Red Flag หรือธงแดงที่ส่งสัญญาณว่า Portflio สมัครงานของคุณอาจมีรอยรั่วโดยหากไม่รีบแก้ไขก็อาจจะทำให้คุณไม่ได้งานที่ใช่สักที โดยเฉพาะความเชื่อที่ว่า “ถ้าสมัครเยอะ ก็ยิ่งมีโอกาสเยอะ” แต่รู้ไม่ว่าถ้าคุณยังมี Red Flag ภายใน Portfolio คุณก็มีโอกาสเยอะเหมือนกันที่จะโดนปฏิเสธและท้อแท้กับการสมัครงานในที่สุด โดยเฉพาะหากใครสนใจสายงานออกแบบอย่าง UX/UI คุณยิ่งต้องระมัดระวัง Red Flag ใน Portfolio ของคุณให้มากขึ้น
วันนี้ ConNEXT จึงรวบรวมสิ่งที่ไม่ควรทำ และวิธีแก้ไข Red Flag ที่อยู่ภายใน Portfolio ของคุณมาฝาก
5 Red flag ที่ไม่ควรมีอยู่บน Portfolio
1. “นักออกแบบรุ่นใหม่” (Aspiring Designer, Budding Designer)
การใส่ “นักออกแบบรุ่นใหม่, Aspiring Designer หรือ Budding Designer” Keyword ที่ไม่ควรใส่ลงใน Portfolioจะทำให้ทีม HR ปัดคุณออกได้อย่างง่ายๆ เพราะพวกเขาคิดว่าคุณยังไม่พร้อมสำหรับการทำงานและไม่รู้ว่าคุณอยากทำงานนี้จริงหรือเปล่า
ในอุตสาหกรรม UX/UI ไม่เป็นมิตรกับผู้เริ่มต้นหรือผู้ที่เป็นมือใหม่มากนัก ถ้าหากคุณสนใจในงานด้านนี้ ลองใส่เพียงแค่ผลงานของคุณลงใน Portfolio เพื่อให้ HR ตัดสินจากผลงานแทน หากประสบการณ์ของคุณในการทำงานด้านนี้ยังน้อยไป พวกเขาจะสามารถบอกได้ทันทีจากผลงานของคุณ
2. ไม่มีผลงานแสดงให้เห็นถึงความสามารถ
ส่วนใหญ่ผู้ที่กำลังเริ่มต้นในการทำงาน คุณจะต้องมี Portfolio ที่มีน้ำหนักมากพอสมควรถึงจะได้รับการจ้างงาน เพราะจะทำให้ HR ได้รู้ว่าคุณเคยทำอะไรมาบ้าง มีความสามารถอะไรบ้าง ถ้าหากภายในPortfolio ของคุณไม่มีผลงานหรือมีแค่เล็กน้อยที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับตำแหน่งงานละก็ มีโอกาสสูงมากที่คุณจะไม่ได้รับการว่าจ้าง
3. ข้อผิดพลาดในการใช้คำและการสะกดคำ
ข้อผิดพลาดใน Portfolioมันบ่งบอกถึงการขาดความใส่ใจในรายละเอียดและความรอบคอบในการทำงาน
4. การออกแบบที่ล้าสมัย
คุณอาจจะดูตัวอย่างเว็บไซต์ต่างๆ เช่น LinkedIn, Google, Pinterest และเว็บไซต์อื่นๆ ที่คุณสนใจ และนำมาปรับใช้ภายในงานของคุณได้ เพื่อให้งานออกมาดูทันสมัย ใช้งานง่ายและสามารถเข้าถึงกลุ่มคนที่หลากหลาย
5. ไม่มีผลงานมากพอ
ภายใน Portfolio ต้องมีผลอย่างน้อย 4 ผลงานและอย่านำผลงานที่ไม่เคยเกิดขึ้นจริงหรือมาจาก Boot Camp ที่เป็นโปรแกรมการฝึกอบรมเฉพาะทางมาใส่ภายในแฟ้มผลงานของคุณ แต่ถ้านำเอาผลงานจาก Boot Camp มาต่อยอดเองก็สามารถนำมาใส่ลงใน Portfolio ได้
และนี่ก็คือ 5 สิ่งที่ไม่ควรทำพร้อมด้วยวิธีแก้ไขว่าควรจะทำอย่างไรภายใน Portfolio ของคุณ เพื่อเพิ่มโอกาสการทำงานในตำแหน่งและบริษัทที่คุณอยากร่วมงานด้วย
เขียนโดย : Nichaphat Srijumpa
อ้างอิง : Medium