หากคุณเคยอ่านสรุปหรือรีวิวหนังสือ NO RULES RULES ผ่านๆ อ่านพอได้เห็นเรื่องราวขององค์กรที่รวบรวมคนเก่ง และขับเคลื่อนด้วยคนเก่งเท่านั้น จนมีคำกล่าวว่า "ไม่มีพื้นที่สำหรับคนพอใช้ หรือคนกลางๆ" แน่นอนว่าพอได้ยินดังนั้น หลายคนคงมีคำโต้แย้งอยู่มากมาย หลังจากได้ฉบับแปลไทยมา ผู้เขียนจึงได้ลองทำความเข้าใจ เพื่อหาคำตอบของความสงสัยที่ว่า คนเก่งคืออะไร?
ก่อนอื่นมาดู Cuture ในแบบของ Netflix กันก่อน โดย Netflix ขับเคลื่อนด้วยวัฒนธรรมองค์กรที่
- สิ่งแวดล้อมที่มีแต่คนเก่งเท่านั้น
- มีความตรงไปตรงมา feedback กันตรงๆ และ โปร่งใสมากที่สุด
- อีกทั้งยังควบคุมให้น้อยที่สุด ไม่กำหนดวันลา คือค่าใช้จ่าย และพนักงานในทุกระดับสามารถตัดสินใจได้
แล้วสิ่งแวดล้อมที่มีแต่คนเก่งนั้นคืออะไร?
หากหนังสือเล่มนี้ถูกอ่านโดยผู้บริหาร คำว่าคนเก่ง หรือ Talent อาจถูกนิยามไว้ไม่ยาก อาจสรุปได้ง่ายๆ คือ “เขาคือคนที่บริษัทจะทำทุกอย่างเพื่อรักษาไว้”
แต่เมื่อถูกอ่านโดยระดับพนักงาน ย่อมเกิดคำถามกับตัวเองแน่ว่า แล้วเราคืนคนเก่ง หรือคนพอใช้ของบริษัท? และนิยามของคนเก่งคืออะไรกันแน่?
Netflix ไม่ใช่ไม่เคยเอาคนเก่งออก
มีกรณีศึกษาที่ระบุอย่างชัดเจนว่า คนเก่งคนหนึ่ง ถูกให้ออกเพราะ ให้การ feedback (ที่เป็นหนึ่งใน culture สำคัญขององค์กรนั้น) กระทำอย่างไม่ถูกวิธี คือไม่กระทำตามหลัก 4A
หรือคนเก่งคนหนึ่งถูกให้ออกเพราะ เขาไม่ตรงไปตรงมา และขาดความโปร่งใสทางการสื่อสาร รวมทั้งอาจมีการเล่นการเมืองในบริษัทมาเกี่ยวข้อง … ทั้งๆที่เขาคนนั้นสามารถขึ้นมาเป็นระดับบริหารได้
หรือแม้กระทั่ง Netflix ไม่เก็บคนนิสัยแย่ๆ ไว้ในองค์กรโดยยกตัวอย่างว่า พฤติกรรมแย่ของบุคคลเดียว ก็จะทำให้ผลงานของทีมตกต่ำลงได้
นิสัยดีแต่ไม่เก่งงาน หรือแม่กระทั่งการชอบมองแง่ร้าย จะดึงให้ฝึมือการทำงานของทุกคนด้อยลง รวมทั้งการปล่อยให้นิสัยแย่ๆ กระทบต่อทีมเวิร์กมีต้นสูงสูงเกินไป
เมื่อได้อ่านหนังสือเล่านี้จนจบ จึงเกิดการคิดต่อว่า จริงๆ แล้ว สิ่งแวดล้อมที่เต็มไปด้วยคนเก่งของ Netflix ไม่ได้หมายถึง คนที่มี Skillset เก่งๆ มีความสามารถระดับเทพเท่านั้น แต่คนนั้นต้องไม่ใช่คนนิสัยแย่ๆ หรือมี Mindset ที่ดีด้วย อีกทั้งคนเก่ง ก็จะยังถูกทดสอบอยู่เสมอ ด้วยผลงานที่ทำ (โดย Netflix มีนโยบายว่า หากคุณเป็นคนเก่งพอใช้ ก็จะถูกชดเชยก้อนโต หรือชดเชยเพื่อเลิกจ้างนั่นเอง)
โดยสรุป ผู้อ่านจึงคิดว่า คนเก่งจึง = Skillset + Mindset + ผลงานที่ทำ
แล้วNO RULES RULES จะปรับใช้กับตัวคุณ หรือองค์กรในไทยอย่างไร?
คุณอาจกำลังคิดว่า องค์กรของคุณอาจไม่ใช่องค์กรใหญ่ระดับโลก ที่ต้องแข่งขันชิงตัว Talent หรือมีเงินมากพอที่จ่ายให้ Talent เหล่านั้นสูงกว่าคู่แข่งในตลาด
แต่คุณสามารถสร้างสภาพแวดล้อมที่เต็มไปด้วยคนเก่งได้ คือ คนที่เก่งทั้ง Skillset หรืออาจพยายามพัฒนา Skillset และโชว์ความเก่งของเขาจากผลงาน พร้อมทั้ง ยังมีทัศนคติเชิงบวก สามารถพาองค์กรไปต่ออย่างไม่สะดุด
ในขณะเดียวกันหากคุณเป็นพนักงานในองค์กรหนึ่ง ที่ไม่ได้ให้คุณรู้สึกเป็นเพียงแค่พนักงาน แต่ทำให้คุณรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งขององค์กร แน่นอนว่าหนังสือเล่มนี้มีตัวอย่างมากมาย และมันจะปลุกพลังบางอย่าง ที่ทำให้คุณอยากพยายามเป็นคนเก่ง และเป็นคนที่องค์กรจะทำทุกอย่างเพื่อรักษาไว้
โดยสรุปแล้ว ผู้อ่านยังเชื่อว่า หลายองค์กรยังมีพื้นที่สำหรับคนพอใช้ ที่วันนึงจะพัฒนามาเป็นคนเก่งและขับเคลื่อนบริษัทได้แล้วคุณล่ะคิดอย่างไร มาแชร์กันได้ค่ะ