คำถามที่เรามักจะได้ยินบ่อยๆ ในกลุ่มคนที่อยากเปลี่ยนสายงาน คือ “เราจะเริ่มจากตรงไหนดี” เพราะคนเรามักจะกลัวกับการเปลี่ยนแปลงทั้งรูปแบบงานการทำงานหรือการย้ายบริษัทโดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเปลี่ยนสายงานจากอีกสายงานหนึ่งเป็นอีกสายงานหนึ่ง
สิ่งที่ดีในการเริ่มต้นของคนที่กำลังอยากจะเปลี่ยนสายงาน คือ ค้นหาสิ่งที่ตัวเองสนใจ เก็บเกี่ยวผลงานในสายงาน ทักษะติดตัวอะไรที่สามารถเชื่อมโยงกับงานต่อไปที่คุณกำลังตามหาอยู่ จากนั้นค้นหาอาชีพที่คุณสามารถพัฒนาทักษะที่มีอยู่ให้ดีขึ้น วันนี้ ConNEXT จะมาเสนอ 6 วิธีเริ่มต้นของการเปลี่ยนสายงาน ไปดูกัน!
1. Networking คือสิ่งสำคัญ
เน็ตเวิร์คกิ้ง (Networking) คือ การสร้างความสัมพันธ์และแลกเปลี่ยนข้อมูลให้กันและกัน ซึ่ง LinkedIn ถือว่าเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ดีในการหาโอกาสงานในตลาดแรงงานและสร้างคอนเนคชั่นใหม่ๆ เพราะเราจะได้มีโอกาสคุยกับคนที่ทำงานภายในสายงานที่เรากำลังสนใจอยู่ อย่ากลัวที่จะขอความช่วยเหลือ เพราะทุกคนภายใน Networking พร้อมที่จะช่วยเหลือคุณเสมอ
2. มั่นใจในสิ่งที่คุณต้องการจริงๆ
สิ่งที่คุณต้องรู้ในการหางานใหม่ คือ คุณต้องการอะไรมากที่สุดในสายงานที่คุณกำลังมองหา เช่น Work-Life Balance การพัฒนาความเป็นผู้นำ การขึ้นเงินเดือน เป็นต้น ทำความเข้าใจให้ชัดเจนว่าคุณต้งการอะไรจากสายงานนั้นและใช้สิ่งเหล่านั้นเพื่อมองหาโอกาสใหม่ๆ ที่กำลังรอคุณอยู่
3. มุ่งเน้นไปที่ความชอบของคุณ
ลองถามตัวเองว่าคุณสนใจสายอาชีพในด้านใด? ด้านสุขภาพ ด้านเทคโนโลยีการเงิน หรือด้านอื่นๆ มีโอกาสใดบ้าง ภายในสายงานนั้นหรือมีใครภายใน Networking ที่คุณสามารถสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับสายงานนั้นได้บ้าง ถ้าหากคุณยังไม่มั่นใจภายในสายงานที่คุณสนใจว่ามันเหมาะกับคุณหรือไม่ อาจจะลองหาคอร์สเรียนหรือ Workshop เพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับสายงานนั้นจากผู้ที่มีประสบการณ์โดยตรงว่ามีวิธีการทำงานแบบไหน ตรงกับความชอบของคุณหรือไม่
4. ดูความต้องการของตลาดแรงงาน
ศึกษาตลาดแรงงานภายในประเทศว่าตอนนี้มีแนวโน้มการจ้างงานอย่างไร? อาชีพไหนกำลังมาแรงเพื่อดูทักษะที่จำเป็นต่องานนั้นๆ ว่าสามารถศึกษาอะไรเพิ่มเติมได้บ้างในสายงานที่คุณกำลังสนใจ ค้นหาแหล่งการเรียนรู้เสริมทักษะไม่ว่าจะเป็นคอร์สเรียนออนไลน์หรือการอบรมต่างๆ เมื่อรู้แล้วว่าเราต้องฝึกทักษะใดก็เริ่มเรียนได้เลย!
5. เผื่อเวลาและทำใจกับการหางานใหม่ที่อาจจะใช้เวลานาน
การเปลี่ยนสายอาชีพ อาชีพนั้นก็อาจจะกลายมาเป็นอาชีพหลักของเราไปโดยปริยาย อย่าลืมจัดสรรเวลาในการหางานใหม่ เพื่อไม่ให้มันกลายเป็นส่วนหนึ่งกับกิจวัตรประจำวันของคุณ บางทีการหางานอาจใช้เวลานานกว่าที่คุณคิดอย่างน้อยที่สุดก็ประมาณ 6 เดือน เพราะฉะนั้นคุณจะต้องประหยัดค่าใช้จ่ายเผื่อในกรณีที่ใช้เวลานานในการได้งานถัดไป
6. สุดท้ายนี้อย่าเชื่อความคิดภายในหัวของคุณ
Imposter Syndrome หรือโรคที่รู้สึกว่าตัวเองนั้นไม่เก่งพอหรือไม่มีความมั่นใจในตัวเองนั้นมีอยู่จริง ระวังความคิดที่อยู่ภายในใจที่อาจมาด้อยศักยภาพหรือความสามารถของตนเอง ลองลิสต์สิ่งที่คุณภูมิใจภายในอาชีพหรือความสำเร็จที่คุณเคยทำมาในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา กลับไปอ่านทบทวนเรื่อยๆ เวลาที่คุณสงสัยในความสามารถของตัวเองเพราะคุณจะได้เห็นผลงานเป็นชิ้นเป็นอันของคุณที่จะทำให้คุณรู้ว่าคุณมีความสามารถมากขนาดไหนเพื่อทำให้ความมั่นใจของคุณนั้นกลับมา
สามารถอ่านบทความเกี่ยวกับ Imposter Syndrome ต่อได้ที่ : เคยไหม? ที่รู้สึกว่าตัวเองไม่เก่งอะไรสักอย่าง รู้จักกับ ‘Impostor syndrome’ ที่จะทำให้เราเข้าใจตัวเองมากขึ้น
เพราะฉะนั้นหากใครที่กำลังต้องการที่จะเปลี่ยนสายงาน ขอให้บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยแนะนำให้คุณตัดสินใจได้ง่ายมากขึ้นว่าสามารถเริ่มต้นจากตรงไหนได้บ้าง การเริ่มต้นใหม่อาจจะไม่ได้ราบรื่นและพบเจออุปสรรคบ้าง เพราะฉะนั้นหมั่นให้เวลากับตัวเองเสมอและเพิ่มทักษะในสายงานที่คุณสนใจเพื่อเพิ่มโอกาสใหม่ๆ ให้มากขึ้น
เขียนโดย Nichaphat Srijumpa
อ้างอิง : girlboss