หลังจากที่โลกผ่านมรสุมจากวิกฤตโรคระบาด ส่งผลให้รูปแบบการทำงานของเราทุกคนเปลี่ยนไปอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน แล้วคุณเคยสงสัยไหมว่าในอนาคตรูปแบบการทำงานจะมีการเปลี่ยนแปลงอีกไหมหรือจะมีการเปลี่ยนแปลงไปทิศทางไหน? ยิ่งในปัจจุบันหลายบริษัทมีการนำเทคโนโลยีหรือระบบ AI เข้ามาช่วยในการทำงาน ยิ่งทำให้เกิดคำถามว่าปัญญาประดิษฐ์หรือ Artificial Intelligence (AI) รวมถึงเทคโนโลยีอื่นๆ จะเข้ามาแทนที่หรือมีบทบาทในสายงานของเราจนทำให้เราต้องตกงานหรือเปล่า?
Satya Nadella ผู้บริหารของ Microsoft Corp. กล่าวว่า เมื่อ AI มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง รวมถึงพฤติกรรมของมนุษย์ที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ทำให้โลกของการทำงานจะไม่หยุดนิ่งเหมือนเช่นเคย เพราะอาจมีรูปแบบการทำงานใหม่ๆ ที่เกิดขึ้น ซึ่งวันนี้ ConNEXT จะพาไปรู้จักกับเทรนด์การทำงาน 3 แบบที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
1. จะเกิดอาการ paranoid กับงานที่ทำ
Productivity Paranoia หรือความหวาดระแวงจากบรรดาผู้นำ ที่คิดว่าพนักงานทำงานในรูปแบบ Hybrid หรือ Work From Home จะทำให้งานมีคุณภาพน้อยกว่าการทำงานในออฟฟิศ แต่ถึงอย่างนั้น Productivity Paranoia ไม่ได้ทำให้อาการ Burn out หรือการหมดไฟในการทำงานแย่ลงเพียงเท่านั้น แต่ยังทำให้การทำงานแบบ Hybrid ไม่มีความแน่นอนอีกด้วย เพราะการกลับมาทำงานภายในออฟฟิศเต็มเวลาก็ไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาการหมดไฟในการทำงานเช่นกัน
งานวิจัยของ Microsoft กล่าวว่า ในการแก้ปัญหาอาการ Burn out เริ่มจากการมีเป้าหมายการทำงานมี่ชัดเจน พนักงานกว่า 81% มองว่าการที่หัวหน้าช่วยจัดลำดับความสำคัญของงานเป็นสิ่งสำคัญเพราะจะช่วยให้เป้าหมายของการทำงานนั้นชัดเจนมากขึ้นและลดอาการ Burn out ได้
2. มี AI เป็นผู้ช่วย
Machine Learning หรือการทำให้ระบบคอมพิวเตอร์เรียนรู้ได้ด้วยตัวเอง กำลังพัฒนาด้านความรู้ความเข้าใจและความคิดสร้างสรรค์ที่ซับซ้อนให้พร้อมสำหรับการทำงานอัตโนมัติมากยิ่งขึ้น ซึ่งการปรับใช้เทคโนโลยีนี้เพื่อช่วยให้มนุษย์ทำอะไรได้มากกว่าเดิม
ในปัจจุบันนักพัฒนาซอฟต์แวร์อาจใช้ Generative AI เพื่อเขียนโค้ดประมาณ 80% แต่ไม่ได้หมายความว่ามนุษย์ไม่ต้องการเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่ช่วยแบ่งเบางานในส่วนนี้ สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Generative AI ได้ที่ : Generative AI คืออะไร ทำไมถึงโดดเด่นกว่า AI ทั่วไป มุมมองความเป็นไปได้ในอนาคต
3. พนักงานที่มี 10 soft skills เหล่านี้จะเป็นที่ต้องการมากขึ้น
การแก้ไขปัญหา (Problem Solving)
ทักษะการแก้ไขปัญหาเป็นทักษะที่ค่อนข้างซับซ้อนและไม่ใช่ใครก็สามารถใช้ทักษะนี้ได้ดี แต่เป็นทักษะที่สามารถพัฒนาได้ แค่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสายอาชีพของเราด้วย ซึ่ง 5 ทักษะในประเภทนี้ ได้แก่
- การคิดวิเคราะห์และนวัตกรรม
- การแก้ปัญหาที่ซับซ้อน
- การคิดเชิงวิพากษ์และการวิเคราะห์
- ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
- การใช้เหตุผล การแก้ปัญหาและความคิด
การจัดการตนเอง (Self-Management)
คุณและพนักงานในองค์กรอาจทำผิดพลาดในสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ซึ่งการทำงานและข้อผิดพลาดเป็นของคู่กันเสมอ นี่คือเหตุผลว่าทำไมการจัดการตนเองจึงเป็นสิ่งที่สำคัญ เพราะทักษะในประเภทนี้จะช่วยรักษาจิตใจของคุณให้ทำงานต่อไปได้ ซึ่งมี 2 ทักษะด้วยกันดังนี้
- การเรียนรู้เชิงรุกและกลยุทธ์การเรียนรู้
- ความยืดหยุ่นและความอดทนต่อความเครียด
การทำงานร่วมกับผู้อื่น (Working with People)
หนึ่งทักษะที่สำคัญมากในการทำงานนั่นก็คือ การทำงานร่วมกับคนอื่น ถึงแม้ว่าเทคโนโลยีจะเข้ามามีบทบาทมากขึ้น แต่คุณก็ยังคงต้องติดต่อสื่อสารกับผู้คนอยู่ ไม่ว่าจะเป็นเพื่อนร่วมงานหรือลูกค้าเองก็ตาม ทักษะด้านอารมณ์จึงเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งทักษะนั้นคือ
- ความเป็นผู้นำและอิทธิพลทางสังคม
การใช้และพัฒนาเทคโนโลยี (Technology Use and Development)
ทักษะด้านเทคโนโลยีจะเข้ามามีบทบาทมากในอนาคต แต่ไม่ใช่แค่ทักษะในการเขียนโปรแกรมเท่านั้น ยังต้องอาศัยทักษะอื่นๆ เช่น ความเข้าใจ การใช้งานและวิธีการควบคุม เพื่อช่วยให้คุณเข้าใจว่าคุณสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและคล่องตัวกับเทคโนโลยีมากยิ่งขึ้น มี 2 ทักษะด้วยกัน
- การใช้ การตรวจสอบและการควบคุมเทคโนโลยี
- การออกแบบเทคโนโลยีและการเขียนโปรแกรม
สุดท้ายนี้ 3 เทรนด์การทำงานในอนาคตเตรียมพร้อมไว้สำหรับการปฏิวัติการทำงาน การเสริมสร้างทักษะของการทำงานจะช่วยให้คุณปรับตัวเข้ากับโลกแห่งการทำงานที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว เพื่อให้การทำงานของคุณมีประสิทธิภาพและเรียบง่ายมากยิ่งขึ้น
เขียนโดย : Nichaphat Srijumpa