ทำไม AI จะไม่มีวันมาแทน Manager ได้ แม้เทคโนโลยีจะพัฒนาไปไกลแค่ไหนก็ตาม? | Techsauce
talentsauce logo
ฝากประวัติ ค้นหา Tech Talent Talent Insights Job Hack Life Hacks News Video Podcast
ทำไม AI จะไม่มีวันมาแทน Manager ได้ แม้เทคโนโลยีจะพัฒนาไปไกลแค่ไหนก็ตาม?
By Siramol Jiraporn ธันวาคม 8, 2021
share facebook icon share facebook icon hover share x icon share x icon hover share line icon share line icon hover share icon share icon hover

สิ่งสำคัญที่สุดในเครื่องมือที่ผู้จัดการใช้เพื่อขับเคลื่อนธุรกิจก็คือ ‘การคิด’ ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับวิธีการประมวลผลข้อมูลสองวิธีที่แตกต่างกันคือ ‘คิดด้วยสัญชาตญาณและคิดเชิงเหตุผล’ หมายถึง ‘การคิดเร็วและการคิดช้า’ ตามที่ Daniel Kahneman ผู้ที่ได้รับรางวัลโนเบลได้กล่าวถึง

ทำไม AI จะไม่มีวันมาแทน Manager ได้ทุกวันนี้คอมพิวเตอร์มีประสิทธิภาพเหนือกว่ามนุษย์ทั้งสองด้านมากขึ้น เมื่อคอมพิวเตอร์รู้กฎและตัวแปรต่างๆ ของสถานการณ์ ก็จะสามารถเอาชนะมนุษย์ในงานที่ต้องใช้สติและเหตุผลได้ง่ายๆ

ดังนั้น ผู้จัดการจึงหันไปใช้เครื่องมือทางสถิติและการจำลองสถานการณ์บ่อยขึ้น เพื่อสร้างพอร์ตการลงทุน การตัดสินใจด้านราคา และการเข้าใจความเสี่ยงของห่วงโซ่อุปทาน 

จากการศึกษาที่ผ่านมา พบว่าคอมพิวเตอร์สามารถตรวจสอบสิ่งต่างๆ ในงานที่ต้องใช้ความเชี่ยวชาญได้ดีกว่ามนุษย์ เช่น การตรวจหามะเร็งด้วยการสแกนจากเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan) และการเลือกเป้าหมายในการลงทุน

ทำให้จากเดิมที่มนุษย์เคยเหนือกว่าในการจดจำรูปแบบซึ่งส่วนใหญ่มาจากสัญชาตญาณ แต่ในทุกวันนี้คอมพิวเตอร์ถูกฝึกให้พัฒนาสัญชาตญาณจากข้อมูลจำนวนมากโดยใช้ Machine learning 

ถ้าเป็นแบบนี้ต่อไป ผู้จัดการจะมีความสำคัญกับองค์กรต่อไปอีกหรือไม่?

โชคดีที่ยังมีความสามารถทางปัญญาอย่างหนึ่งที่มนุษย์ยังคงได้เปรียบคอมพิวเตอร์อยู่ นั่นคือ ารคิดช้าๆ (Thinking really slow)

การคิดช้าๆ ถูกนำมาใช้ในการปรับมุมมอง (Reframing) ซึ่งเป็นกระบวนการที่ตรวจสอบตัวแปร วัตถุประสงค์ และสมมติฐานที่นำมาใช้ในการตัดสินใจใหม่ การปรับมุมมองไม่ใช่การแก้ปัญหา (ด้วยสัญชาตญาณหรือการใช้เหตุผลในการคิด) แต่เป็นการนิยามว่า ปัญหาที่ต้องการแก้ไขจริงๆ คืออะไร

การปรับมุมมองไม่ใช่เรื่องง่าย วิธีการที่ผู้จัดการกำหนดกรอบการตัดสินใจต่างๆ จะฝังลึกอยู่ในวัฒนธรรมของธุรกิจ ประวัติศาสตร์ขององค์กร รวมถึงการศึกษาและประสบการณ์ของผู้บริหารเองด้วย การปรับมุมมองอาจใช้เวลานานมาก นั่นคือเหตุผลที่ทำไมถึงมองว่ามันคือ ‘การคิดช้าๆ’

การปรับมุมมองมีความสำคัญมาก ในธุรกิจที่มีนวัตกรรมล้ำสมัยมักจะเกิดการปรับมุมมองขึ้นเมื่อบริษัทแยกตัวออกจากไอเดียแรกเริ่มที่เคยกำหนดไว้ อย่าง Amazon ในปี 1999 นักข่าวจาก CNBC ได้สบประมาท Jeff Bezos เพราะ Amazon เป็นบริษัทที่มีศูนย์กระจายสินค้าขนาดใหญ่และมีราคาแพง รวมถึงมีพนักงานจำนวนมาก แต่ไม่ได้เป็นบริษัทอินเทอร์เน็ตจ๋าๆ ที่นักลงทุนช่วงนั้นนิยมอีกต่อไป 

Bezos ไม่เชื่อว่าธุรกิจที่ดีจะต้องเป็นธุรกิจที่มีต้นทุนต่ำ แทนที่จะต้องเลือกระหว่าง "อินเทอร์เน็ตจ๋า" VS "ค้าปลีกแบบดั้งเดิม" แต่เขาเลือกสนใจว่าจะทำอย่างไรให้ลูกค้าได้รับประสบการณ์ที่ดีที่สุด 

เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงของตลาด การปรับมุมมองอาจมีความสำคัญเป็นพิเศษ ลองนึกถึง Nokia ในธุรกิจ Feature Phone บริษัทคาดหวังกับธุรกิจนี้มาก เพราะยอดขายพุ่งขึ้นอย่างรวดเร็วและผลกำไรก็ดี ทำให้บริษัทตัดสินใจไม่ลงทุนกับสิ่งที่มีราคาสูง และหันหลังให้กับสิ่งที่ทำแล้วไม่ได้ผลลัพธ์ในทันที 

ต่อมาในช่วงต้นทศวรรษ 2000 ทาง Nokia ได้พลาดนวัตกรรมใหม่ๆ ที่ทางบริษัทมองว่ามีความเสี่ยงมากเกินไป แต่สิ่งเหล่านั้นกลับมีความสำคัญขึ้นมา อย่างเช่น โทรศัพท์ที่มีหน้าจอสัมผัส อุปกรณ์แท็บเล็ต และเกมบนมือถือ ซึ่งสร้างความเสียหายเป็นอย่างมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อการแข่งขันเคลื่อนไปสู่ระดับ Ecosystem 

นอกจากนี้ อดีตผู้จัดการของ Nokia ยังได้กล่าวไว้ในบทสัมภาษณ์ว่า “การทำบริการสำหรับผู้บริโภคขนาดใหญ่ไม่ได้เกิดขึ้นภายในปีหรือสองปี เราไม่ค่อยมีความอดทนในเรื่องนี้” ซึ่งในยุคของ Smart Phone จำเป็นต้องมีแนวคิดการมองภาพระยะยาวแบบใหม่ที่เจ้าแห่งฮาร์ดแวร์อย่าง Nokia ไม่มี

ความสามารถในการคิดช้าๆ ของมนุษย์เป็นกุญแจสำคัญ เพราะ AI จะไม่สามารถเป็นเทคโนโลยีที่ดีที่สุดได้ ถ้าขาดการปรับมุมมองของมนุษย์ว่าอะไรคือปัญหา แล้วใช้ AI ในการแก้ปัญหานั้นต่อไป 

ในโลกที่ผู้จัดการสามารถใช้คอมพิวเตอร์เพื่อเพิ่มความสามารถในการคิดเร็วและช้า ความสามารถในการปรับมุมมองจะทำให้นำความคิดในการแก้ปัญหาที่ดีออกมาได้มากขึ้น ด้วยกลยุทธ์ต่อไปนี้

ยอมใช้เวลาไปกับการไม่คิดถึงปัญหา

การวิจัยชี้ให้เห็นว่า เมื่อทิ้งปัญหาไว้สักระยะ จะทำให้ออกจากกรอบแนวคิดเดิมๆ ได้ และมีที่ว่างในการปรับมุมมองใหม่ๆ ดังนั้น หลังจากที่เริ่มกระบวนการในการแก้ปัญหาแล้ว ให้ไปทำสิ่งอื่นที่แตกต่างไปจากเดิมสักพักแล้วค่อยกลับไปคิดทีหลัง จะช่วยสร้างวิธีแก้ไขปัญหาที่สร้างสรรค์ได้มากขึ้น

สร้างที่ยืนให้สมมติฐานใหม่ๆ

คนเรามักจะจมอยู่กับสมมติฐานในการแก้ปัญหาแบบเดิมๆ โดยไม่รู้ตัว การถกเถียงกับผู้อื่นสามารถทำให้สมมติฐานอื่นๆ ที่ซ่อนอยู่ออกมาได้ การสร้างโมเดลทางคณิตศาสตร์ก็สามารถช่วยได้เช่นกัน เพราะก่อนสร้างโมเดลก็ต้องสร้างหลายๆ สมมติฐานเพื่อเอามาวัดว่าสมมติฐานไหนเป็นจริง 

ตัวอย่างเช่น Fluor Corporation จำลองสถานการณ์เพื่อจำลองการเปลี่ยนแปลงด้านราคาและเวลาของโปรเจกต์ที่ซับซ้อนได้ก่อนแทนที่จะต้องมานั่งแก้ไขตามหลัง 

การหาวิธีคิดใหม่ๆ อย่างสร้างสรรค์

การใส่ความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการลงไปในกระบวนการตัดสินใจ จะช่วยให้ผู้จัดการหลีกห่างตัวเองจากแนวคิดเดิมๆ ซึ่งก็คือ สูตรสำเร็จในอุตสาหกรรมนั้นๆ เช่น เวลาจะคิดอะไรสักอย่างให้เอาอะไรที่สร้างสรรค์มาเป็นสื่อ เพื่อให้ออกห่างจากวิธีคิดแบบเดิมๆ ได้

การนำความคล้ายคลึงออกมาใช้

เป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการปรับมุมมองการแก้ปัญหา แนวคิดและแนวปฏิบัติจากอุตสาหกรรมหนึ่งอาจสามารถนำมาใช้แปลงโฉมใหม่เพื่อใช้ในอุตสาหกรรมอื่นได้ ตัวอย่างเช่น Berry Gordy Jr. ทำให้ Motown Records เป็นสตูดิโอบันทึกเสียง โดยสร้างแบบจำลองตามสายพานการผลิตของ Ford Motor Company ซึ่งเป็นบริษัทที่เขาเคยทำงานมาก่อน 

ในบางกรณี การเปิดรับบางสิ่งที่แตกต่างไปจากเดิมโดยสิ้นเชิงอาจทำให้ได้รับข้อมูลเชิงลึกใหม่ๆ ที่คนอื่นๆ ขาดไป ตัวอย่างเช่น การออกแบบของ Apple ได้รับแรงบันดาลใจจากชั้นเรียนคัดลายมือ บทเรียนเกี่ยวกับพุทธศาสนานิกายเซน และสถาปัตยกรรมของ Bauhaus ที่ Steve Jobs ได้สัมผัส แม้ว่าการนำความคล้ายคลึงออกมาใช้จะไม่ได้ดีมาก แต่ก็อาจให้โครงร่างคร่าวๆ ของการปรับวิธีการแก้ปัญหา 

การปรับมุมมองไม่ใช่แค่เรื่องของผู้จัดการคนเดียว แต่วัฒนธรรมองค์กรจะต้องสนับสนุนด้วย ก้าวแรกก็คือการสร้างช่องทางและบ่มเพาะวัฒนธรรมที่แต่ละคนสามารถแสดงข้อกังวลหรือเสนอไอเดีย และลูกจ้างก็ต้องสามารถสำรวจและบ่มเพาะไอเดียใหม่ๆ ได้ ซึ่งเรื่องทั้งหมดอาจจะไม่ได้ส่งผลอย่างทันทีทันใด แต่สำคัญต่อการสร้างความมั่งคั่งต่อองค์กรและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในระยะยาว

ที่มา: Harvard Business Review


No comment

คัดลอก URL

×

https://techsauce.co/talentsauce/talent-insights/why-ai-will-never-replace-managers