เตรียมรับมือกับ Layoff Anxiety ในวันที่ บริษัทชั้นนำหลายแห่งปรับตัวด้วยการเลิกจ้าง | Techsauce
talentsauce logo
ฝากประวัติ ค้นหา Tech Talent Talent Insights Job Hack Life Hacks News Video Podcast
เตรียมรับมือกับ Layoff Anxiety ในวันที่ บริษัทชั้นนำหลายแห่งปรับตัวด้วยการเลิกจ้าง
By Chanapa Siricheevakesorn พฤศจิกายน 8, 2022
share facebook icon share facebook icon hover share x icon share x icon hover share line icon share line icon hover share icon share icon hover

ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมามีข่าวเกี่ยวกับการเลิกจ้าง (Layoff) พนักงานของบริษัทชั้นนำต่างๆ มากมาย โดยเฉพาะที่อเมริกาในภาคเทคโนโลยีที่มีพนักงานถูกเลิกจ้างมากกว่า 39,000 คนซึ่งรวมถึงพนักงานในบริษัทชั้นนำ เช่น Peloton, Shopify และ Netflix กระทั่งในไทยเองก็มีการเลิกจ้างเกิดขึ้นเช่นเดียวกัน

สิ่งนี้ทำให้ระดับความวิตกกังวลในการเลิกจ้างเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในหมู่มนุษย์เงินเดือน หลายคนวิตกกังวลมากกว่าที่เคยเพราะกลัวว่าตื่นมาตอนเช้าแล้วจะได้รับจดหมายบอกเลิกจ้างทางอีเมลหรือไม่? หรือว่าพวกเขาทำงานได้ดีพอที่จะไม่ถูกแทนที่โดยคนอื่นหรือเปล่า?

แรงงานสหรัฐเกือบ 80% ได้รับผลกระทบจากความไม่มั่นคงในการทำงานอันเนื่องมาจากปัญหาเศรษฐกิจถดถอย ความวิตกกังวลว่าอาจถูกเลิกจ้างนี้ส่งผลกระทบต่อความคิดของพนักงานและทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานแย่ลง นอกจากนี้ส่งผลต่อสุขภาพจิตและร่างกายในทางที่ไม่ดี เช่น ส่งผลต่อความสามารถในการโฟกัส มีความเครียดสะสมหรืออาจส่งผลให้เกิดภาวะซึมเศร้าได้ 

รับมือกับความวิตกกังวลในการถูกเลิกจ้างอย่างไร?

การเผชิญหน้าในเชิงรุกกับความวิตกกังวลจากการถูกเลิกจ้างเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการป้องกันไม่ให้เกิดผลกระทบเชิงลบต่อทั้งทางจิตใจและร่างกายโดยควรรับมือด้วย 3 วิธีดังต่อไปนี้

1.แยกข้อเท็จจริงออกจากสิ่งที่คุณคิด

เรื่องราวที่คุณบอกตัวเองอาจไม่ได้สะท้อนความเป็นจริงเสมอไป ตัวอย่างเช่น หากเจ้านายของคุณตอบอีเมลช้ากว่าปกติ คุณรู้สึกระแวงว่าเขาอาจไม่พอใจอะไรคุณหรือเปล่า? เพราะฉะนั้นพยายามตั้งคำถามกับสมมติฐานนี้ โดยตรวจสอบว่าคุณมีหลักฐานอะไรบ้างที่ชี้ให้เห็นถึงความเป็นไปได้ที่จะถูกเลิกจ้าง 

  • ผู้จัดการของคุณขอให้คุณใช้มาตรการประหยัดต้นทุนหรือไม่?
  • บริษัทได้จัดตั้งนโนบายในการหยุดจ้างงานหรือไม่?
  • ยอดขายลดลงอย่างต่อเนื่องหรือไม่?
  • ปริมาณงานของคุณน้อยกว่าปกติหรือไม่?
  • คุณไม่ได้ถูกเชิญในการประชุมที่เคยเข้าร่วมหรือไม่?

หากคำตอบของคำถามข้างต้นส่วนใหญ่คือ “ไม่” แสดงว่าคุณควรที่จะกังวลให้น้อยลง และพยายามใช้หลักการของเหตุและผลให้มากขึ้น

2.เลิกกังวลกับสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้และทำสิ่งที่ทำได้เพื่อให้สถานการณ์ที่เผชิญอยู่ดีขึ้น

หากบริษัทของคุณเริ่มเลิกจ้างหรือประกาศแผนการที่จะทำเช่นนั้น คุณอาจต้องหาข้อมูลเพิ่มเติมเท่าที่จะทำได้และประเมินสถานการณ์ของคุณว่า 

  • โปรเจ็กต์ที่คุณทำอยู่มีมูลค่าสูงหรือไม่? 
  • งานของคุณสร้างรายได้ให้องค์กรได้หรือไม่? 
  • คุณได้รับมอบหมายให้ริเริ่มโปรเจ็กต์ที่ผู้นำระดับสูงเห็นว่าสำคัญหรือไม่? 

หากไม่เป็นเช่นนั้นให้พูดคุยกับหัวหน้าของคุณเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนปริมาณงานเพื่อให้แน่ใจว่าคุณจะสามารถใช้เวลาในการทำงานไปกับโปรเจ็กต์ที่คุ้มค่ากว่า 

นอกจากนี้คุณควรสร้างเครือข่ายภายในองค์กร รับฟังเรื่องราวเกี่ยวกับการปรับโครงสร้างองค์กรหรือการปรับโครงสร้างใหม่ และวางรากฐานสำหรับการหางานของคุณในอนาคตโดยเชื่อมต่อกับเครือข่ายของคุณ อัปเดตเรซูเม่และหน้า LinkedIn ไว้ให้พร้อม

3.เตรียมแผนรับมือโดย ‘การมองโลกในแง่ร้าย’ (Defensive Pessimism)

มาสร้างความกังวลเพื่อขจัดความกลัวให้เป็นประโยชน์โดยตั้งคำถามกับตัวเองว่า “หากถูกเลิกจ้างจะทำอย่างไรดี?”  จากนั้นคาดการณ์ว่าคุณจะจัดการกับอุปสรรคอย่างไร เช่นการเงิน การดูแลสุขภาพ และการหางานใหม่

การวิจัยแสดงให้เห็นว่าการฝึกฝนจิตใจเพื่อตอบสนองต่อสถานการณ์ที่เลวร้ายที่สุดจะช่วยควบคุมความวิตกกังวลได้ ซึ่งเป็นกลยุทธ์ที่เรียกว่าการมองโลกในแง่ร้ายเพื่อตั้งรับ การสร้างแผนรองรับจะทำให้เกิดคุณรู้สึกว่าควบคุมได้ท่ามกลางสถานการณ์ที่ไม่แน่นอนและช่วยจัดการกับความวิตกกังวลจากการถูกเลิกจ้าง

เพราะฉะนั้นมาใช้ชีวิตให้ปราศจากความกลัวและความกังวลว่าจะถูกเลิกจ้าง แล้วมาทำให้ชีวิตในโลกแห่งทำงานของคุณยิ้มรับกับสิ่งต่างๆ ได้มากยิ่งขึ้นด้วย 3 ขั้นตอนในการรับมือเชิงรุกกับความวิตกกังวลที่จะช่วยให้คุณเตรียมพร้อมเพื่อรับมือกับสิ่งที่ไม่แน่นอนที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต

อ้างอิง HBR, Resume mansion

No comment

คัดลอก URL

×

https://techsauce.co/talentsauce/life-hacks/get-ready-for-layoff-anxiety