การตั้งคำถามเป็นเครื่องมืออันทรงพลังอย่างหนึ่งที่สามารถกระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้ การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น แถมยังสร้างความสัมพันธ์และความไว้วางใจระหว่างสมาชิกในทีมได้
จะเห็นได้ว่าการตั้งคำถามสำหรับบางคนนั้นเป็นเรื่องที่ง่ายมาก แต่สำหรับบางคนการตั้งคำถามนั้นไม่ใช่เรื่องที่ง่ายเลย กลับเป็นเรื่องที่ยากมากด้วยซ้ำConNEXT จึงมี 5 แนวทางในการตั้งคำถามที่ดีมาฝาก!
1.ถ้าไม่ถามก็ไม่รู้
จากผลการวิจัยปี 1970 การสนทนามีเป้าหมายอยู่ 2 อย่างหลักๆ คือแลกเปลี่ยนข้อมูลและต้องการสร้างความประทับใจต่อคู่สนทนา จนมาในปัจจุบันได้มีการทดลองการสนทนาบนโลกออนไลน์ ปรากฏว่าผู้คนที่มีการตั้งถามคำถามจะกลายเป็นที่ชื่นชอบของคู่สนทนา
เรียกได้ว่าคำถามเป็นเครื่องมือทรงพลังที่สามารถใช้ประโยชน์ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสถานการณ์ที่คำถามขัดกับบรรทัดฐานของสังคม เช่น ผู้ที่สมัครงานควรจะตอบคำถามในระหว่างการสัมภาษณ์ แต่การวิจัยแสดงให้เห็นว่า ผู้สมัครงานส่วนใหญ่มักจะเตรียมตัวมาเพื่อขายตัวเองให้กับบริษัทว่าพวกเขาสามารถทำอะไรได้บ้างในระหว่างการสัมภาษณ์ โดยที่พวกเขาลืมที่จะถามคำถามเกี่ยวกับตัวองค์กรหรืองานที่พวกเขาสมัคร เพราะการถามคำถามจะทำให้ผู้สัมภาษณ์มีส่วนร่วมมากยิ่งขึ้นและมีแนวโน้มที่คุณจะดูเป็นผู้สมัครที่ดีอีกด้วย
2. Follow-up Questions อันทรงพลัง
โดยส่วนใหญ่คำถามจะถูกแบ่งออกเป็น 4 ประเภท
- Introductory Questions คำถามทั่วๆ ไป เช่น คุณเป็นอย่างไรบ้าง?
- Mirror Questions คำถามสะท้อนไปยังคู่สนทนา เช่น ผมสบายดี คุณล่ะเป็นอย่างไรบ้าง?
- Full-switch Questions คำถามที่เปลี่ยนหัวข้อในการพูดคุยอย่างสิ้นเชิง
- Follow-up Questions คำถามที่ถามเพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติม
ถึงแม้ว่าคำถามแต่ละประเภทจะมีความแตกต่างกัน แต่ Follow-up Questions นั้นเหมือนจะมีพลังวิเศษบางอย่างที่ทำให้คู่สนทนาของคุณรู้สึกว่าคุณกำลังฟังพวกเขาด้วยความตั้งใจและใส่ใจกับสิ่งที่เขาพูด
3. รู้ว่าเมื่อไหร่ควรจะใช้คำถามปลายปิด-เปิด
คงจะไม่มีใครอยากโดนถามจี้หรือเหมือนกำลังถูกสอบสวนอยู่ตลอดเวลา ซึ่งการถามคำถามปลายปิดที่มีให้เลือกตอบแค่ใช่และไม่ใช่นั้นคงจะทำให้คู่สนทนาถูกต้อนจนมุม
ในบางสถานการณ์การใช้คำถามปลายเปิดที่สามารถให้โอกาสคู่สนทนาของคุณได้ตอบหลากหลายก็อาจไม่ได้คำตอบที่คุณต้องการ เพราะคู่สนทนาของคุณก็อาจตอบและพูดออกนอกทะเลไปเรื่อยๆ จนลืมว่าประเด็นสำคัญของคำถามนั้นคืออะไร
จากงานวิจัยของ University of Utah ถ้าเราใช้คำถามปลายปิดในสถานการณ์ที่ค่อนข้างตึงเครียด คำตอบที่เราได้มักจะไม่ใช่คำโกหก เช่น แทนที่จะถามว่า
“ช่วงนี้เป็นอย่างไรบ้าง” ซึ่งเป็นคำถามปลายเปิดและมีแนวโน้มที่คู่สนทนาจะตอบไหลไปเรื่อยๆ เปลี่ยนเป็น “ช่วงนี้ไม่โอเคเลยใช่ไหม?” แทน นอกจากจะเป็นคำถามปลายปิดที่สามารถตอบได้มากกว่าใช่หรือไม่ใช่แล้ว คุณอาจได้ข้อมูลเพิ่มเติมมากกว่านี้อีกด้วย
4. จัดลำดับคำถามในการพูดคุยให้ดี
ลำดับของคำถามถือเป็นสิ่งสำคัญในการสนทนา ซึ่งลำดับที่เหมาะสมของคำถามขึ้นอยู่กับบรรยากาศของสถานการณ์ โดยที่คู่สนทนาที่ดีเข้าใจว่าคำถามที่ถามก่อนหน้านี้ในบทสนทนานั้นส่งผลต่อคำถามถัดไปในอนาคต
5. ใช้โทนเสียงให้ถูกต้อง
โทนเสียงมีความสำคัญมากในการสนทนา โดยทั่วไปน้ำเสียงที่เป็นทางการมากเกินไปมักจะเป็นอุปสรรคของคู่สนทนา เพราะคนฟังอาจจะรู้สึกอัดอัดได้ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วคนเราจะเต็มใจพูดคุยคุยและแลกเปลี่ยนข้อมูล กับบุคคลที่ใช้โทรเสียงแบบสบายๆ หรือไม่เป็นทางการมากจนเกินไปมากกว่า
การตั้งคำถามนั้นไม่ใช่เรื่องที่แย่หรือร้ายแรง เพียงแค่เราจะต้องรู้จักตั้งคำถามให้เป็น สิ่งนี้ก็จะสามารถทำให้คุณดูเป็นคนที่ตั้งคำถามอย่างมืออาชีพได้แล้ว
เขียนโดย : Nichaphat Srijumpa
อ้างอิง : hbr