ทำไม ‘การเอาเปรียบลูกจ้าง’ ปัญหาเรื้อรังในโลกการทำงาน ไม่ยอมหายไปสักที? โดย Rebecca Galemba | Techsauce
talentsauce logo
ฝากประวัติ ค้นหา Tech Talent Talent Insights Job Hack Life Hacks News Video Podcast
ทำไม ‘การเอาเปรียบลูกจ้าง’ ปัญหาเรื้อรังในโลกการทำงาน ไม่ยอมหายไปสักที? โดย Rebecca Galemba
By Connext Team ตุลาคม 7, 2022
share facebook icon share facebook icon hover share x icon share x icon hover share line icon share line icon hover share icon share icon hover

หากต้องทำงานที่ใดสักที่หนึ่งแน่นอนว่าเราคงไม่อยากได้ค่าตอบแทนน้อยกว่าที่ตกลงกันไว้กับนายจ้างตั้งแต่แรก แต่รู้หรือไม่ว่านี่เป็นหนึ่งในปัญหาที่คนในสหรัฐฯ กว่าหลายล้านกำลังเผชิญอยู่ ซึ่งปัญหานี้เกิดขึ้นในหลายๆ อุตสาหกรรม โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมการเกษตร การก่อสร้าง ร้านอาหาร และอื่นๆ 

ลูกจ้างบางคนไม่ได้รับค่าตอบแทนและสวัสดิการอย่างถูกต้องตามกฎหมาย เช่น การจ่ายค่าแรงต่ำกว่าที่กฎหมายกำหนด การให้คนทำงานตอนช่วงพักเบรก หรือการยึดทิปส์ที่พนักงานได้ไป คงปฏิเสธไม่ได้ว่าปัจจุบันมีพนักงานหลายคนที่ไม่ได้ค่าตอบแทนอย่างถูกต้อง เงินเดือนที่ได้ต่ำกว่าเมื่อเทียบกับตำแหน่งอื่นๆ ในที่ทำงานหรือเมื่อเทียบกับอุตสาหกรรมอื่นๆ 

Rebecca Galemba

การโกงค่าจ้างนี้ส่งผลกระทบต่อหลายอุตสาหกรรม โดยเฉพาะในภาคส่วนของลูกจ้างรายวัน ซึ่งส่วนใหญ่แล้วเป็นผู้อพยพจากละตินอเมริกาที่ทำงานทุกวันเพื่อนำเงินมาใช้ชีวิต คนเหล่านี้มีเวลาในการต่อรองค่าจ้างเพียงแค่ไม่กี่นาที อีกทั้งยังต้องทำงานภายใต้เงื่อนไขต่างๆ และยังต้องแข่งขันกับคนทำงานคนอื่นๆ ด้วยทักษะทางภาษาอังกฤษที่อาจจะไม่ค่อยแข็งแรงเท่าไหร่นัก สิ่งนี้เรียกได้ว่าเป็นกระบวนการจ้างงานที่ไม่มีความมั่นคง ไม่มีสถานะให้กับคนงานต่างด้าว อีกทั้งยังมีโอกาสโดนเอาเปรียบ โดนคุกคาม และตกเป็นเหยื่อในปัญหาเรื้อรังหลายๆ อย่าง

งานวิจัยปี 2015 โดย Rebecca Galemba และทีมนักศึกษาจบใหม่ ผ่านการสัมภาษณ์ลูกจ้างรายวัน 170 คน ซึ่งจัดทำขึ้นโดยเน้นสำรวจแรงงานต่างด้าวรายวัน (Immigrant day laborer) พบว่า กลุ่มคนเหล่านี้ต้องเผชิญกับการโกงค่าจ้าง

จากการสำรวจครั้งนี้พบว่า นายจ้างมักจะชอบเข้าไปรีครูทคนทำงานตามมุมถนนใน Colorado  เพื่อไปทำโปรเจกต์ก่อสร้าง โดยทำงานตั้งแต่ 9 โมงเช้า จนถึงดึกๆ ดื่นๆ เมื่อลูกจ้างทำงานเสร็จก็พบว่านายจ้างไม่ยอมจ่ายเงิน แล้วบอกว่าถ้าพรุ่งนี้กลับมาทำงานจะยอมจ่ายเงินให้ เมื่อลูกจ้างยืนกรานว่าเขาต้องการค่าจ้างตอนนี้ นายจ้างก็ให้เช็คค่าจ้างมา แต่พอพนักงานนำเช็คไปขึ้นเงินกลับพบว่าเช็คเด้ง (ไม่ได้เงินจริงๆ) ทำให้เขาต้องเสียค่าธรรมเนียมในการขึ้นเช็คแล้วยังไม่ได้เงินค่าจ้างอีก 

นี่เป็นหนึ่งในตัวอย่างของวิธีที่นายจ้างโกงพนักงาน แล้วนายจ้างหลายคนก็ชอบพูดว่าการโกงค่าจ้างนี้เป็นแค่อุบัติเหตุ ไม่ได้ตั้งใจทำ แต่พนักงานที่ได้ค่าจ้างรายวันกลับต้องเผชิญกับเรื่องแย่ๆ เหล่านี้ และเหตุการณ์ข้างต้นนี้ก็ไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่ด้วย เพราะจากการสำรวจพบว่า 62% ของลูกจ้างรายวันต้องเผชิญกับการโกงค่าจ้าง 

นอกจากนี้ยังพบว่า เมื่อลูกจ้างรายวันพยายามที่จะเผชิญหน้ากับนายจ้างเพื่อทวงเงินค่าจ้าง นายจ้างจะบ่ายเบี่ยงโดยการไม่ยอมรับโทรศัพท์หรือเปลี่ยนเบอร์หนี หรือแม้กระทั่งพยายามที่จะข่มขู่พนักงานเมื่อพนักงานออกมาพูดถึงเรื่องนี้ บางครั้งนายจ้างก็จะอ้างว่าไม่เคยจ้างพนักงานคนนั้นมาก่อนเนื่องจากไม่มีหลักฐานในการว่าจ้าง แม้ว่าการกระทำเหล่านี้จะเป็นเรื่องที่ผิดกฎหมายแต่นายจ้างหลายคนก็ยังกล้าทำ เนื่องจากระบบการปกป้องคนเหล่านี้ยังไม่เข้มแข็งมากพอ และอีกส่วนหนึ่งเป็นเพราะพนักงานไม่แจ้งความเนื่องจากไม่เชื่อในระบบกฎหมายว่าจะสามารถปกป้องพวกเขาได้จริงๆ 

เรื่องนี้เป็นเรื่องที่ส่งผลเสียต่อทุกคนโดยเฉพาะประชากรที่มีไม่มีสิทธิ์มีเสียงอย่างลูกจ้างรายวัน เพราะลูกจ้างเหล่านี้ส่วนใหญ่แล้วไม่ได้มีความรู้เรื่องกฎหมายขนาดนั้น ทำให้ไม่รู้ว่าควรเริ่มจากตรงไหนก่อนดีเมื่อโดนโกงค่าจ้าง อีกทั้งหากลูกจ้างต้องการเอาเรื่องกับนายจ้างก็ยังมีเรื่องค่าใช้จ่ายเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ซึ่งแน่นอนว่าลูกจ้างไม่ได้มีรายได้มากขนาดนั้น เนื่องจากต้องจัดสรรค่าใช้จ่ายไว้ใช้ส่วนตัว นี่จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมพวกเขาถึงยอมแพ้ต่อการเอาเรื่องนายจ้างเหล่านั้น

ดังนั้นการโกงค่าจ้างจึงยังคงมีให้เห็นอยู่เรื่อยๆ เพราะนายจ้างรู้ว่าสุดท้ายแล้วพนักงานจะไม่เอาเรื่อง แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าลูกจ้างรายวันจะไม่เคยทำอะไรเพื่อป้องกันการโกงค่าจ้าง เพราะลูกจ้างพยายามที่จะจัดการเรื่องค่าจ้างไม่ให้ถูกตัดราคาแล้ว อีกทั้งยังมีการเตือนพนักงานคนอื่นๆ เกี่ยวกับชื่อเสียงที่ไม่ดีของนายจ้างเมื่อมีคนสนใจ เช่น การบอกว่าจะรับแค่เงินสดเท่านั้นไม่รับเช็ค หรือการยืนกรานว่าจะต้องได้รับค่าจ้างรายวันมากกว่ารอให้ทำงานครบอาทิตย์ก่อนค่อยจ่าย 

นอกจากนี้ เมื่อ Galemba ทำโปรเจกต์เรื่องนี้กับนักศึกษาทีไรก็มักจะมีคนบอกว่าเคยโดนโกงค่าจ้างเหมือนกัน แม้ว่านักศึกษาจะอยู่ในฐานะที่ต่างจากลูกจ้างต่างด้าวรายวัน แต่การทำงานในอุตสาหกรรมอื่นๆ ก็ยังคงมีการโกงค่าจ้างอยู่ เช่น Child care ร้านอาหาร บาร์ คนในทำงานในอุตสาหกรรมเหล่านี้ต่างก็เคยเผชิญกับการได้รับค่าจ้างต่ำ หรือแม้แต่เด็กฝึกงานก็ไม่ได้รับค่าจ้างจากการฝึกงาน   

ในความเป็นจริงแล้วคน Colorado เกือบครึ่งล้านคนต่างก็กำลังเผชิญอยู่กับเรื่องการโกงค่าจ้างในทุกๆ ปี เพราะธรรมชาติของการทำงานกำลังเปลี่ยนไป เช่น การเพิ่มขึ้นของการเป็นฟรีแลนซ์ การติดต่องานด้วยตนเอง การได้ค่าจ้างต่อชิ้นงาน การทำงานพาร์ทไทม์ การเป็นลูกจ้างชั่วคราว 

แน่นอนว่าโลกการทำงานมีความความยืดหยุ่นและการแข่งขันมากขึ้น ซึ่งมาจากการที่มีงานประเภทใหม่ๆ เกิดขึ้น แต่สิ่งเหล่านี้ก็ยังคงมีความเสี่ยง เช่น งานเพิ่มขึ้นแต่ค่าจ้างน้อยเท่าเดิม การไม่มีสวัสดิการ การไม่มีความมั่นคง การที่นายจ้าบไม่มีความรับผิดชอบ อีกทั้งยังมีความเสี่ยงที่จะถูกโกงค่าจ้าง 

เนื่องด้วยกฎหมายแรงงานของสหรัฐฯ ยังคงไม่พัฒนาไปไหน ยังไม่สามารถปกป้องลูกจ้างได้ดีเท่าที่ควร ยังคงปล่อยให้ลูกจ้างเผชิญอยู่กับเงื่อนไขการทำงานที่ไม่เป็นธรรม แต่เรื่องค่าจ้างเป็นสิ่งสำคัญต่อชีวิตของทุกคน ทางที่ดีสหรัฐฯ ควรอัปเดตเรื่องสิทธิแรงงานเพื่อเปลี่ยนธรรมชาติของการทำงานให้ดียิ่งขึ้น แต่แค่นั้นก็ยังไม่พอ นายจ้างต้องปรับความคิดใหม่และอัปเกรดการจ้างงานเพื่อให้งานสามารถซัพพอร์ตชีวิตผู้คนได้ 

อ้างอิง YouTube

No comment

คัดลอก URL

×

https://techsauce.co/talentsauce/talent-insights/why-wage-theft-continues-to-happen-by-rebecca-galemba