ตอนนี้ ประเทศไทยมีผู้ให้บริการ e-Money ทั้งหมดกี่รายแล้ว? | Techsauce

ตอนนี้ ประเทศไทยมีผู้ให้บริการ e-Money ทั้งหมดกี่รายแล้ว?

จาก Section "Introduction CTC2018 & 2018 Trends : ENTREPENEUR" ในงาน Creative Talk Conference 2018 คุณพรทิพย์ กองชุน COO Jitta ได้แสดงถึงความกังวลต่อผู้ให้บริการ e-Wallet, e-Payment หรือ e-Money ที่มีเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้ผู้บริโภคต้องดาวน์โหลดแอปพลิเคชันของแต่ละผู้ใช้บริการมาใช้เป็นจำนวนมากตามไปด้วย

คำถามที่ชวนคิดและชวนไปค้นหาข้อมูลต่อคือ "ตอนนี้มีผู้ให้บริการดังกล่าวอยู่กี่ราย?" เราจะพาไปหาคำตอบกันครับ

คุณพรทิพย์ กองชุน COO Jitta / Photo: Creative Talk Conference 2018

คำตอบต้องไปดูในเว็บไซต์ธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ แบงก์ชาติ กันครับ ...แต่ก่อนอื่น ๆ พาไปดูคำนิยามของ "เงินอิเล็กทรอนิกส์" หรือ "e-Money" โดยแบงก์ชาติให้คำนิยามว่า

“เงินอิเล็กทรอนิกส์” (e-Money) หมายถึง มูลค่าเงินที่บันทึกในชิพคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในบัตรพลาสติก หรือเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ เช่น โทรศัพท์มือถือ หรือเงินที่อยู่ในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เป็นต้น โดยผู้ใช้บริการได้ชำระเงินล่วงหน้าแก่ผู้ให้บริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ และผู้ใช้บริการสามารถนำไปใช้ชาระค่าสินค้า ค่าบริการแทนการชำระด้วยเงินสดตามร้านค้าที่รับชำระ

ซึ่งผู้ประกอบธุรกิจบริการการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือ e-Money แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ

  • e-Money บัญชี ก - เป็นการให้บริการการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ ที่ใช้ซื้อสินค้าหรือรับบริการเฉพาะอย่างตามรายการที่กำหนดไว้ล่วงหน้าจากผู้ให้บริการเพียงรายเดียว นอกจากนี้ มีผู้ให้บริการที่ได้รับยกเว้น เช่น บัตร e-Money ที่ใช้ซื้ออาหารในศูนย์อาหารตามห้างสรรพสินค้า
  • e-Money บัญชี ข - เป็นการให้บริการการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ ที่ใช้ซื้อสินค้าหรือบริการจากผู้ให้บริการหลายราย ณ สถานที่ที่อยู่ภายใต้ระบบการจัดจำหน่ายและการให้บริการเดียวกัน ได้แก่
    • ธุรกิจ Franchise หรือตัวแทนการจัดจำหน่าย ซึ่งมีสัญลักษณ์หรือเครื่องหมายการค้าเดียวกัน เช่น ปั๊มน้ามัน
    • ธุรกิจที่มีรูปแบบการให้บริการเดียวกัน เช่น ระบบขนส่งมวลชน
    • ธุรกิจที่อยู่ภายใต้การดำเนินนโยบาย บริหารจัดการในลักษณะกลุ่มเดียวกัน เช่น กิจการในเครือ
    • ธุรกิจที่ประกอบกิจการอยู่ในบริเวณหรือพื้นที่การจัดจำหน่ายเดียวกัน เช่น ศูนย์การค้า
  • e-Money บัญชี ค - เป็นการให้บริการการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ ที่ใช้ซื้อสินค้าหรือบริการจากผู้ให้บริการหลายราย โดยไม่จำกัดสถานที่และไม่อยู่ภายใต้ระบบการจัดจำหน่ายและการให้บริการเดียวกัน เช่น การนำไปใช้ชำระค่าสินค้า/ค่าบริการที่จำหน่ายผ่านเว็บไซต์ต่าง ๆ ทางอินเทอร์เน็ต หรือตามร้านค้าที่รับชำระด้วย e-Money เป็นต้น

ข้อมูลจากแบงก์ชาติ เมื่อ 14 ธันวาคม 2560 ระบุว่ามีผู้ให้บริการอยู่เป็นจำนวน 30 ราย แบ่งออกได้ดังนี้

  • e-Money บัญชี ก มี 1 ราย ได้แก่
    • บริษัท พีทีที ไอซีที โซลูชั่นส์ จำกัด (ชื่อทางการค้า: BTT Blue Card)
  • e-Money บัญชี ข มี 7 ราย ได้แก่
    • บริษัท จีพีซีเอ็ม กรุ๊ป จำกัด (ชื่อทางการค้า: ไอแอมบีทู/I am B2)
    • บริษัท เชฟรอน (ไทย) จำกัด (ชื่อทางการค้า: star CASH)
    • บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (ชื่อทางการค้า: BEM, M)
    • บริษัท เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป จำกัด (มหาชน) (ชื่อทางการค้า: MCASH)
    • บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (ชื่อทางการค้า: BTS Sky Smartpass)
    • บริษัท สรรพสินค้าเซ็นทรัล จำกัด (ชื่อทางการค้า: Central Gift Card)
    • บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน) (ชื่อทางการค้า: ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน, ศูนย์การค้าโรบินสันไลฟ์สไตล์)
  • e-Money บัญชี ค
    • ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (ชื่อทางการค้า: บัตรเงินสดเชลล์)
    • ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) (ชื่อทางการค้า: KTB e-Money Card, KTB e-Money Gift Card, Welfare Card/บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ)
    • ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) (ชื่อทางการค้า: Krungsri Gift Card)
    • ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) (ชื่อทางการค้า: K+ WALLET, K-Cash Card, PTT TOP-UP CARD, PTT Privilege Card, Bangchak Cash Card)
    • ธนาคารทหารไทย จำกัด (มหาชน) หรือ TMB (ชื่อทางการค้า: ESSO Prepaid Card, PTT Top up Card, PTT Prepaid Plus Card, Bangchak Prepaid Card)
    • ธนาคารทิสโก้ จำกัด (มหาชน) (ชื่อทางการค้า: TISCO Direct Purse)
    • ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) (ชื่อทางการค้า: SCB Virtual Prepaid Card, SCB CASH, SCB EASY APPLICATION, SCB UP2ME)
    • ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย) จำกัด (มหาชน)
    • บริษัท ทรู มันนี่ จำกัด (ชื่อทางการค้า: True Money Wallet)
    • บริษัท ทีทูพี จำกัด (ชื่อทางการค้า: DeepPocket, Samsung Galaxy Gift Card)
    • บริษัท ทูซีทูพี พลัส (ประเทศไทย) จำกัด (ยังไม่มีชื่อทางการค้า)
    • บริษัท ไทยสมาร์ทคาร์ด จำกัด (ชื่อทางการค้า: Thai Smart Card Co., Ltd., Smart Purse, Smart Plus, all smart pay)
    • บริษัท บางกอก สมาร์ทการ์ด ซิสเทม จำกัด (ชื่อทางการค้า: แรบบิท/rabbit)
    • บริษัท เพย์สบาย จำกัด (ชื่อทางการค้า: Paysbuy)
    • บริษัท ฟอร์ท สมาร์ท เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) (ชื่อทางการค้า: Be Wallet, บุญเติม)
    • บริษัท แรบบิท-ไลน์ เพย์ จำกัด (ชื่อทางการค้า: Rabbit LINE Pay)
    • บริษัท เอ็มโอแอล เพย์เมนท์ จำกัด (ชื่อทางการค้า: zGoldMOLPoints, โซนี่ เพลย์สเตชั่นพลัส, โซนี่ เพลย์สเตชั่น พรีเพดการ์ด)
    • บริษัท แอดวานซ์ เมจิคการ์ด จำกัด (ชื่อทางการค้า: บริษัท แอดวานซ์ เมจิคการ์ด จำกัด)
    • บริษัท แอดวานซ์ เอ็มเปย์ จำกัด (ชื่อทางการค้า: บริษัท แอดวานซ์ เอ็มเปย์ จำกัด, mPAY)
    • บริษัท แอร์เพย์ (ประเทศไทย) จำกัด (ชื่อทางการค้า: AirPay)
    • บริษัท ไอพี เพย์เมนท์ โซลูชั่น จำกัด (ชื่อทางการค้า: PayforU)
    • บริษัท เฮลโลเพย์ จำกัด (ชื่อทางการค้า: LAZADA WALLET powered by helloPay)

สุดท้าย คุณพรทิพย์ ให้แสดงความเห็นว่า "ในอนาคตอาจจะมี Startup เข้ามาแก้ปัญหา [ผู้ให้บริการ e-Money ที่มีมากราย] ตรงนี้"

อ้างอิงข้อมูลจากธนาคารแห่งประเทศไทย (1), (2), (3) และ (4)

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ทำไมคนสหรัฐฯ เดือดร้อนกับการแบน TikTok ? 3 เหตุผลที่ TikTok สำคัญกับชาวสหรัฐฯ มากกว่าที่คิด

เจาะลึก 3 เหตุผลที่การแบน TikTok อาจส่งผลกระทบต่อชาวอเมริกันมากกว่าที่คิด ทั้งด้านเศรษฐกิจ อาชีพ และการเชื่อมโยงในยุคดิจิทัล...

Responsive image

รู้จัก Physical AI เอไอยุคใหม่ที่ Jensen Huang กล่าวถึงคืออะไร ? มีประโยชน์อย่างไร ?

หนึ่งในไฮไลต์สำคัญของงาน CES 2025 คือการที่ Jensen Huang ซีอีโอของ NVIDIA ได้มีการพูดถึงยุคต่อไปของ AI นั่นก็คือ ‘Physical AI’ ซึ่งนับเป็นความก้าวหน้าครั้งสำคัญยิ่งที่ AI กำลังจะเข...

Responsive image

4 เทรนด์เทคโนโลยีสุดล้ำที่อาจเปลี่ยนโลกจาก CES 2025

สำรวจเทรนด์เทคโนโลยีล่าสุดจาก CES 2025 ตั้งแต่ AI อัจฉริยะ ยานยนต์ล้ำสมัย ไปจนถึงการพัฒนาชิปกราฟิกและเทคโนโลยีหน้าจอแห่งอนาคตที่เปลี่ยนโฉมการใช้ชีวิตประจำวัน!...