริษัทคริปโตฯ : เป็นช่องทางการหารายได้ที่มั่นคงและยั่งยืน โดยทำงานเพื่อได้รับคริปโตหรือสิ่งอื่นเป็นการตอบแทน แต่เพราะช่วงตลาดหมีทำให้เกิดการ Lay off พนักงานเป็นจำนวนมาก ดังนั้นในการสมัครงานต้องพิจารณาบริษัทให้ดี

8. Outsource : เป็นการรับงานทำจากบริษัทหรือโปรเจกต์ต่างๆ ซึ่งเป็นช่องทางการหารายได้ที่ดีและมีรายได้ที่เยอะ  แต่ต้องแลกมาด้วยความรับผิดชอบที่สูงและต้องมีทีมงานที่เก่ง 

9. White Hacker : คือแฮคเกอร์ที่เรารู้จักกัน แต่ White Hacker คือการหาช่องโหว่ให้กับโปรเจกต์ต่างๆ  แล้วรับเงินเป็นค่าตอบแทน ซึ่งรายได้เฉลี่ยประมาณหลักแสนบาท 

สุดท้ายในภาวะตลาดหมีคุณหนูเนยแนะนำถึงวิธีการเลือกบริษัทคริปโตในการทำงานด้วยว่าให้มองที่ Business model เป็นหลัก  เพราะจะทำให้มองเห็นถึงความมั่นคงของบริษัท และที่สำคัญคือต้องแยก Real Business กับ Money Game ให้ออก

No comment

คัดลอก URL

×

https://techsauce.co/talentsauce/talent-insights/can-you-work-full-time-in-nft-crypto