“อยู่กันแบบครอบครัว” วัฒนธรรมที่ไม่ควรมีในสังคมการทำงานจริงหรือ ? | Techsauce
talentsauce logo
ฝากประวัติ ค้นหา Tech Talent Talent Insights Job Hack Life Hacks News Video Podcast
“อยู่กันแบบครอบครัว” วัฒนธรรมที่ไม่ควรมีในสังคมการทำงานจริงหรือ ?
By Connext Team พฤษภาคม 22, 2023
share facebook icon share facebook icon hover share x icon share x icon hover share line icon share line icon hover share icon share icon hover

“อยู่กันแบบครอบครัว” มักได้ยินหรือเห็นอยู่บ่อยๆ ดูเหมือนเป็นคำที่ความหมายดี แสดงถึงความเป็นกันเองในองค์กร แต่ลึกๆ แล้วมันอาจปลูกฝังความรู้สึกแบบผิดๆ ของการเป็นเจ้านาย ทำให้พนักงานซึมซับความ Toxic ของคำว่า “ครอบครัว” ได้ 

แน่นอนว่าเราใช้เวลาส่วนใหญ่ไปกับการทำงาน ความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนร่วมงานก็มีหลายรูปแบบ คนเหล่านั้นช่วยให้เราโตขึ้นได้ ให้การซัพพอร์ตและมิตรภาพกับเรา ฉะนั้นไม่แปลกเลยที่สังคมแบบนั้นจะเป็นกระจกสะท้อนการใช้ชีวิตของเรา

“อยู่กันแบบครอบครัว” วัฒนธรรมที่ไม่ควรมีในสังคมการทำงาน

“สังคมที่อยู่กันแบบครอบครัว” ต้องเคารพกัน เข้าอกเข้าใจ และใส่ใจกัน มีความเป็นส่วนหนึ่งในองค์กร สิ่งเหล่านี้อาจฟังดูสบายใจและเป็นกันเองในการทำงาน แต่รู้หรือไม่? หากคุณเจอองค์กรแบบนี้ คุณควรวิ่งหนีออกจากสังคมนี้ให้ไว

“อยู่กันแบบครอบครัว” มีผลเสียอย่างไร

โดยปกติแล้วนายจ้างจะชอบคน Productive และมีความสามารถสูงอยู่แล้ว ฉะนั้นการปลูกฝังวัฒนธรรม “อยู่กันแบบครอบครัว” เข้าไปในช่วงแรกๆ คงไม่เลวร้ายอะไร แต่ถ้าเป็นการทำเพื่อเชื่อมความสัมพันธ์จากความคาดหวังของค์กรที่มากขึ้น นั่นอาจทำให้พนักงานไม่ค่อยยอมรับกับความสำเร็จที่มาจากการทำงานได้

1. ไม่มี Work-life balance

          คำว่า “ครอบครัว” ในสังคมการทำงานส่วนใหญ่พนักงานจะไม่ค่อยพูดเรื่องส่วนตัวต่อกันเท่าไหร่ แต่พอมีคำว่า “ครอบครัว” บทสนทนาจะสนิทสนมขึ้น มีความเป็นพี่น้องหรือพ่อแม่มากกว่าเพื่อนร่วมงาน แม้ว่าความสัมพันธ์แบบนี้จะลดช่องว่างระหว่างหัวหน้าและลูกน้อง แต่ในมุมของพนักงานจะมีความรู้สึกกลัวเกิดขึ้นเวลาที่ต้องตอบคำถามหรือพูดคุยกับหัวหน้า ซึ่งจะเห็นได้ชัดเวลาทำงานแบบ Hybrid จากผลการศึกษาบอกว่า เพราะหัวหน้า “ไม่เห็น” จริงๆ ว่าพนักงานทำงานจริงหรือไม่ ไม่เชื่อว่ากำลังทำงานอยู่ หรือทำอะไรไปบ้างในวันนั้นๆ และเมื่อถามออกไปก็ดูเป็นการถามเรื่องส่วนตัว ทำให้พนักงานอาจรู้สึกอึดอัด

2. จงรักภักดีกับองค์กรมากไป ทำให้เป็นปัญหา

           เมื่อคนใน “ครอบครัว” ต้องการความช่วยเหลือ คุณจะรีบยื่นมือเข้าไปช่วยทันทีโดยไม่ต้องคิด แต่เมื่ออยู่ในรูปแบบของการทำงาน ความภักดีนั้นกลับถูกเข้าใจผิดเป็นความคาดหวังว่า คุณต้องทำงานให้สำเร็จลุล่วง 

           จากหลายๆ งานวิจัยชี้ให้เห็นว่า คนที่จงรักภักดีต่อองค์กรมีแนวโน้มทำผิดจรรยาบรรณเพื่อรักษาตำแหน่งงานของตนเอง รวมทั้งยังถูกกดขี่จากเจ้านายอีกด้วย เช่น การทำงานล่วงเวลาแบบไร้เหตุผล ได้รับโปรเจ็กต์หรืองานที่ไม่ตรงกับหน้าที่ของตนเอง เมื่ออยู่ในสภาพแวดล้อมแบบนี้ต่อไปเรื่อยๆอาจเกิดอาการ Burnout และตั้งคำถามว่าเราทำอะไรผิดพลาดไป

3. ใช้อำนาจกดขี่ทำให้พนักงานถูกเอาเปรียบ

           สังคมทำงาน “อยู่กันแบบครอบครัว” หัวหน้าหรือคนที่ตำแหน่งสูงกว่าจะเหมือนพ่อแม่ ส่วนพนักงานทั่วไปจะเหมือนลูก ฉะนั้นจะเหมือนการที่ลูกต้องเดินตามพ่อแม่ ทำให้พนักงานรู้สึกไม่มีอำนาจในการต่อรองใด ๆ ได้แต่ทำตามคำสั่งไปวัน ๆ และเท่ากับว่าหัวหน้าจะไม่เชิญหรือไล่คนใน “ครอบครัว” ออก รวมถึงพนักงานก็จะไม่พัฒนาศักยภาพของตนเอง 

           จากความสัมพันธ์ชั่วคราวแบบหัวหน้าและลูกน้อง กลายเป็นความสัมพันธ์ลึกซึ้งแบบคนในครอบครัว ทำให้บางครั้งคุณมองข้ามการกระทำที่ผิดของเพื่อนร่วมงานไป 

แล้วองค์กรควรมีสังคมแบบไหนดี?

วัฒนธรรมการทำงานที่ดี ควรหลีกเลี่ยง “การอยู่แบบครอบครัว” แต่ควรเน้นไปที่การเสริมสร้างคุณค่าความสามารถของพนักงาน ฉะนั้นสังคมขององค์กรควรจะ

1. กำหนดประสิทธิภาพการทำงานให้สูงและทำตามวัตถุประสงค์

          องค์กรควรชัดเจนกับพนักงานว่า ต้องการอะไรจากพวกเขาเพื่อให้บรรลุเป้าหมายเดียวกัน และควรมีเส้นแบ่งชัดเจนระหว่างชีวิตส่วนตัวและการทำงาน ทั้งนี้การมีเป้าหมายที่ชัดเจนจะทำให้พนักงานซื่อสัตย์กับองค์กรและมีความผูกพันกับเพื่อนร่วมงานไปเองโดยธรรมชาติ เพราะทุกคนมีความเข้าใจร่วมกัน พายเรือไปในทางเดียวกัน ไม่ใช่การบังคับให้ลงเรือลำเดียวกัน

2. กำหนดขอบเขตเวลางานให้ชัด

          ตรวจสอบให้แน่ใจว่าพนักงานเข้าใจสิ่งที่ต้องทำในเวลางานและอะไรบ้างที่อยู่นอกเหนือเวลางาน ควรสนับสนุนความพยายามของพนักงาน ชี้แจงให้ชัดเจนเกี่ยวกับวันหยุด รวมไปถึงวันลาเพื่อให้พวกเขารู้สึกสบายใจและไม่กังวลว่าการลางานเป็นเรื่องผิด

3. ยอมรับธรรมชาติของความสัมพันธ์ในสังคมการทำงาน

          เราต้องยอมรับความจริงว่าความสัมพันธ์ในที่ทำงานก็เหมือนความสัมพันธ์เชิงธุรกิจ และเราไม่ได้อยู่กับองค์กรใดองค์กรหนึ่งไปตลอด บางครั้งองค์กรเติบโตกว่าพนักงาน หรือพนักงานมีทักษะที่เหมาะสมกับที่ใหม่มากกว่า การลาออกจึงเป็นเรื่องปกติ แต่หากมีความสัมพันธ์แบบครอบครัว จะยิ่งไปผูกมัดความสัมพันธ์มากเกินไป อาจทำให้ทั้งองค์กรและพนักงานไม่เติบโต

แนวปฏิบัติดังกล่าวจะทำให้องค์กรไม่ต้อง “อยู่แบบครอบครัว” อีกต่อไป เพราะมีขอบเขตที่ชัดเจนในความสัมพันธ์ของคนในองค์กรเพื่อพัฒนาองค์กรไปสู่เป้าหมายเดียวกัน

หากคุณอยากรู้ว่า corporate culture แบบไหน ที่ "ใช่ " และ "ตอบโจทย์ชีวิตการทำงาน" ของคุณ สามารถมาหาคำตอบได้จากเหล่ากูรูชั้นนำระดับประเทศได้ในงาน “Tech ConNEXT Job Fair 2023 :Designing Your Life ดีไซน์อนาคตด้วยตัวคุณ” วันที่ 7-9 กรกฎาคมนี้ ณ True Digital Park West ชั้น 1-3 | BTS ปุณณวิถี 

รีบลงทะเบียนก่อนที่นั่งเต็ม : https://bit.ly/3MeFFnN


เขียนโดย : Rutchadaporn 

อ้างอิง: hbr

No comment

คัดลอก URL

×

https://techsauce.co/talentsauce/talent-insights/family-living-is-a-culture-that-should-not-exist-in-a-working-society