Vonder ประกาศรับเงินลงทุนจาก Angel Investor คุณพงษ์ศักดิ์ ตระกูลสุข และ follow-on funding จาก StormBreaker Venture รวม 4 ล้านบาท ตั้งเป้าเติบโตขึ้น 3X เท่า เตรียมพร้อมสู่ Series A ใน 12 เดือน พร้อมรุกตลาด B2B Corporate Training สำหรับ HR องค์กรขนาดใหญ่และ SME รวมถึง ตลาด Education มุ่งเป้าเป็นบริษัทผลิตสื่อการเรียนรู้ Microlearning ระดับภูมิภาค โดยเงินระดมทุนในครั้งนี้จะนำไปพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ที่ตอบโจทย์ลูกค้า และจะเป็นผลิตภัณฑ์ที่ขยายไปต่างประเทศ สร้างชื่อ EdTech ไทยก้าวสู่ระดับโลก
Vonder คือ EdTech Startup ให้บริการแพลตฟอร์ม HRD (Human Resource Development) และสื่อการเรียนรู้แบบ Microlearning แปลงเนื้อหาที่ยากและน่าเบื่อ ให้มีขนาดสั้นและเรียนสนุกเหมือนเล่นเกมส์ สามารถใช้ได้กับเนื้อหาทุกรูปแบบ ทั้งในภาคการศึกษาและการเทรนพนักงาน โดย HR สามารถเลือกที่จะสร้าง content เองก็ได้ หรือ ให้ทีม Vonder ช่วยแปลง content ที่มีอยู่ให้เป็นรูปแบบ Microlearning บทเรียนขนาดสั้นและเกมส์ หัวข้อยอดนิยมในองค์กร เช่น ภาษี 101 สำหรับพนักงาน การเทรนพนักงานขายเรื่องผลิตภัณฑ์ใหม่ กฎระเบียบที่ทุกคนต้องรู้ ขั้นตอนการทำงาน
นอกจากนี้ยังมีเครื่องมืออื่น ๆ ที่ช่วยงาน HR เช่น Vonder FAQ Manager ซึ่งเป็น Chatbot ช่วยตอบคำถามพนักงาน Vonder Pulse Survey ช่วยให้ HR สามารถส่ง survey ให้ทุกคนในองค์กรได้ง่ายขึ้น และเปลี่ยนการตอบแบบสอบถามที่จำเจให้เป็นเหมือนการเล่นเกมส์เก็บคะแนน
Vonder ก่อตั้งในปี 2018 มีรายได้หลักล้านและกำไรตั้งแต่ปีแรก เติบโตขึ้นทุกเดือน และยังมีแนวโน้มเติบโตอย่างต่อเนื่องด้วยการสนับสนุนจากฐานลูกค้าที่เหนียวแน่น ตัวอย่างลูกค้าของ Vonder ได้แก่ TCP, ธนาคารกสิกรไทย, ธนาคารไทยพาณิชย์, MBK Group, Banpu และอีกมากมายอย่าง คุณพงษ์ศักดิ์ CEO Promaid เอง ที่ลงทุนในรอบนี้ก็เริ่มมาจาก การเป็นลูกค้าของ Vonder มีการนำ Product ไปใช้ในองค์กร และอบรมแม่บ้าน แล้วเห็นศักยภาพที่สามารถไปต่อได้อีกไกล จึงสนใจลงทุนสนับสนุน นอกจากนี้ Vonder ยังชนะการแข่งขัน EdTechX Asia ได้รับเลือกเป็นตัวแทนประเทศไทยไปแข่งขันต่อในงาน EdTechX Global Summit กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษอีกด้วย
จุดแข็งของผลิตภัณฑ์ Vonder ที่ต่างจากการเรียนรู้อื่น ๆ แบบเห็นได้ชัดเลยคือความง่ายและสนุก เข้าถึงได้ง่าย จะเล่นบน LINE, Facebook หรือแพลตฟอร์มใดก็ได้ ทำให้สามารถเข้าถึงคนได้จำนวนมาก อย่างทาง TCP เองก็นำไปใช้กับทั้งพนักงานโรงงานและพนักงานออฟฟิศ ทาง MBK Group ก็ใช้กับทั้งพนักงานร้านค้า พนักงานออฟฟิศ รวมไปถึงแม่บ้าน รปภ. ที่เข้ามาเรียนกันหมด
คุณพงษ์ศักดิ์ ตระกูลสุข Angel Investor, CEO Promaid บริษัทชั้นนำ ทางด้านงาน HORECA staff outsourcing ของไทย กล่าว “ผมเชื่อในวิสัยทัศน์และความสามารถของ Founder คุณชิน ที่วาง Business Concept ให้เป็นแบบ Exponential อย่างแท้จริง โดยการนำเอา AI เข้ามาใช้งาน ซึ่งหายากมาก ในบรรดา Startup เมืองไทยในช่วงปี 2561 รวมถึง Character ที่สำคัญของ Billion-dollar-app Leader หลายประการ ไม่ว่าจะเป็น Great (and consistent) passion, Adaptive capability, Customer centric และ Talent magnet ที่ทำให้ Vonder มีทีม developer ที่ไฟแรงที่ทั้งเก่ง technical และมี passion ด้านการศึกษา สำหรับการเติบโตในอนาคตของ Vonder ผมขอชมคุณชิน ที่วาง Path และ Pivot ได้ดีมาก ๆ ที่ลำบากในตอนต้นในการปั้น Model ให้เป็น exponential ได้สำเร็จ ซึ่งยากมาก ๆ ณ วันนี้ Vonder สามารถ Pivot ตัวเองมาเป็น SaaS ENTERPRISE ซึ่งก็ทำได้ดีมาก ๆ ถึงแม้ว่าการจะปั้นให้ Startup ไทยไปถึงความเป็น Unicorn จะเป็นเรื่องที่ไม่ค่อยหวังกันแล้ว แต่ผมเชื่อว่า “Vonder is on the way” ครับ”
คุณจันทนารักษ์ ถือแก้ว กรรมการผู้จัดการ โครงการ StormBreaker Venture กล่าว “เรารู้จัก Vonder ตั้งแต่มาร่วมงานแข่งขัน Edtech Hackathon 2018 ของเรา ขณะนั้นยังมีเพียงแค่ Prototype แต่เราเห็นถึงความมุ่งมั่นตั้งใจในการพัฒนา Product อย่างต่อเนื่อง ก่อนเข้าโครงการสตอร์มเบรกเกอร์ Vonder มีผู้ใช้เป็นกลุ่มนักเรียนมัธยมปลาย ที่เข้ามาใช้ Chatbot ในการเรียนและทบทวนวิชาต่าง ๆ อย่าง ประวัติศาสตร์, เคมี, ภาษาอังกฤษ ซึ่งได้รับความนิยมอย่างมาก หลังเข้าโครงการ ทางทีมได้พัฒนาเป็น Micro Learning และเจาะกลุ่มตลาดองค์กรเพิ่ม ซึ่งฟีเจอร์ต่าง ๆ ที่ทางวอนเดอร์พัฒนาขึ้น ล้วนเกิดจากความต้องการขององค์กรที่ทีมวอนเดอร์พัฒนาร่วมกับ HR ทั้งบริการของวอนเดอร์ ยังตอบโจทย์เทรนด์การศึกษาแห่งอนาคต คือ Personalized learning with micro content & micro accomplishment ทั้งลูกค้ายังชื่นชอบและขยายการใช้งานเพิ่มมากขึ้น วอนเดอร์ยังเป็นตัวอย่างของ Edtech ที่สามารถสร้าง impact ให้กับสังคม ในขณะเดียวกันก็สร้างรายได้และกำไรตั้งแต่ปีแรกและเติบโตอย่างรวดเร็ว”
คุณชิน วังแก้วหิรัญ ผู้ก่อตั้งและ CEO Vonder กล่าว “Vonder เริ่มจากความสนุกของคน 2 คนที่อยากลองทำโปรดักสนุก ๆ มาให้เด็กนักเรียนได้ใช้งานกัน พวกเราเองก็ไม่คิดว่าจากความสนุกในวันแรก ๆ จะเติบโตมาเป็นธุรกิจที่มีผู้ใช้งานมากขึ้นทุก ๆ วัน จนตอนนี้เราเริ่มฝันใหญ่มากขึ้น ความท้าทายคือการทำให้ทีมงานโตทันตัวธุรกิจโตอย่างรวดเร็วในระยะเวลาจำกัด เราเพิ่งอายุจะ 2 ปี แต่ตอนนี้มีลูกค้าองค์กรธุรกิจขนาดใหญ่ที่ใช้บริการอยู่หลายเจ้า สิ่งหนึ่งที่น่าจะเป็นจุดเด่นของเราคือ เราตั้งใจฟังเสียงผู้ใช้งาน เราพร้อมปรับปรุงโปรดักที่จะตอบโจทย์ให้มากขึ้นกว่าเดิมอยู่เสมอ ในขณะเดียวกันเราไม่กลัวที่จะลองเสี่ยงทำโปรดักแปลก ๆ ใหม่ ๆ ที่ไม่ซ้ำกับที่มีอยู่ในตลาด”
นี่เป็นอีกหนึ่งสัญญาณอันดีของการเติบโตในแวดวง EdTech ในวิกฤตยังมีโอกาสเสมอ และตอนนี้เป็นโอกาสอันดีที่จะพัฒนานวัตกรรม EdTech มาช่วยเรื่องการเรียนรู้สำหรับคนไทย นอกจากการเรียนรู้ของผู้ใหญ่แล้ว ยังมีโรงเรียนและมหาวิทยาลัยอีกที่ต้องเลื่อนเปิดเทอมออกไป พ่อแม่ที่ไม่เคย homeschool มาก่อนก็ต้องการตัวช่วย เทคโนโลยีจะสามารถเข้ามามีบทบาทอย่างไรได้บ้าง?
หากคุณมีไอเดียนวัตกรรมเพื่อการศึกษา ขอเชิญสมัครเข้าร่วมโครงการ Education Disruption Hackathon 2 งานแข่งขัน Hackathon ที่เฟ้นหาไอเดียที่จะช่วยพัฒนาคุณภาพการศึกษาไทยและลดความเหลื่อมล้ำ นี่คือโอกาสที่คุณจะได้ทำไอเดียของคุณให้เป็นจริง พร้อมลุ้นรับโอกาสการสนับสนุนและเงินทุนจาก โครงการ StormBreaker Venture เช่นเดียวกับทีม Vonder ซึ่งได้เข้าร่วมแข่งขันและออก MVP แรกในงาน Education Disruption Hackthon ปี 2018
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด