Lifelong Learning กับองค์กรใหญ่อย่างธนาคารกรุงเทพ (Bangkok Bank)ในยุคดิจิทัล | Techsauce
talentsauce logo
ฝากประวัติ ค้นหา Tech Talent Talent Insights Job Hack Life Hacks News Video Podcast
Lifelong Learning กับองค์กรใหญ่อย่างธนาคารกรุงเทพ (Bangkok Bank)ในยุคดิจิทัล
By Connext Team สิงหาคม 5, 2021
share facebook icon share facebook icon hover share x icon share x icon hover share line icon share line icon hover share icon share icon hover

ในยุคดิจิทัล ‘Lifelong Learing’ หรือแนวคิดในการเรียนรู้ตลอดชีวิตเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องมี หากต้องการจะอยู่รอดในยุคที่เทคโนโลยีสามารถเข้ามาทำงานแทนได้ในหลายหน้าที่ การเตรียมตัว และปรับทักษะของพนักงานให้พร้อมต่อการเปลี่ยนแปลง รวมถึงการดึงดูด และบ่มเพาะ Talent จึงเป็นสิ่งสำคัญต่อการทำงานขององค์กรในอนาคต แน่นอนว่าการเปลี่ยนแปลงนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย โดยเฉพาะในองค์กรใหญ่

Techsauce ได้มีโอกาสนั่งพูดคุยกับ คุณวริทธิ์ ธโนปจัย  AVP (Assistant Vice President) ฝ่ายนวัตกรรมของธนาคารกรุงเทพ (Bangkok Bank) มาดูกันว่า ทางธนาคาร ประสบความสำเร็จ ในการสร้างสภาพแวดล้อมการเรียนรู้ ไปจนถึงสนับสนุนให้พนักงาน ได้พัฒนาตัวเองอยู่ตลอดเวลา อีกทั้งยังสามารถรักษา Talent ไว้ในองค์กรได้อย่างยาวนานได้อย่างไร 

Lifelong Learning กับองค์กรใหญ่อย่างธนาคารกรุงเทพ (Bangkok Bank)ในยุคดิจิทัล

ทักษะที่คนรุ่นใหม่ควรมีติดตัว หากอยากเป็นที่ต้องการขององค์กรในยุคดิจิทัล

คุณวริทธิ์ กล่าวว่า ในการเอาตัวรอดในยุคนี้และในอนาคต คนรุ่นใหม่จำเป็นต้องมีทั้ง Hard Skill และ Soft Skill 

Hard Skill หรือ Technical knowhow ในสายงานที่ทำนั้นสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นด้าน IT, Finance, Business knowhow เช่น Data Analytics, การเขียนโปรแกรม รวมถึงด้าน Business ทักษะในด้าน IT เองปัจจุบันก็มีหลายระดับ มีเครื่องมือที่ถูกพัฒนาขึ้นมาที่ช่วยในการทำงานเป็นไปอย่างรวดเร็วขึ้นมาก ซึ่ง เครื่องมือเหล่านี้ได้มีให้เลือกใช้งานอยู่ทั่วไป และมี Training Material ทั้ง Tutorial, VDO, walk through ให้ได้เลือกเรียนได้ด้วยตนเอง อีกทั้งสะดวกกว่าเมื่อก่อนมาก ซึ่ง Hard Skill ส่วนนี้เป็นสิ่งจำเป็นอย่างมากในการทำงาน  เมื่อฝึกฝนอย่างต่อเนื่อง จะช่วยสร้างให้เกิดโฟกัสในการทำงาน ในช่วงเริ่มต้นถึงช่วงกลางของการทำงาน 

แน่นอนว่า เมื่อเติบโตขึ้นก็จะเริ่มมีความรับผิดชอบมากขึ้น ทำให้การจัดเวลาทำการฝึกฝนนั้นทำได้ยากขึ้น แต่ก็เป็นสิ่งที่จำเป็นต้องทำ เพราะเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ถ้าไม่เรียนรู้ก็จะตามไม่ทัน 

ทางด้าน Soft Skill ก็เป็นทักษะสำคัญที่ขาดไม่ได้  โดยเฉพาะการสื่อสาร แม้เราจะมี Hard Skill ที่เก่งมากๆ แต่ถ้าสื่อสารได้ไม่ดี เราก็ไม่สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะการทำงานในโครงการใหญ่ๆ ที่มีทีมจากหลายสายงาน จะพบว่าแต่ละคนจะมีทักษะแตกต่างกัน และหลายครั้งแต่ละคนจะมีพื้นฐาน และมุมมองที่ต่างกัน  การสื่อสารเป็นสิ่งที่สำคัญมาก รวมไปถึงเรื่องของ Collaboration หรือความร่วมมือในการทำงานร่วมกัน 

ปัจจุบันหลายองค์กรเปิดรับและให้ความสนใจกับการ Upskill Reskill พนักงาน แทนที่จะรับแต่คนที่มี Skill มาแล้ว เพราะอะไรถึงเป็นเช่นนั้น?

พนักงานถือเป็น Asset ที่สำคัญที่สุดขององค์กร  เราต้องเริ่มต้นด้วยแนวคิดว่า Skill เป็นสิ่งที่เรียนรู้ พัฒนาและฝึกฝนได้ พนักงานที่มีอยู่เดิม ก็มี Skill มีประสบการณ์ที่จำเป็นในการทำงานปัจจุบัน และหลายคนก็มีความเก่งและเชี่ยวชาญในงานที่ทำ แต่ในวันนี้เมื่อบริบทเปลี่ยนไป เช่น Product เปลี่ยนเป็นดิจิทัล การดูแลลูกค้าก็เปลี่ยน วิธีการทำงานก็เปลี่ยนไปด้วย ทำให้พนักงานจำเป็นต้องมี Skill ต้องทำการ Upskill เพื่อเพิ่มขีดความสามารถให้ตนเอง หรือ Reskill สร้างทักษะใหม่ๆ ที่สามารถนำไปใช้ เพื่อให้สามารถทำงานในรูปแบบใหม่ได้

ในด้านการรับคนใหม่ที่มี Skill มาแล้วก็มีประโยชน์เช่นกัน เนื่องจากพวกเขาสามารถทำงานได้ทันที และช่วยสอนงานให้กับคนอื่นในทีมได้ด้วย แต่พอผ่านไป 3-5 ปี คนใหม่เหล่านี้ก็จะกลายเป็นคนเก่า skill ที่เขามีก็อาจจะไม่เพียงพอแล้ว หากธนาคารไม่มีระบบในการพัฒนาทักษะของพนักงานที่ดี  ก็จะพบกับปัญหาเดิมซ้ำๆ ในมุมมองของคนทำงานก็เช่นกัน คนทำงานก็อยากที่จะเก่งขึ้นเติบโตขึ้น  ถ้าทำแล้วไม่รู้สึกว่าได้พัฒนา เขาก็ไม่อยู่เหมือนกัน 

ดังนั้นนอกเหนือจากการพัฒนาทักษะให้กับพนักงานภายใน การรับคนใหม่เข้ามาก็ต้องคำนึงถึง Future Skill เพื่อรองรับการเติบโตของธนาคารและการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี

‘Lifelong Learning’ หรือแนวคิดในการเรียนรู้ตลอดชีวิต เป็นสิ่งที่คนในองค์กรต้องมีในยุคนี้ ในฐานะองค์กรของคนรุ่นใหม่ ทางธนาคารกรุงเทพ มีวิธีการปลูกฝังแนวคิดเหล่านี้ในวัฒนธรรมองค์กรอย่างไร?

ด้าน คุณวริทธิ์ มีความเห็นด้วยว่า Lifelong Learning นั้น สามารถผลักดันได้ด้วย Culture ขององค์กร  แน่นอนว่าเมื่อเราได้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่คนรอบข้างมีการเรียนรู้ตลอดเวลา เราก็อยากที่จะเรียนรู้ไปด้วย นี่คือธรรมชาติของมนุษย์

อีกหนึ่งสิ่งที่ต้องปลูกฝังคือ Growth Mindset ที่จะทำให้คนในองค์กรมีความอยากเรียนรู้ และพัฒนาตนเอง ความท้าทายก็คือ จะทำให้เกิดขึ้นได้อย่างไร?

ขั้นแรก องค์กรจะต้องสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อให้การเรียนรู้เกิดขึ้นได้ง่าย มีทรัพยากรที่พร้อมต่อการเรียนรู้ เช่น การเรียนรู้แบบออนไลน์ วิดีโอออนดีมานด์

ต่อมาคือ ความสำคัญของการเรียน เช่น การสร้างให้เกิด Urgency ตัวอย่างเช่น กฎหมาย PDPA จะประกาศใช้ เราต้องทำอย่างไรให้ถูกต้อง  หรือ  ทีมของเราจะทดลองใช้เครื่องมือใหม่ๆ ในการทำงาน ทุกคนจำเป็นต้องทดลองใช้ด้วยกันและเรียนรู้ไปด้วยกัน

นอกจากนี้ ต้องผลักดันให้คนที่มีความรู้และทักษะเด่นชัด มาเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ให้กับเพื่อนพนักงานในองค์กรด้วยกันเอง หรือการเป็นต้นแบบของพนักงานคนอื่นๆ สามารถเรียนรู้ สร้างแรงบันดาลใจ และเข้าถึงได้ อาจทำได้โดยการจัดให้มีเวที เช่น การจัด Workshop, Internal Challenge หรือทำโครงการใหม่ๆ  ซึ่งจะเป็นการสร้าง Positive Feedback ให้ผู้เรียน อีกทั้งบทบาทของหัวหน้างานก็เป็นส่วนสำคัญมาก ที่จะสนับสนุน และกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้  

การวางแผนเส้นทางความก้าวหน้าในสายอาชีพหรือ Career Path ให้พนักงาน

ธนาคารกรุงเทพมีการสนับสนุนให้พนักงานเติบโตเป็นผู้บริหาร และเติบโตขึ้นไปเรื่อยๆ โดยมีการ Training เข้ามาเสริมอย่างสม่ำเสมอ เช่น ตอนเริ่มแรกก็จะสอน Hard skill ก่อนเพื่อให้พนักงานสามารถทำงานได้ เมื่อเริ่มเป็น Senior ก็จะเสริมด้านการ Coachingน้องในทีม พอเป็น Team Lead ก็จะสอนเรื่องการเป็น Manager การวาง Strategy และแผนงานให้กับฝ่าย  พอโตขึ้นไปอีกก็จะมี training ด้านแนวคิดและการจัดการ มีการจัดสัมมนาให้เรียนรู้ความเคลื่อนไหวใหม่ๆ ของอุตสาหกรรม รวมถึงทักษะใหม่ๆ อีกทั้งการเรียนรู้จากองค์กรระดับโลก เช่น MIT, NUS, ฯลฯ

นอกจากนี้ในองค์กรใหญ่  มีหลายฟังก์ชั่นงาน  เมื่อทำงานไปได้ระยะหนึ่งแล้วพนักงานบางคนก็อาจขอย้ายทีม เพื่อฝึกฝน Skill ในด้านที่ต้องการ  หรือจะเป็นการไปร่วมโครงการที่มีหลายหน่วยงานแล้วเรียนรู้จากตรงนั้นก็ได้

สำหรับพนักงานที่มีศักยภาพสูงซึ่งเป็น กลุ่ม Talent ทางธนาคารเองก็มีการสนับสนุนผ่านโครงการ High Potential  ซึ่งเป็นการเสริมศักยภาพที่เข้มข้นเข้าไปอีกและมีผลในการปรับขึ้นตำแหน่งที่เร็วขึ้น  และมีการให้ทุนการศึกษาเพื่อเรียนต่อในประเทศไทยและต่างประเทศอีกด้วย

เมื่อสถานการณ์แพร่ระบาดของ COVID-19 เริ่มดีขึ้น ทักษะใดที่บุคลากรควรจะเรียนรู้ เพื่อปรับตัวกับวิถีชีวิตในยุค New Normal

คุณ คุณวริทธิ์ ได้แบ่งทักษะเป็น 2 ด้าน ได้แก่ ทักษะสำหรับชีวิตประจำวัน กับทักษะในการทำงานเชิงลึก ดังนี้

1. Skill สำหรับชีวิตประจำวัน  ในช่วงโควิดที่ต้องรักษาระยะห่าง Social Distancing  ทำให้บริษัทต้องหันมาใช้ Digital Tools ในการติดต่อกัน หรือทำงานร่วมกัน เช่น การประชุมผ่าน VDO Call แทนการไปพบลูกค้า, การ brainstorm ออนไลน์แทนการใช้ whiteboard  ซึ่งพนักงานได้ฝึกทำกันจนทำได้แล้ว  เมื่อจบ Covid ก็ยังมี skill และ Tools เหล่านี้ติดตัว  โดยทักษะที่จำเป็นคือการเลือกใช้ให้เหมาะสมกับแต่ละสถานการณ์  เช่น VDO Call ถึงแม้มีข้อดีคือลดเวลาเดินทาง แต่อาจด้อยกว่าในการสร้างปฏิสัมพันธ์และ Relationship กับลูกค้า หากเรารู้จักลูกค้าของเรา และเลือกใช้ให้ถูกคนถูกสถานการณ์ ก็จะทำให้ทำงานได้ดีด

2. Skill ในการทำงานเชิงลึก เช่น การพัฒนา Digital Product รวมถึงการนำ Digital Tools มาใช้เพิ่มประสิทธิภาพและความรวดเร็วในการทำงาน  ซึ่งส่วนนี้เป็น Trend ของ Industry ที่ทางองค์กรจะต้องพัฒนาตนเองให้สามารถแข่งขันในตลาดแรงงาน และในขณะเดียวกันตัวเราก็จะทำให้องค์กรของเราแข่งขันได้เช่นกัน  ซึ่งในส่วนนี้ ขั้นแรกสุดเราจะอาจจะเริ่มด้วย Know What คือรู้ว่ามีเทคโนโลยี หรือ methodology อะไรบ้าง  และมีประโยชน์อย่างไร เพื่อให้เราสามารถเลือกนำไปใช้ศึกษาต่อ หรือหา Expert ที่จะมาช่วยเราได้

ขั้นต่อไปคือ Know How ซึ่งเราเข้าไปศึกษาในเชิงลึกมากขึ้น  ซึ่งจะลึกแค่ไหนก็ขึ้นกับบทบาทของเรา    กรณีที่เราคนใช้งาน skill ที่ต้องมีคือการเลือก Tools มาใช้ให้เหมาะกับหน้างานของเรา   แต่ถ้าเราเป็นผู้พัฒนา Tools เราก็จะต้องมี skill อีกด้านหนึ่งซึ่งอาจจะต้องรู้ในเชิงลึกด้วย  เช่น ถ้าโจทย์ของเราคือพัฒนา AI Chatbot ไว้ตอบคำถามลูกค้า แบบนี้เป็นการใช้งาน  เราสามารถใช้ Chatbot ที่มีอยู่ เช่น ใน LINE OA มาใช้ได้เลยแค่ใส่ข้อมูล ถาม-ตอบ   หรือถ้าไม่ตอบโจทย์ เราอาจจะลงไปอีก level หนึ่งคือไปหา AI Engine ข้างนอกแล้วนำมาเชื่อมต่อกับ LINE หรือ website ซึ่งเป็น Front End เอง  แต่ถ้าเราจะลงไปลึกกว่านั้น เราอาจจะพัฒนา AI Engine เอง –  เลือก model/algorithm มาใช้แล้วค่อยหา data มา train AI เอง  หรือลึกกว่านั้นอีกคือคิด model / algorithm เอง ก็จะเป็นงาน Research  จะเห็นได้ว่า skill set ที่จำเป็นจะอยู่ที่หน้างานของเรา  เราต้องดูว่าเราอยู่ใน level ไหน  Raw Material ของเราคืออะไร  Output ของเราคืออะไร และหาเครื่องมือที่จะช่วยให้งานของเราออกมาดีและมีประสิทธิภาพที่สุด

วริทธิ์ ธโนปจัย

และนี่เป็นเพียงไฮไลท์เท่านั้น คุณสามารถฟัง คุณวริทธิ์ ธโนปจัย แบบเต็มๆ ได้ที่งาน  ConNEXT Virtual Job Fair & Career Talk อีกทั้งยังสามารถเยี่ยมชม virtual booth และสมัครงานกับธนาคารกรุงเทพ ได้ที่งาน โดยสามารถส่ง CV ของคุณเพื่อสมัครงาน อีกทั้งยังมีช่องทางแชทกับพี่ๆ HR เพื่อถามตอบได้แล้ววันนี้ ลงทะเบียนเข้างานได้ที่นี่ https://bit.ly/3dvBljp 

บทความนี้เป็น Advertorial

No comment

คัดลอก URL

×

https://techsauce.co/talentsauce/talent-insights/lifelong-learning-bangkok-bank