“ผู้สัมภาษณ์ที่ดี คือนักเล่าเรื่องที่ดี” แชร์ 5 เทคนิคการเล่าเรื่อง (Storytelling) พูดอย่างไรให้ HR ร้องว้าว! | Techsauce
talentsauce logo
ฝากประวัติ ค้นหา Tech Talent Talent Insights Job Hack Life Hacks News Video Podcast
“ผู้สัมภาษณ์ที่ดี คือนักเล่าเรื่องที่ดี” แชร์ 5 เทคนิคการเล่าเรื่อง (Storytelling) พูดอย่างไรให้ HR ร้องว้าว!
By Suchanan Songkhor มกราคม 17, 2024
share facebook icon share facebook icon hover share x icon share x icon hover share line icon share line icon hover share icon share icon hover

เทคนิคการเล่าเรื่อง (Storytelling) เป็นหนึ่งในทักษะที่ผู้สัมภาษณ์ควรมีในการสมัครงาน หลายคนอาจจะคิดว่าเทคนิคนี้ไม่ได้สำคัญขนาดนั้นหรอกมั้ง ซึ่งต้องบอกว่าไม่จริง! เทคนิคนี้สำคัญและจำเป็นมากต่อการใช้ชีวิตในทุก ๆ ด้าน ไม่ใช่แค่เรื่องการสัมภาษณ์งานเพียงอย่างเดียว แต่ยังรวมไปถึงเป็นการทำงาน การสร้างความสัมพันธ์ การขายของ หรือแม้แต่การพูดการนำเสนอต่าง ๆ สิ่งเหล่านี้ล้วนต้องใช้เทคนิคการเล่าเรื่อง

“ผู้สัมภาษณ์ที่ดี คือนักเล่าเรื่องที่ดี” แชร์ 5 เทคนิคการเล่าเรื่อง (Storytelling) พูดอย่างไรให้ HR ร้องว้าว!

ให้ลองคิดง่าย ๆ ว่าเวลาเราฟังเพื่อนพรีเซนต์งาน ทำไมเราถึงรู้สึกว่าการนำเสนอของเพื่อนคนนี้น่าเบื่อจัง ไม่เห็นน่าสนใจเลย ในขณะเดียวกันเพื่อนอีกคนกลับทำให้เรารู้สึกอินตามกับสิ่งที่เขาพูดได้ 

คำถามคือ อะไรที่ทำให้สองคนนี้แตกต่างกัน ? สิ่งที่สองคนนี้แตกต่างกันคือ Storytelling หรือการเล่าเรื่องนั่นเอง แล้วเทคนิคการเล่าเรื่องคืออะไรล่ะ 

เทคนิคการเล่าเรื่อง คือการดึงประสบการณ์ของตัวเองหรือองค์ความรู้ทั้งหมด มาเรียบเรียงและถ่ายทอด  ออกมาเป็นคำพูดให้ผู้ฟังรับรู้ถึงที่ไปที่มา รายละเอียด และความขัดแย้งต่าง ๆ ของเรื่อง การถ่ายทอดที่ดีต้องทำให้ผู้ฟังเข้าใจและอินตามในสิ่งที่เรากำลังพูด ซึ่งนั่นหมายความว่าตัวเราเองก็ต้องเข้าใจเนื้อหาที่เราจะสื่อด้วยระดับหนึ่ง ต้องรู้ว่าตัวเองต้องการพูดอะไร สิ่งสำคัญอีกอย่างคือเราต้องประเมินด้วยว่าผู้รับสารเข้าใจในเรื่องที่เราพูดพูดมากน้อยแค่ไหน เพื่อให้เรารู้ว่าเราควรพูดยังไงต่อ 

ในมุมของการสัมภาษณ์งาน เราปฏิเสธไม่ได้อยู่แล้วว่าเราต้องเจอกับคำถามต่าง ๆ ระหว่างตอนสัมภาษณ์ที่ HR ต้องถามอยู่แล้วว่า เช่น

  • แนะนำตัวเองให้ฟังหน่อย
  • จุดแข็ง-จุดอ่อนของตัวเองคืออะไร 
  • เล่าประสบการณ์การทำงานที่ผ่านมาให้ฟังหน่อยได้ไหม 

การตอบคำถามเหล่านี้ ถ้าเตรียมตัวมาไม่ดี ก็อาจทำให้เราเรียบเรียงคำพูดไม่ถูก ไม่รู้ต้องพูดยังไง จนบางครั้งอาจจะเผลอพูดออกนอกทะเล ซึ่งนั่นอาจหมายถึงเราอาจตกม้าตายตอนสัมภาษณ์ได้ เห็นไหมว่าว่าวิธีการพูดหรือการเล่าเรื่องของเรามีส่วนสำคัญ แล้วจะพูดอย่างไรให้น่าสนใจ จะสื่อสารอย่างไรให้ HR อินไปกับสิ่งเราพูดได้ ConNEXTเลยอยากมาแชร์ 5 เทคนิคการเล่าเรื่อง (Storytelling) ในการสัมภาษณ์งานมาฝาก 

เทคนิคการเล่าเรื่องที่ดี 

1. เปิดหัวเรื่องให้น่าตื่นเต้น 

หลายคนอาจคิดว่าการเปิดเรื่องด้วยความตลก อาจดึงดูดให้ผู้ฟังอยู่กับเราได้มากกว่า แต่ต้องบอกว่าไม่ใช่ทุกครั้งที่จะประสบความสำเร็จ วิธีที่นักพูดมืออาชีพชอบใช้กันบ่อย ๆ  คือการพูดถึงประเด็นหลักออกไปตรง ๆ เลย ยิ่งในสัมภาษณ์งาน การทำแบบนี้จะทำให้ HR เข้าใจมากกว่าว่าเราต้องการที่จะสื่อสารอะไร และยังเป็นการดีของ HR ด้วยที่จะได้รู้จักเรามากขึ้น

2. เริ่มเล่าถึงเหตุการณ์ แต่อย่าเพิ่งลงดีเทล

มาต่อกันข้อที่สอง เมื่อเราเปิดหัวข้อไปแล้วให้เริ่มเล่าถึงเหตุการณ์นั้น ๆ ว่าเกิดอะไรขึ้นบ้าง ให้เพิ่มบริบทต่าง ๆ เข้าไป เพื่อเป็นการปูเรื่องให้ผู้ฟังสนใจเรื่องของเรามากขึ้น แต่ทั้งนี้ต้องเล่าให้กระชับ ไม่ต้องลงรายละเอียดเยอะ ให้แค่ดีเทลเล็ก ๆ น้อย ๆ พอ เพื่อบิ้วอารมณ์ให้ผู้สัมภาษณ์อยากฟังเรื่องของเราต่อเรื่อย ๆ หลังจากนั้นให้เราเปิดประโยคใหม่ให้เหมือนหนังหักมุม เช่น 

  • งานทุกอย่างเป็นไปตามแผนที่วางไว้ จนเกิด…
  • ทุกอย่างเกิดจากความผิดพลาด แต่ที่แย่ไปกว่านั้นคือ…
  • ทีมของผมทำงานหนักมาหลายวัน แล้วหลังจากนั้น...

3. เล่าจุดพีค

จากที่เริ่มพูดถึงรายละเอียดไปบ้างแล้ว ให้เราพูดถึงจุดพีคหรือความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในเหตุการณ์นั้น แต่ไม่ควรเล่าอะไรที่พีคเกินไป ต้องเล่าให้สอดคล้องกับสิ่งที่ HR ถามด้วย พอเล่าถึงจุดพีคเสร็จ หลังจากนั้นให้พูดถึงวิธีแก้ปัญหา ซึ่งตรงนี้เป็นประเด็กหลักที่ HR อยากได้ยิน 

4. บอกวิธีการแก้ปัญหา

ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุด คุณสามารถเล่าถึงวิธีการแก้ปัญหาของคุณได้เต็มที่ เป็นโอกาสที่ดีที่จะบอกกับ HR นัย ๆ ว่าเรามีทักษะอะไรบ้างผ่านเรื่องราวที่เราเล่า นอกจากนี้คำตอบของเราอาจสะท้อนความคิดอะไรบางอย่างที่อาจทำให้ HR สนใจเราขึ้นก็ได้นะ 

5. สรุปผลลัพธ์จากเหตุการณ์นั้น 

มาถึงข้อสุดท้ายแล้ว หลังจากนี้ให้เราสรุปเรื่องราวทั้งหมดให้ HR ฟังว่าวิธีการแก้ปัญหาของเราเป็นอย่างไร ทำแล้วเวิร์กไหม ถ้าสมมติเราแก้ปัญหานั้นออกมามีผลลัพธ์ดี ก็นับว่าเป็นเรื่องที่ดี แต่กลับกันถ้าการแก้ปัญหานั้นไม่บรรลุตามเป้าหมาย ให้เราหันมาโฟกัสกับสิ่งที่ได้ในการแก้ปัญหานั้น ว่าเราได้เรียนรู้อะไรบ้างและเล่าให้ HR ฟัง

อ้างอิง : themuse, hbr

No comment

คัดลอก URL

×

https://techsauce.co/talentsauce/job-hack/storytelling-techniques