ลีแอนนา ลี ต้องใช้ชีวิตกับภาวะวิตกกังวล (Anxiety) และภาวะซึมเศร้าเฉพาะเหตุการณ์ (Situational Depression) มานานกว่า 15 ปี อีกทั้งยังเผชิญกับโรคเครียดหลังผ่านเหตุการณ์ร้ายแรง (PTSD) ซึ่งจะกระตุ้นให้ทุกอย่างแย่ลงตอนรู้สึกไม่ปลอดภัยหรือกดดัน ส่งผลให้เธอมีอารมณ์แปรปรวนและมีอาการตื่นตระหนก นอกจากนี้ยังป่วยเป็นโรคซึมเศร้าเฉลี่ย 6-8 ครั้งต่อปี ทำให้มีอาการอ่อนเพลีย สมองล้า หรือร้ายแรงที่สุดถึงขั้นอยากจบชีวิตตัวเอง
หลังจากที่ทำงานมาหลายปีและได้เข้ารับการรักษา ลีแอนนา ลี ได้เรียนรู้ว่าจริงๆ แล้วปัญหาสุขภาพจิตช่วยให้เธอทำงานได้ดีขึ้น แต่จะดีขึ้นในแง่ไหนบ้างนั้น เรามาติดตามไปพร้อมๆ กัน
1. ทำให้ตระหนักรู้ในตัวเองมากขึ้น
อาการวิตกกังวลหรือตัวกระตุ้นโรค PTSD สามารถนำไปสู่ภาวะซึมเศร้าได้ง่าย ดังนั้นการเฝ้าติดตามอารมณ์ที่เปลี่ยนแปลงอย่างกะทันหันจึงเป็นเรื่องสำคัญมาก วิธีหนึ่งที่ลีแอนนาใช้เพื่อตรวจหาสาเหตุของความเครียดคือ ‘การตรวจพิจารณาลำไส้’
โดยขั้นตอนการทำเริ่มจากนั่งเงียบๆ สักครู่หนึ่งแล้วดูว่าตัวเองรู้สึกอะไรอยู่ เช่น หวาดผวา คลื่นไส้ ไม่มีสมาธิ เศร้า โกรธ หรือเหนื่อย จากนั้นถามคำถามตัวเองแบบกว้างๆ เช่น “ไปได้ดีหรือเปล่า ความสัมพันธ์เป็นไงบ้าง ทานอาหารหรือพักผ่อนน้อยไปไหม?” ถ้ารู้สึกท้องไส้ปั่นป่วนหรือมีอาการเกร็งที่ท้อง นั่นคือคำตอบ
คำตอบที่ได้จากการตรวจพิจารณาลำไส้เป็นตัวบอกลีแอนนาว่า
- ต้องเริ่มพักผ่อนและดูแลตัวเองได้แล้ว
- ต้องหยุดทำสิ่งที่ทำอยู่และหาวิธีแก้ปัญหาเพื่อให้สมองใจเย็นลงและสามารถโฟกัสเรื่องอื่นได้
- กำลังจะมีปัญหาสุขภาพจิต ดังนั้นต้องจัดตารางงานใหม่และเลิกงานให้เร็วขึ้น
คำตอบอาจไม่ชัดเจนเสมอไป แต่การยอมรับว่าตัวเองรู้สึกอย่างไรเป็นวิธีคลายความวิตกกังวลที่ดีอย่างหนึ่ง เพราะมันทำให้เธอสามารถกลับไปโฟกัสเรื่องงานได้
สำหรับเด็กจบใหม่ที่กำลังวิตกกังวลเพราะว่ายังหางานทำไม่ได้ พลาดไม่ได้กับงาน Tech ConNEXT Job Fair 2022 วันที่ 7-9 กรกฎาคมนี้ ณ True Digital Park ชั้น 6 และ 7 BTS ปุณณวิถี
ลงทะเบียนเข้างานฟรีได้ที่ : https://www.eventpop.me/e/13032/techconnext-job-fair-2022
2. ช่วยให้รู้ว่าทำงานช่วงไหนดีที่สุด
ทุกคนมีนาฬิกาชีวิตแตกต่างกัน หรือที่เรียกว่านาฬิกาชีวภาพ (Circadian Rhythm) ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมร่างกายและจิตใจขณะที่เราตื่น กิน นอน ทำงาน แต่ความวิตกกังวลและความเครียดจะเป็นตัวคอยเล่นกลล่อลวงเรา โดยมันจะบอกให้เราเอาแต่นอน ไม่กินข้าวกินปลา จึงทำให้เกิดปัญหาสุขภาพต่างๆ ตามมาและมีกิจวัตรเปลี่ยนแปลงไป
สัญญาณที่ผสมกันมั่วเหล่านี้ทำให้ลีแอนนาอยากเรียนรู้ธรรมชาติของร่างกายตัวเองมากขึ้นว่า ‘เธอต้องการอะไรและทำงานได้อย่างเต็มที่ตอนไหน’
วิธีหนึ่งในการเรียนรู้ธรรมชาติร่างกายคือการดูว่าตัวเองมีนาฬิกาชีวิตแบบใด ซึ่งการรู้นาฬิกาชีวิตของตัวเองทำให้ลีแอนนาจัดการกับตารางได้อย่างประสิทธิภาพมากขึ้น เพราะทำให้รู้ว่าช่วงเวลาไหนที่มีพลัง อารมณ์ไม่แปรปรวน และช่วงเวลาไหนเธออาจจะเหนื่อยและจดจ่อกับงานยากหากดื้อดึงจะทำโปรเจกต์หรือคุยงานต่อ
3. ทำให้จัดระเบียบตารางการทำงานได้ดีขึ้น
ความเครียดไม่ได้แย่เสมอไป มันเป็นเพียงการตอบสนองต่อสิ่งที่เกิดขึ้นรอบตัวเราเท่านั้น แต่ปัญหาคือถ้าเราปล่อยให้ตัวเองมีความเครียดโดยไม่จัดการอะไรกับมัน อาจส่งผลเสียและนำไปสู่ปัญหาสุขภาพจิตได้ สำหรับลีแอนนาแล้ว การมีปัญหาสุขภาพจิตเรื้อรังเท่ากับการมีภูมิคุ้มกันต่อความเครียดต่ำ
หลังจากมีอาการหมดไฟและประสบภาวะซึมเศร้าในช่วงปี 2020 ลีแอนนาตัดสินใจสังเกตลักษณะการทำงานของตัวเองและสิ่งที่พบคือ
- ช่วงเวลาที่เหมาะกับการทำงานในตอนเช้าและตอนกลางคืน
- จำนวนโปรเจกต์และลูกค้าที่จะโทรคุยสูงสุดต่อวันและสัปดาห์
- กิจกรรมในยามว่างที่ทำให้มีความสุขและมีพลัง
ลีแอนนากล่าวว่าถ้าไม่มีช่วงเวลาที่ตกต่ำหล่านั้น เธอคงไม่คิดที่จะสังเกตอารมณ์ของตัวเองขณะที่ทำงาน แต่เมื่อสุขภาพจิตมีผลต่อการทำงานของเราแล้ว เราก็ควรที่จะติดตามมุมต่างๆ ของชีวิตและหาวิธีที่ช่วยให้เรา Productive มากที่สุดและทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4. ทำให้อยากลองทำงานในแบบต่างๆ
สุขภาพจิตไม่ได้มีแค่ขาวกับดำ ลีแอนนาบอกว่าเธอมีทั้งวันที่ดีและไม่ดี แต่ส่วนมากชีวิตเธอเหมือนเล่นรถไฟเหาะ กล่าวคือ เดี๋ยวมีพลังเดี๋ยวเหนื่อย เดี๋ยวสุขเดี๋ยวไม่แยแส เดี๋ยวตื่นตระหนกเดี๋ยวไม่รู้สึกอะไร
เมื่อเราใช้ชีวิตอยู่กับความไม่แน่นอน สิ่งสำคัญที่ต้องมีคือระบบที่ยืดหยุ่นเพื่อช่วยรักษาสมดุลที่ดีของเรา คือแทนที่จะยึดติดกับตารางเวลาหรือหาว่ามีอะไรผิดปกติ ลีแอนนาจะถามคำถามตัวเองว่า “พร้อมทำงานหรือยัง” เพื่อกำจัดสิ่งที่ตกค้างอยู่ในใจ
บางครั้งคำตอบที่ได้คือ ค่อยเก็บไว้ทำทีหลังหรือทำงานที่ง่ายๆ ก่อน บางครั้งเธอต้องใช้วิธีฉุกเฉินนั่นคือการทำงานเป็นช่วงสั้นๆ แล้วพักนานๆ คือทำแบบนี้จนกว่างานจะเสร็จถึงแม้จะช้าแค่ไหนก็ตาม
การทำแบบนี้อาจใช้ไม่ได้ผลเสมอไป แต่มันทำให้ลีแอนนาผ่านวันที่เธอต้องทำงานไปได้ ดังนั้น เราต้องรู้จักฟังเสียงร่างกายและทำตามจังหวะการทำงานของตัวเอง เพื่อที่เราจะทำสิ่งต่างๆ ได้สำเร็จโดยไม่กระทบต่อสุขภาพ
แน่นอนว่าแต่ละคนมีสุขภาพจิตแตกต่างกัน การที่เราจะหาความสมดุลที่เหมาะกับตัวเองได้จะต้องใช้เวลา หากเพื่อนๆ คนไหนที่กำลังมีความวิตกกังวลอยู่ก็ลองนำเทคนิคของคุณลีแอนนา ลี ไปลองใช้ดูเพื่อพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาสสำหรับการทำงานที่ดีขึ้นของเรา
เขียนโดย Parinya Putthaisong
อ้างอิง fastcompany