เป็น Content Creator ดีจริงไหม? ส่องโลกอีกด้านอาชีพยอดฮิตของคนรุ่นใหม่ | Techsauce
talentsauce logo
ฝากประวัติ ค้นหา Tech Talent Talent Insights Job Hack Life Hacks News Video Podcast
เป็น Content Creator ดีจริงไหม? ส่องโลกอีกด้านอาชีพยอดฮิตของคนรุ่นใหม่
By Connext Team สิงหาคม 24, 2022
share facebook icon share facebook icon hover share x icon share x icon hover share line icon share line icon hover share icon share icon hover

รู้หรือไม่ว่า หนึ่งในอาชีพที่คนรุ่นใหม่อยากเป็นมากเป็นอันดับต้นๆ คือ YouTuber ?

คนที่มีอายุระหว่าง 18 ถึง 26 ปี กำลังหันมาใช้การสร้างคอนเทนต์เป็นแหล่งรายได้หลัก ทีนี้หลายคนอาจจะสงสัยว่าจริงๆ แล้วเส้นทางอาชีพนี้ดีจริงไหม? มีความมั่นคงมากน้อยแค่ไหน? มองจากภายนอกแล้วจะเห็นได้ว่าวงการนี้เป็นวงการที่น่าสนใจ แต่จริงๆ แล้วนั้นมีปัญหาหลายอย่าง เช่น เรื่องช่องว่างรายได้ระหว่างเพศ เชื้อชาติ และความทุพพลภาพ รวมถึงมีปัญหาสุขภาพจิตร่วมด้วย ดังนั้นคนรุ่นใหม่ที่สนใจก้าวเข้าสู่การเป็นอินฟลูเอนเซอร์ควรศึกษาและเตรียมตัวรับมือไว้

การที่อินฟลูเอนเซอร์ที่ประสบความสำเร็จเคลมว่าใครๆ ก็สามารถทำงานในวงการนี้ได้ เป็นเรื่องที่สามารถพูดได้ง่ายๆ เนื่องจากตัวเองประสบความสำเร็จแล้ว แต่ในความเป็นจริงมีเพียงไม่กี่คนเท่านั้นที่จะสามารถกอบโกยเงินจากการเป็นอินฟลูเอนเซอร์ได้

Content Creator

ช่องว่างรายได้ที่ต่างกัน

Brooke Erin Duffy ผู้เชี่ยวชาญด้าน Social Media Economy ได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับอาชีพบล็อกเกอร์แฟชั่น บล็อกเกอร์ด้านความงาม และนักออกแบบ เธอได้เปิดเผยว่ามีช่องว่างรายได้ระหว่าง ‘อินฟลูเอนเซอร์ที่ประสบความสำเร็จแล้ว’ กับ ‘คนอื่นๆ ที่พยายามจะเป็นอินฟลูเอนเซอร์’ 

จากรายงานโดย DCMS พบว่าความเหลื่อมล้ำในการจ่ายค่าจ้างเป็นประเด็นสำคัญในอุตสาหกรรมอินฟลูเอนเซอร์ ไม่ว่าจะเป็นช่องว่างรายได้ระหว่างเพศ เชื้อชาติ หรือความทุพพลภาพ โดยในกลุ่ม MSL ที่เป็นบริษัทประชาสัมพันธ์ระดับโลก ก็พบว่ามีช่องว่างรายได้ระหว่างอินฟลูเอนเซอร์ที่เป็นคนขาวกับคนดำถึง 35%

รายงาน DCMS ยังระบุอีกว่า อินฟลูเอนเซอร์ที่เป็นฟรีแลนซ์ มักจะเจอกับรายได้ที่ได้ไม่สอดคล้องกับงานที่ทำ อีกทั้งยังไม่ได้รับการคุ้มครองเหมือนอย่างพนักงานประจำ เช่น สิทธิในการได้รับค่าจ้างเมื่อป่วย

การเป็นอินฟลูเอนเซอร์มีความเสี่ยงมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะเป็นอุตสาหกรรมที่ไม่มีมาตรฐาน ไม่มีความโปร่งใสในการจ่ายค่าจ้าง อีกทั้งยังถูกทำให้คิดว่างานของตนเองไม่มีคุณค่ามากพอ ซึ่งนำไปสู่การประเมินค่าความคิดสร้างสรรค์ของตัวเองต่ำไป จนสุดท้ายหลายคนก็จบลงด้วยการทำงานให้ฟรีๆ

ภัยคุกคามของการเป็น Content Creator

อินฟลูเอนเซอร์ต้องทำงานภายใต้อัลกอรึธึม ซึ่งเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์เบื้องหลังที่คอยกำหนดว่าจะแสดงโพสต์ไหนให้ผู้ใช้เห็น สิ่งนี้ทำให้เกิด “เกมแห่งการมองเห็น” เนื่องจากอินฟลูเอนเซอร์จะต้องทำทุกวิถีทางเพื่อให้โพสต์ของตนเองไม่โดนปิดกั้น เช่น การโพสต์บ่อยๆ ให้คอนเทนต์ของตัวเองขึ้นหน้าฟีด

ด้วยภัยคุกคามนี้เองที่ทำให้ Content Creator รู้สึกว่าตัวเองต้องอยู่กับความไม่มั่นคงอยู่ตลอดเวลา เพราะต้องอยู่ภายใต้แรงกดดันของอัลกอริธึม และไม่รู้ว่าโพสต์ของตัวเองจะถูกปิดกั้นหรือไม่ และเพราะอะไร

วิกฤตสุขภาพจิต

การที่ทุกอย่างเริ่มเปลี่ยนมาสู่โลกออนไลน์มากขึ้นทำให้เกิดปัญหาใหญ่ในวงการอินฟลูเอนเซอร์ นั่นคือ ปัญหาสุขภาพจิต เนื่องจากอินฟลูเอนเซอร์สามารถเชื่อมต่อกับพื้นที่การทำงานของแพลตฟอร์มและผู้ชมได้ตลอดเวลา ทำให้หลายคนไม่สามารถแยกระหว่างชีวิตการทำงานและชีวิตส่วนตัวได้อย่างชัดเจน รวมถึงยังกลัวโดนปิดกั้นการมองเห็น ทั้งหมดนี้ทำให้อินฟลูเอนเซอร์ต้องทำงานมากเกินไปและเผชิญกับปัญหาสุขภาพจิต เช่น ภาวะหมดไฟในการทำงาน 

นอกจากนี้อินฟลูเอนเซอร์ยังเสี่ยงที่จะถูกล่วงละเมิดทางโลกออนไลน์เป็นอย่างมาก ทั้งในเรื่องรูปลักษณ์หรือคอนเทนต์ที่โพสต์ (และไม่ได้โพสต์) จนอาจนำไปสู่ปัญหาทั้งทางสุขภาพกายและสุขภาพจิต เช่น โรคซึมเศร้า ความวิตกกังวล โรคไม่ชอบรูปร่างหน้าตาของตัวเอง และความผิดปกติของการกิน

แม้ว่าการเป็นอินฟลูเอนเซอร์จะดูน่าสนใจและเติบโตขึ้นเรื่อยๆ แต่คนที่อยากก้าวเข้าสู่วงการนี้จะต้องทำความเข้าใจโลกอีกด้านของการเป็นอินฟลูเอนเซอร์ให้ดีก่อน เพื่อที่จะได้รู้เท่าทันและร่วมกันผลักดันการปรับปรุงกฎเกณฑ์การจ้างงานและเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมการทำงานให้มีมาตรฐานมากยิ่งขึ้น

อ้างอิง BBC

No comment

คัดลอก URL

×

https://techsauce.co/talentsauce/talent-insights/the-downsides-of-being-a-content-creator