รู้ไหม? การเป็น Imposter syndrome ก็มีข้อดีเหมือนกันนะ | Techsauce
talentsauce logo
ฝากประวัติ ค้นหา Tech Talent Talent Insights Job Hack Life Hacks News Video Podcast
รู้ไหม? การเป็น Imposter syndrome ก็มีข้อดีเหมือนกันนะ
By Connext Team สิงหาคม 29, 2022
share facebook icon share facebook icon hover share x icon share x icon hover share line icon share line icon hover share icon share icon hover

ปัญหาหนึ่งของคนที่มีความทะเยอะทะยานที่ต้องเผชิญกับความท้าทายใหม่ๆ คือ การเป็น Imposter syndrome ซึ่งทำให้รู้สึกว่าตัวเองไร้ความสามารถและกลัวว่าคนอื่นๆ จะคิดเช่นเดียวกับตัวเอง แม้ว่าในความเป็นจริงแล้วเพื่อนร่วมงานของคุณจะไม่เคยคิดเช่นนั้นก็ตาม

แต่ก็ไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะจากการศึกษาที่ตีพิมพ์ใน International Journal of Behavioral Science พบว่า 70% ของผู้คนมักจะรู้สึกแบบนั้นไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง แต่สิ่งที่น่าแปลกใจคือ อาการ Imposter syndrome มักจะพบได้บ่อยในกลุ่มคนที่มีประสิทธิภาพสูง คนที่มองจากภายนอกแล้วดูเป็นคนที่ประสบความสำเร็จ แต่จริงๆ แล้วภายในกลับรู้สึกวิตกกังวล เพราะกลัวคนอื่นจะคิดว่าตัวเองไม่ได้มีความสามารถเหมือนอย่างที่ทุกคนคิด

รู้ไหม? การเป็น Imposter syndrome ก็มีข้อดีเหมือนกันนะ

แม้ว่าการเป็น Imposter syndrome จะทำให้บางคนรู้สึกทุกข์ทรมาน แต่ก็ยังเป็นสัญญาณที่บ่งบอกว่าคุณกำลังผลักดันตัวเองไปข้างหน้า ไม่ได้อยู่แต่ในเซฟโซนของตัวเอง เพราะเมื่อไหร่ก็ตามที่คิดว่าตัวเองยังไม่ดีพอ ความคิดนี้จะกระตุ้นให้คุณก้าวไปข้างหน้ามากขึ้นเรื่อยๆ เพราะฉะนั้น แทนที่จะต่อต้านความคิดนี้ ควรโน้มรับแทนจะดีกว่า

เนื่องจากการเป็น Imposter syndrome จะเป็นผลบวกหรือเป็นผลลบก็ได้ ในด้านบวกคุณจะพบวิธีจัดการและผลักดันจากอาการนี้ เช่น ได้เรียนรู้ พัฒนา และมีความยืดหยุ่นมากขึ้น แต่ในทางกลับกัน คุณก็อาจจะรู้สึกว่าต้องหลบซ่อนตัวเองอยู่ตลอดเวลา เพราะกลัวคนอื่นจะคิดว่าคุณไม่ได้เก่งขนาดนั้น ซึ่งมีแนวโน้มทำให้เกิดการผัดวันประกันพรุ่ง กลายเป็นพวกนิยมความสมบูรณ์แบบมากเกินไป  หรืออาจจะรู้สึกวิตกกังวลและเกิดความไม่มั่นคงในจิตใจขึ้น 

สิ่งสำคัญคือ ต้องพยายามก้าวข้ามขีดจำกัด แม้ว่าอาจไม่ได้ช่วยป้องกันโรค Imposter syndrome แต่จะช่วยให้คุณสามารถจัดการกับโรคนี้ได้ มาดูกันว่าจะจัดการกับโรค Imposter syndrome อย่างไรดี?

ทำความเข้าใจว่าอะไรเป็นสิ่งที่กระตุ้นให้คุณเกิดอาการ Imposter Syndrome

ขั้นตอนแรก คุณต้องตระหนักก่อนว่าสถานการณ์ไหนที่กระตุ้นให้คุณเกิดอาการ Imposter syndrome เช่น การพูดในที่ประชุม หรือการพูดในที่สาธาณะ

เมื่อถูกกระตุ้นแล้ว จะเกิดอาการ “amygdala hijack” (การโดนปล้นความเป็นตัวเอง ทำให้ควบคุมตัวเองไม่ได้) และความกลัวก็เริ่มคืบคลานเข้ามา แต่หากคุณรู้ว่าอะไรที่เป็นสิ่งกระตุ้นแล้ว คุณก็จะเริ่มทำความเข้าใจได้ว่าเกิดอะไรขึ้น หลังจากนั้นคุณก็จะมีสติมากขึ้น

จำไว้ว่าสิ่งที่รู้สึก ไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นจริง

เตือนใจตัวเองไว้เสมอว่า “สิ่งที่คุณรู้สึก ไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นจริง” เพราะหลายคนมักจะชอบคิดไปเอง อย่าตัดสินอะไรตามความรู้สึกถ้าไม่เคยลองทำจริงๆ ตัวอย่างเช่น เมื่อเรียนเรื่องการพูดในที่สาธารณะมา คุณจะไม่มีวันเป็นผู้เชี่ยวชาญได้ จนกว่าจะได้เริ่มพูดต่อหน้าคนจริงๆ เพราะการนั่งเรียนเฉยๆ แล้วคิดตามไม่สามารถแทนที่การกระทำจริงๆ ได้

สร้างความมั่นใจให้ตัวเอง

ปัญหาหนึ่งของคนที่ประสบความสำเร็จสูงคือ แม้ว่าตัวเองจะบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้แล้ว แต่ก็ยังรู้สึกว่ายังไม่ดีพอ และไปโฟกัสที่เป้าหมายต่อไปทันที วิธีแก้คือ ให้สร้างลิสต์ความสำเร็จไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่ก่อนหน้านี้ เพื่อเพิ่มความมั่นใจให้กับตนเองโดยการเตือนตัวเองว่าคุณเคยทำอะไรสำเร็จมาแล้วบ้าง

ความกล้ามาก่อนความมั่นใจ

คนเราจะไม่สามารถมั่นใจอะไรได้หากไม่เคยทำสิ่งนั้นมาก่อน ความมั่นใจสามารถพัฒนาได้เมื่อมีประสบการณ์มากขึ้น แต่คุณจะต้องมี ‘ความกล้า’ ในการตัดสินใจก่อนที่จะเริ่มทำอะไรสักอย่าง 

วิธีการสร้างความกล้าคือ คุณจะต้องตระหนักก่อนว่า ทำไมการเริ่มทำสิ่งนั้นๆ ถึงสำคัญ? สิ่งนั้นจะช่วยให้คุณทำอะไรได้บ้าง? สิ่งนั้นจะสร้างอิมแพคให้กับคุณได้อย่างไร? ให้มองข้ามเสียงต่อต้านเล็กๆ ในหัวของคุณ โดยการเตือนตัวเองว่าทำไมคุณถึงต้องทำในสิ่งที่คุณกลัว จากนั้นก็ค่อยๆ ก้าวออกจากคอมฟอร์ตโซนของตัวเอง และฝึกฝนทำสิ่งที่กลัวเป็นประจำ

อ้างอิง Fastcompany

No comment

คัดลอก URL

×

https://techsauce.co/talentsauce/life-hacks/do-you-realize-that-imposter-syndrome-can-be-beneficial