New collar Jobs อนาคตของการเรียนรู้ทักษะใหม่ วุฒิการศึกษาอาจไม่สำคัญอีกต่อไป | Techsauce
talentsauce logo
ฝากประวัติ ค้นหา Tech Talent Talent Insights Job Hack Life Hacks News Video Podcast
New collar Jobs อนาคตของการเรียนรู้ทักษะใหม่ วุฒิการศึกษาอาจไม่สำคัญอีกต่อไป
By Connext Team กันยายน 4, 2023
share facebook icon share facebook icon hover share x icon share x icon hover share line icon share line icon hover share icon share icon hover

ใบปริญญายังสำคัญอยู่ไหมในโลกการทำงาน? มาร่วมหาคำตอบผ่าน Tech ConNEXT Talk ในหัวข้อ “New collar jobs อนาคตของการเรียนรู้ทักษะใหม่ วุฒิการศึกษาอาจไม่สำคัญอีกต่อไป” กับคุณ จ๊ะเอ๋ กูรู สัมภาษณ์งาน

New collar jobs อนาคตของการเรียนรู้ทักษะใหม่ วุฒิการศึกษาอาจไม่สำคัญอีกต่อไป

New collar jobs คืออะไร?

จริง ๆ แล้วถ้ามองย้อนกลับไปในสมัยก่อน ก่อนที่จะมีคำว่า New collar มีคำว่า ‘White collar’ และ ‘Blue collar’ มาก่อน ซึ่งคำว่า Blue collar หมายถึงคนที่อาจจะไม่ได้ทำงานในออฟฟิศและต้องใช้แรงในการทำงานเป็นหลัก ซึ่งคำว่า Blue ในที่นี้ก็หมายถึงเสื้อสีฟ้า สีน้ำเงิน ที่พนักงานตามโรงงานต่าง ๆ ใส่กัน และหลังจากยุค Blue collar ที่ทุกอย่างเริ่มมีการเปลี่ยนแปลง เริ่มมีคอมพิวเตอร์เข้ามา ทำให้เกิดเป็น White collar หรือพนักงานออฟฟิศที่นั่งทำงานในห้องแอร์ และหลังจากนั้นได้ไม่นานก็มี AI หรือ Chat GPT เกิดขึ้น ซึ่งเป็นที่มาของ New collar หรือคนที่ทำงานเกี่ยวกับด้านเทคโนโลยีนั่นเอง

New collar jobs มีต้นกำเนิดมาจากอะไร 

การเปลี่ยนแปลงของโลกทำให้เกิด New collar jobs ขึ้นมา ตัวกระตุ้นที่ทำให้เกิดสิ่งนี้ขึ้น คือ IT Disruption หรือการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 เพราะถ้ามองย้อนไปในเมื่อก่อนที่เราต้องกักตัวอยู่บ้าน อะไรหลาย ๆ อย่างบังคับให้เราต้องใช้เทคโนโลยี เช่น การสั่งกับข้าว การขายของออนไลน์ หรือแม้แต่การประชุมผ่าน Zoom หรือโซเชียลมีเดียต่าง ๆ เรียกได้ว่าการแพร่ระบาดของโควิด-19 เป็นตัวกระตุ้นชั้นดีที่ทำให้เกิด New Collar jobs ขึ้น   

Soft Skill และ Hard Skill ที่คนทำงานสายเทคควรมี

ก่อนที่จะมี AI เข้ามา หลายคนมักจะคิดว่าถ้ามีทักษะ Creativity, Interpersonal Skill, Communication Skill เพียง 3 สิ่งนี้เราก็อยู่รอดได้  AI ก็ไม่สามารถสู้เราได้  แต่นั่นเป็นเพียงความคิดของคนเมื่อ 5 ปีที่แล้วบอกไว้ แต่กลับกันในปัจจุบันการมีเพียง 3 ทักษะเหล่านี้อาจไม่เพียงพออีกต่อไป เพราะจากการวิจัยของ McKinsey กล่าวว่า Soft Skills ที่ควรมีของคนทำงานสายเทค คือ 

  1. High Cognitive ต้องเป็นผู้ที่มีความชำนาญ เชี่ยวชาญในเรื่องของตัวเลข เพราะว่าต่อไปเราอาจจะต้องทำงานกับ Data เป็นหลัก
  2. Social and Emotional มีทักษะในการเข้าสังคม มีทักษะในการใช้อารมณ์ ทักษะนี้เป็นทักษะที่จำเป็น เพราะว่าการทำงานต่อไปในอนาคตทุกอย่างจะเชื่อมต่อกันหมด ถ้าเราไม่มีทักษะการเข้าสังคมก็อาจจะทำให้ไม่รู้ถึงความก้าวหน้าของสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่ภายนอกได้  
  3. Technological Skills หรือทักษะทางด้านเทคนิค ในปัจจุบันเทคโนโลยีเข้ามาเร็วมาก เพราะฉะนั้นเราจึงจำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีให้เป็น

นอกจากนี้งานวิจัยของ McKinsey ยังคาดว่า 3 Soft Skills นี้จะมีความจำเป็นสำหรับคนทำงานสายเทคไปจนถึงปี 2030 อีกด้วย

ส่วน Hard Skill ที่สำคัญสำหรับคนทำงานสายเทค คือ 

  1. AI กับ Machine Learning ทักษะการใช้เทคโนโลยี หรือเครื่องมือ AI  
  2. Cyber Security หรือความปลอดภัยทางไซเบอร์ ในอีก 5 ปีข้างหน้าทักษะนี้จะเป็นทักษะที่สำคัญและมาแรงมากในอนาคต 
  3. Cloud Computing คือบริการที่ให้ใช้หรือเช่าใช้บริการ Software และ Application ผ่านอินเทอร์เน็ต อุตสาหกรรมนี้จะเติบโตขึ้นอย่างแน่นอนในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า และใครที่มีทักษะนี้ติดตัวก็จะเป็นผู้ที่อยู่รอดจาก AI ได้ จนถึงปี 2030 อีกเช่นกัน 

แนวทางการแก้ไขปัญหาขาดคนด้าน IT

จะเห็นได้ว่าในยุคปัจจุบันองค์กรหรืออุตสาหรรมต่าง ๆ ขาดคนทำงานด้านไอทีเยอะมาก ในขณะเดียวกันถ้าเราถามถึงผู้สมัครงาน เขาก็ต่างบอกว่าส่งเรซูเม่ไปแล้ว บริษัทยังไม่ตอบกลับบ้าง หรือองค์กรยังไม่เรียกสัมภาษณ์บ้าง ซึ่งจริง ๆ แล้วปัญหาเหล่านี้เกิดจากอะไร จริง ๆ แล้วเด็กไทยที่เก่ง ๆ จะโดนจองตัวตั้งแต่ตอนอยู่มหาลัยแล้ว หรือบางคนที่เพิ่งเรียนจบก็หางานทำที่ต่างประเทศเลย ตรงนี้เลยเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดปัญหาขาดคนด้านไอที ซึ่งมีแนวทางการแก้ไขปัญหานี้ด้วยกัน 3 ข้อ คือ 

  1. Mindset Shift การที่องค์กรจะแก้ปัญหาได้องค์กรต้องปรับตัวและปลูกฝังพนักงานให้มีแนวคิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต เรียนรู้ทักษะใหม่ ๆ Up-skill และ Re-Skill อยู่ตลอดเวลา 
  2. การจ้าง Outsource 
  3. จ้างงานแบบ Skill Base Hiring คือการจ้างคนโดยไม่เกี่ยวกับวุฒิการศึกษา  

วิธีการแก้ปัญหาของเด็กจบใหม่ 

ในฐานะของเด็กจบใหม่ อยากให้โฟกัสที่เรซูเม่ของเราเป็นอันดับแรกก่อน อย่าเพิ่งไปสนใจว่าเราจะสู้กับเทคโนโลยีได้อย่างไร หรือ AI จะแย่งงานเราไหม 

อย่างแรกอยากให้รู้ก่อนว่าในวงการ HR มีเครื่องมือที่ชื่อว่า ATS หรือ Applicant Tracking System ในการตรวจจับเรซูเม่ บางคนจึงมีคำถามว่าทำไมส่งโปรไฟล์ดี ๆ ไปสมัครงานกี่ครั้งก็ยังไม่โดนเรียกสักที นั่นเป็นเพราะว่าในเซรูเม่ของเราอาจไม่มี Keyword สำคัญที่ระบบ ATS ต้องการ  

สมมติว่ามีบริษัทเปิดรับสมัครพนักงาน เขาก็จะเขียนอยู่แล้วว่าเขาต้องการคนแบบไหน มีคุณสมบัติอะไรบ้าง เพราะฉะนั้นคนที่ทำเรซูเม่เป็น จะรู้แล้วว่าเขาต้องเอา Keyword ที่องค์กรต้องการมาใส่ไว้ในเรซูเม่ของตัวเอง หลังจากนั้นระบบ ATS จะทำการสแกนเรซูเม่ แล้วระบบก็จะขึ้น Ranking ทันทีเลยว่าใครมี Keyword แบบที่องค์กรต้องการ ถ้าหากว่าสมัครมา 100 คน มีเพียง 10 คนเท่านั้นที่มี Keyword ที่องค์กรต้องการ 10 คนนั้นก็จะถูกเรียกสัมภาษณ์ ส่วนคนที่เหลืออีก 90 คนก็จะหมดโอกาสในการเรียกสัมภาษณ์ทันที เพราะฉะนั้นต่อไปเวลาเขียนเรซูเม่เราต้องศึกษาด้วยว่า ระบบ ATS ชอบอะไร ไม่ชอบอะไร หรือชอบฟอนต์แบบไหน รูปแบบการเขียนแบบไหน เพื่อให้เรามีโอกาสในการทำงานมากขึ้น   

วิธีการเขียนเรซูเม่ให้โดดเด่น 

การเขียนเรซูเม่ที่ดี อยากให้เริ่มต้นจากการเขียน Profile ก่อนเป็นอันดับแรก เราต้องเริ่มจากการนำเสนอตัวเองให้เป็น ให้เขียนเลยว่าเราเรียนจบอะไรมา เราสามารถทำอะไรได้บ้าง และถ้าไม่ได้เรียนจบตรงสาย แต่อยากทำงานด้านนี้ให้เราเขียน Passion ของตัวเองลงไปให้ HR เห็นถึงความมุ่งมั่นและความชอบของเราจริง ๆ อีกจุดหนึ่งที่หลายคนชอบพลาดในการเขียน Profile คือไม่ใส่ผลงานของตัวเองลงไป ถ้าสำหรับใครที่ไม่มีประสบการณ์ ทำงานที่นี่เป็นที่แรก ให้เขียนโปรเจกต์จบของตัวเอง กิจกรรมที่ทำในช่วงที่อยู่มหาลัย ใบกระกาศที่ได้รับ หรือแม้แต่ประสบการณ์ตอนฝึกงานก็ได้ และสำหรับคนที่ทำงานแล้วอยากให้ใส่ประสบการณ์ที่เป็นจำนวนปีลงไปด้วย เพื่อให้ HR เห็นภาพได้ชัดเจนขึ้น 

ส่วนประสบการณ์การทำงาน สำหรับคนที่ทำงานแล้ว ในเรซูเม่ของเราควรใส่ผลงานของตัวเองลงไปด้วยว่าเราทำอะไรมาบ้างแล้ว เพื่อให้เรซูเม่ของเราโดดเด่นขึ้น หลายคนอาจจะยังไม่รู้ว่าผลงานของตัวเองมีอะไรบ้าง เป็นเพราะหลายคนยังแยกหน้าที่ที่ต้องทำในการทำงานกับผลงานหรือความสำเร็จของตัวเองไม่ออก ทำให้เวลาเขียนเรซูเม่เลยไม่รู้ว่าจะต้องใส่ผลงานอะไร ซึ่งสิ่งนี้เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เรซูเม่ของเราไม่โดดเด่นนั่นเอง  

สุดท้ายจะเห็นว่าวุฒิการศึกษาก็ยังมีความจำเป็นอยู่ในบางสาขาอาชีพ แต่สิ่งนั้นไม่ใช่อุปสรรคหากคุณยัง Upskill และ Reskill ตัวเองอยู่ตลอดเวลา สิ่งนี้เป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยสร้างโอกาสให้กับตัวเองมากยิ่งขึ้น

และสำหรับใครที่ต้องการทำงานด้านสายเทค ทักษะสำคัญที่ต้องมีเลย คือ High Cognitive, Social and Emotional, Technological Skills, AI&Machine Learning, Cybersecurity และ Cloud computing เพราะการมีทักษะเหล่านี้คาดว่าจะช่วยให้คุณอยู่รอดและไม่โดนแทนที่จาก AI จนถึงปี 2030 อีกด้วย 

No comment

คัดลอก URL

×

https://techsauce.co/talentsauce/talent-insights/new-collar-jobs