จำนวนของคน Gen Z ถูกคาดว่าจะมีประมาณ 27% ของคนทำงานทั้งหมดภายในปี 2025 ซึ่งยุคนี้จะเต็มไปด้วยคนที่พร้อมไปด้วยความสามารถ ทักษะใหม่ๆ และความเข้าใจด้านดิจิทัลที่นายจ้างหลายคนต่างต้องการ
อย่างไรก็ตาม การจ้างงานระหว่างนายจ้างและคน Gen Z ไม่ได้เรียบง่ายอย่างที่คิด เพราะนายจ้างหลายคนล้มเหลวในการดึงดูดคนเข้ามาทำงาน โดยเฉพาะการโดนปฏิเสธไม่ร่วมงานจากคนรุ่นใหม่
อะไรคือสาเหตุของความล้มเหลว
กว่า 75% ของคนที่กำลังมองหางานออกมาพูดว่า พวกเขาเคยโดน ‘เท’ โดย ‘ไร้การติดต่อกลับ’ จากนายจ้างหลังการสัมภาษณ์งาน ซึ่งนี่เป็นการเผยให้เห็นถึงปัญหาของกระบวนการรับสมัครงาน แม้ว่าเวลาจะผ่านไปนานเท่าไร แต่ก็ยังคงมีความลำเอียงต่อคนบางกลุ่มอยู่เสมอ
การกระทำแบบนี้อาจทำให้ผู้ที่กำลังมองหางานรู้สึกท้อแท้ ดังนั้น พวกเขาควรได้รับการปฏิบัติที่ชัดเจนมากกว่านี้ โดยเฉพาะการส่งอีเมลตอบกลับอัตโนมัติเพื่อปฏิเสธการรับเข้าทำงานที่บางบริษัทยังคงใช้อยู่ก็ควรหมดไป พวกเขาควรรู้เหตุผลว่าทำไมถึงไม่ได้รับเลือกให้เข้าทำงานเพื่อที่จะได้นำมาปรับปรุงแก้ไขและยังคงมีแรงรูงใจในการมองหางานถัดไป เพราะฉะนั้น นายจ้างควรปรับปรุงวิธีการสื่อสารกับผู้สมัครเพื่อให้เกิดความชัดเจนต่อทั้งสองฝ่าย
แล้วจะดึงดูดคน Gen Z เข้ามาร่วมงานได้อย่างไร
ปัจจุบันคนรุ่นใหม่ให้ความสำคัญกับ ‘ทักษะในการทำงาน’ ใหม่ๆ มากขึ้น ดังนั้น นายจ้างควรตอบโจทย์คนรุ่นใหม่เพื่อดึงดูดให้คน Gen Z เข้ามาทำงานให้มากกว่าที่เคยเป็นมา เช่น การจัดเวิร์คช็อปหรือการลงเรียนในคอร์สต่างๆ ที่ช่วยเพิ่มทักษะแก่ผู้สมัครงาน ทำให้มีความเหมาะสมกับตำแหน่งงานมากขึ้น
อายุโดยเฉลี่ยของ ผู้จัดการฝ่าย HR ในสหรัฐฯ คือ 45 ปี ถึงแม้ว่าจะเป็นอายุที่อยู่ตรงกลางระหว่างคนทำงานรุ่นใหม่กับรุ่นเก่า แต่ก็ควรมีทีมสำหรับการจ้างงานที่มีความหลากหลายและไม่สนใจเรื่องอายุอยู่ด้วย เพื่อประเมินความสามารถและศักยภาพของผู้สมัครได้
ในขณะที่วัย Boomers เริ่มเกษียณจากงานที่ทำ ถึงเวลาแล้วที่หลายๆ บริษัทต้องเปลี่ยนกระบวนการรับสมัครให้เข้ากับยุคสมัยและเหมาะสมกับคน Gen Z ก่อนที่จะสายเกินแก้และกลายเป็นความล้มเหลวในการดึงคนที่มีความสามารถเข้ามาร่วมงาน
แต่ไม่ว่าจะเป็นคนเจนไหนหรือจะทำอาชีพอะไรก็ตาม สามารถเข้ามาร่วมเรียนรู้ อัพสกิล และเพิ่มโอกาสทางธุรกิจ ได้ที่งาน Techsauce Global Summit 2022 งาน Tech Conference ยิ่งใหญ่ระดับเอเชีย ซื้อบัตรราคาพิเศษด่วนที่ https://bit.ly/3NXwoPU
เขียนโดย Wanicha Pumkeaw
อ้างอิง Fast Company