เรียกได้ว่าตั้งแต่เกิดวิกฤตโรคระบาดส่งผลให้ อาชีพ “ผู้จัดการ” หรือ Management มีความสำคัญต่อองค์กรมากขึ้น นั่นเป็นเพราะตำแหน่งของผู้จัดการมีหน้าที่ช่วยเหลือและพัฒนาประสิทธิภาพการทำงานทั้งหมด รวมถึงประสิทธิผลให้กับองค์กร จึงไม่ใช่เรื่องแปลกหากองค์กรจะให้ความสำคัญกับตำแหน่งงานนี้มากขึ้น
หากคุณกำลังสนใจงานสายนี้หรือกำลังสงสัยว่าการเป็นผู้จัดการจะเหมาะกับคุณไหม วันนี้ ConNEXT มีคำตอบมาฝาก ไปดูกันเลย!
อาชีพผู้จัดการ หรือ Management คืออะไร
ปกติแล้วหน้าที่ของผู้จัดการ คือการบริหารทีม บริหารทรัพยากร ให้บรรลุเป้าหมายตามที่ตั้งไว้ โดยผู้จัดการที่ดีจำเป็นต้องมีทักษะในการสื่อสารที่ดี การตัดสินใจที่เด็ดขาด และมีการแก้ปัญหาที่ดีด้วย
ซึ่งหากพูดถึงรายได้รู้หรือไม่ว่ารายได้โดยเฉลี่ยของ Management นั้นอยู่สูงกว่าตำแหน่งงานอื่นๆ ซึ่งจากรายงานของ Bureau of Labor Statistics หรือสำนักงานสถิติแรงงานแห่งสหรัฐอเมริกา กล่าวว่า กลุ่มอาชีพการจัดการมีรายได้เฉลี่ยสูงสุดถึง 102,450 ดอลลาร์/ปีหรือประมาณ 3,560,188 บาท/ปี
อาชีพผู้จัดการ หรือ Management มีกี่ประเภท?
Bridgitt Haarsgaard ผู้ก่อตั้งบริษัท GAARD Group กล่าวว่า “ผู้จัดการจะต้องจัดการได้ทุกอย่างตั้งแต่การจัดการบุคลากร โครงการ จนถึงเรื่องการเงิน” โดยแบ่งออกเป็น 3 ประเภทดังนี้
1. ผู้จัดการฝ่ายบุคคล (People Management Manager)
ผู้จัดการฝ่ายบุคคลมีหน้าที่รับผิดชอบภาพรวมของสมาชิกในทีม โดยส่วนใหญ่ผู้จัดการจะมีหน้าที่ในการจัดการเรื่องทั่วไปเช่น การบริการลูกค้า การบริหารบุคคลภายในทีม กำหนดการทำงาน หรือดูแลการว่าจ้าง
2. ผู้จัดการโครงการ (Project Manager)
ผู้จัดการโครงการมีหน้าที่ในการดูแลโปรเจกต์ต่าง ๆ ของบริษัทซึ่งหลัก ๆ แล้วจะเน้นไปที่การดูภาพรวมของระบบการทำงาน และทำให้ทีมมั่นใจว่าการดำเนินงานจะมีประสิทธิภาพและเสร็จในระยะเวลาที่กำหนด
3. ผู้จัดการทรัพยากร (Human Resources Manager)
ผู้จัดการทรัพยากรมีหน้าที่ในการทำบัญชีและแจกจ่ายทรัพยากร เช่น พนักงาน หรือการเงิน ผู้จัดการจะใช้งบประมาณและทรัพยากรที่มีอยู่เหล่านี้ พัฒนาให้ธุรกิจทำงานได้ง่ายมากขึ้นและมีประสิทธิภาพภายในขอบเขตที่ตัวเองมี
อาชีพผู้จัดการ หรือ Management ทำหน้าที่อะไรบ้าง
โดยปกติแล้ว ผู้จัดการจะมีหน้าที่ดังนี้
- กำหนดเป้าหมายและวัตถุประสงค์
- ใช้และสังเกตุการณ์กลยุทธ์
- กระตุ้นสมาชิกในทีม
- แก้ปัญหาความขัดแย้ง
- ทำให้แน่ใจว่างานจะเสร็จตามเวลา
โดยรวมแล้ว ผู้จัดการจะมีหน้าที่พัฒนาและใช้กลยุทธ์ส่งเสริมให้เกิดความสำเร็จภายในทีมหรือองค์กร โดยการมอบหมายงาน กำหนดแนวทางการทำงานของพนักงาน บริหารงบประมาณ และประสานงานกับคนภายในองค์กร
ข้อดีและข้อเสียของการเป็นผู้จัดการ หรือ Management
ดังคำพูดที่ว่า“พลังที่ยิ่งใหญ่ มาพร้อมกับความรับผิดชอบอันใหญ่ยิ่ง” ถึงแม้ตำแหน่งผู้จัดการจะมีรายได้ที่สูงกว่าพนักงานทั่วไป แต่พวกเขาก็ยิ่งต้องมีความรับผิดชอบมากขึ้นกว่าคนอื่น ๆ อีกเท่าตัวเช่นกัน
ข้อดี
- มีส่วนร่วมในการตัดสินใจที่สำคัญของบริษัท
- มีอิสระในการทำงาน
- มีโอกาสก้าวหน้าในการพัฒนาอาชีพมากกว่าอาชีพอื่น
- มีรายได้เพิ่มขึ้น
ผู้จัดการมีแนวโน้มที่จะได้รับรายได้มากขึ้น เนื่องจากมีความรับผิดชอบที่เพิ่มขึ้นจากการบริหารทรัพยากร พนักงาน และโปรเจกต์ต่างๆ ของบริษัท
ข้อเสีย
- มีภาระงานที่หนักขึ้น
- ต้องมีการสนทนาที่ไม่สบายใจ
ส่วนสำคัญของการจัดการคือการคุยอย่างตรงไปตรงมากับพนักงานเรื่องผลงานของพวกเขา
- มีความเครียดสูง
- ต้องทำงานนอกเวลามากกว่าอาชีพอื่นซึ่งตามรายงานของสำนักงานสถิติแรงงานแห่งสหรัฐอเมริกา พนักงานในสายงานการจัดการจะมีชั่วโมงทำงานต่อสัปดาห์มากกว่าอาชีพอื่น ๆ
สุดท้ายนี้ ConNEXT หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ให้กับเพื่อนๆ ทุกคนที่อยากเติบโตและวางแผนไว้ในสายอาชีพนี้ และขอให้ทุกคนประสบความสำเร็จนะ ถึงสายงานนี้จะหนัก แต่ผลตอบแทนก็ดีเกินคาดอย่างแน่นอน
เขียนโดย : Weerapat Nenbumroong
อ้างอิง : thebalancemoney