เปิด 3 แนวทาง ทิม พิธา แนะรัฐบาลแก้ปัญหาติดตามตัวควบคุม COVID-19 เข้าถึงประชาชนอย่างเท่าเทียม | Techsauce

เปิด 3 แนวทาง ทิม พิธา แนะรัฐบาลแก้ปัญหาติดตามตัวควบคุม COVID-19 เข้าถึงประชาชนอย่างเท่าเทียม

คุณพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล  เปิดเผยในรายการ Techsauce Live ว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ระลอกใหม่ เมื่อเทียบอัตราผู้ติดเชื้อที่เพิ่มสูงขึ้นมีความรุนแรงกว่าระลอกที่แล้วมากโดยจำนวนผู้ติดเฉลี่ยสูงขึ้นกว่า 3 เท่า เพียงแต่ข่าวดีคือ เราพบผู้ติดเชื้อจำนวนมากนั้น เกิดจากการที่ความสามารถในการตรวจของประเทศไทยนั้นเพิ่มสูงขึ้นเช่นกัน แต่ในขณะเดียวกันเมื่อเห็นแล้วว่าสถานการณ์การติดเชื้อรุนแรงกว่า แต่การบริหารจัดการของรัฐบาลกลับสวนทางกัน ในครั้งก่อน ประเทศไทยควบคุมด้วยการล็อกดาวน์อย่างเข้มงวดเกิดไป การบริหารงานที่ส่งผลกระทบกับประชาชนค่อนข้างมาก แต่การระบาดระลอกใหม่ครั้งนี้ อาจจะด้วยบทเรียนจากระลอกก่อน ทำให้ควบคุมหย่อนเกินไป ดังนั้นการบริหารจัดการของรัฐบาลถือเป็นความผิดซ้ำซาก บริหารงานไร้ทิศทาง และไร้ความรับผิดชอบ มีกฎหมายสูงสุดอย่าง พรก.ฉุกเฉินในมือแต่ก็ไม่สามารถใช้อำนาจในการเตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์วิกฤตได้เท่าที่ควร ดังนั้นในการควบคุมสถานการณ์เช่นนี้รัฐบาลจะต้องหาวิธีในการติดตามควบคุมการแพร่ระบาดให้ได้รวดเร็วที่สุด เพื่อลดความเสียหายทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้น

covid-19

ข้อเสนอแนวทางการแก้ปัญหาติดตามตัวควบคุม COVID-19 

E-goverment  เป็นสิ่งจำเป็น ดึงดูดความร่วมมือจากประชาชนด้วยการจูงใจ ไม่ใช่ข่มขู่ 

รัฐบาลต้องจริงจังในการทำ E-goverment ให้ใช้งานได้จริงและครอบคลุมแล้ว โดยเรื่องนี้ได้ถูกพูดถึงมาอย่างยาวนาน ซึ่งตอนนี้กลายเป็นความจำเป็นกว่าเดิมหลายเท่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 มีการปิดเมือง ปิดถนน แต่  Data Hideaway ระหว่างรัฐบาลกับประชาชนปิดไม่ได้ ยกตัวอย่างเช่น การทำ solidarity payment ที่หากรัฐบาลตัดสินใจที่จะเยียวยาประชาชน มีการประชุมครม.วันอังคาร วันพฤหัสฯเงินก็จะถึงมือประชาชนทันที เชื่อมต่อบัญชีรัฐบาลกับประชาชน 

ล่าสุดก็มีประเด็นเรื่อง แอปฯ หมอชนะ ซึ่งเป็นการทำ Contact Tracing ติดตามและควบคุมการแพร่ระบาดของ COVID-19 ซึ่งเดิมทีรัฐบาลมีแอปฯมากมายที่ให้ประชาชนใช้ จนสถิติตอนนี้ที่แยกหน่วยงาน แยกการทำรายการระหว่างภาครัฐกับประชาชนมีสูงถึง 276 แอป ไม่ว่าจะเป็น ภาษี ค่าน้ำ ค่าไฟ คู่มือประชาชน หางาน หรือกระทั่งรับเงินจ่ายเงิน แต่ละแอปไม่สามารถที่จะ Integrate กันได้ ซึ่งประชาชนก็ไม่รู้ว่าจะโหลดไปเพื่ออะไร ดังนั้นในกรณีปัญหาของหมอชนะเช่นเดียวกัน รัฐบาลควรที่จะ Integrate แอปกัน เช่น คนไทยโหลดเป๋าตังค์สูง มีการใช้งานค่อนข้างมาก เนื่องจากมีแรงจูงใจ จึงน่าจะมีการรวมหมอชนะเข้าไปไว้ในนั้น เมื่อประชาชนอัปเดตก็จะกลายเป็นแอปที่มี integration มี API (application programming interface) ที่สามารถทำให้ระบบที่รัฐบาลต้องเป็น E-goverment  และใช้ประโยชน์ในการควบคุม Covid-19 ได้  แต่อย่างไรก็ตามในระยะสั้นจะต้องสร้างแรงจูงใจให้ประชาชนอยากจะใช้หมอชนะมากขึ้น ไม่ใช่ข่มขู่ บังคับด้วยข้อกฎหมาย หรือใช้กำปั้นกับประชาชน 

ศึกษาจากเพื่อนบ้าน สร้าง Token ผสานออนไลน์-ออฟไลน์ เข้าถึงประชาชนทุกคนอย่างเท่าเทียม

ปัญหาของการติดตามตัว เพื่อควบคุม COVID-19 โดยที่ให้ล็อกดาวน์คนให้น้อยที่สุด อาจจะมองว่าการใช้เทคโนโลยีจะช่วยได้ แต่ไม่ได้ตอบโจทย์ตามโครงสร้างประชากรทั้งหมด ต้องอย่างลืมว่าไม่ใช่ประชาชนทุกคนที่จะมีสมาร์ทโฟน หรือจะสามารถโหลดแอปได้ทุกคน โดยกรณีศึกษาที่น่าสนใจในประเทศสิงคโปร์ ได้ใช้วิธีการแจกเหรียญ Token โดยให้ประชาชนเอาบัตรประจำตัวไปแลก และเขาก็จะพกเหรียญกันไว้ประจำตัวตลอดเวลา ดังนั้นประชาชนที่ไม่มีสมาร์ทโฟน โหลดแอปไม่เป็น ยิง QR code ไม่ได้ ก็จะใช้เหรียญกับตัวอ่านของแต่ละสถานที่ หรืออีกประเทศที่มีการแปะ QR code ให้กับประชาชนเมื่อออกจากบ้าน ซึ่งสามารถสแกนประชาชน และให้ประชาชนสแกนได้ ทำได้ทั้งสองทาง ข้อมูลต่างๆก็จะสามารถบูรณาการกันได้ 

นี่เป็นวิธีแก้ปัญหาที่ทำเเบบเห็นอกเห็นใจ และเข้าใจประชาชน สามารถดำเนินการแบบ Hybrid ผสาน Digital กับ Manual อีกทั้งยังสามารถ Integrate ข้อมูลเป็น Big Data ได้ด้วย ซึ่งในกรณีเร่งด่วนเช่นนี้ อาจจะทำในจังหวัดที่เป็นพื้นที่สีแดงก่อนได้ 

Drone เฝ้าระวังชายแดน  - One Stop Service ดึงแรงงานเข้าระบบ แก้ปัญหาธุรกิจสีเทา 

ความหละหลวมในการบริหารจัดการแรงงานข้ามชาติที่หลายคนมองว่าเป็นสาเหตุของการแพร่ระบาดระลอกใหม่นั้น ย้อนกลับไปที่การแพร่ระบาดในรอบก่อนหน้า ส่งผลให้มีการหยุดงาน เลิกจ้าง หยุดกิจการ ทำให้แรงงานข้ามชาติ อย่างแรงงานจากประเทศเพื่อนบ้านของไทย ออกจากระบบไปประมาณ 6 แสนคน และเราได้มีการปิดประเทศ ดังนั้นเมื่อสถานการณ์ในประเทศไทยเริ่มดีขึ้น กิจกรรมทางเศรษฐกิจของประชาชนกลับมา รัฐบาลจึงเปิดโอกาสให้แรงงานเหล่านั้นได้กลับมาเข้าระบบใหม่อีกครั้งในช่วงสิงหาคม ถึง ตุลาคม 2563 ซึ่งมีจำนวนแรงงานที่กลับเข้าระบบมาเพียง 9 หมื่นคน ขาดแคลนไปอีกประมาณ 7  แสนคน และรัฐบาลก็ไม่ได้อำนวยความสะดวกในเรื่องดังกล่าวเท่าที่ควร 

ผลที่ตามมาคือ แรงงานเถื่อน การลักลอบเข้าเมือง ซึ่งตรงนี้เองที่เป็นช่องว่างที่ให้คนกลุ่มหนึ่งเอารัดเอาเปรียบเก็บส่วยหาเงิน แต่รัฐบาลก็ไม่ได้หาต้นตอที่จะมารับผิดชอบ ไม่มีคำตอบที่ชัดเจนให้กับประชาชนที่ทำให้คนไทยทั้งประเทศต้องมารับกรรมกับการฉวยโอกาสของคนเหล่านี้ แต่เมื่อเรื่องเกิดขึ้นแล้ว เราต้องมองแรงงานข้ามชาติเป็นเพื่อนมนุษย์ ไม่ใช่แค่เรื่องของสิทธิมนุษยชน แต่เป็นประสิทธิภาพในการบริหารจัดการโรคด้วย 

ส่วนในระยะกลางและระยาวนั้น จากปัญหาดังกล่าว รัฐบาลเคยกล่าวว่าเราไม่สามารถดูตะเข็บชายแดนได้ทั้งประเทศ เพราะบุคคลากรไม่เพียงพอ ทั้งๆที่งบประมาณของกลาโหมสูงเป็นอันดับต้น ๆ และบุคคลากรก็มีจำนวนมากกว่าพยาบาลด้วยซ้ำ ดังนั้นสามารถที่จะลงทุนในเทคโนโลยีอย่าง โดรน เข้ามาช่วยในการสอดส่องดูแลได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น 

นอกจากนี้การที่จะนำแรงงานผิดกฎหมาย หรือลดปัญหาการลักลอบเข้าเมือง รัฐบาลจะต้องทำให้เป็น One Stop Service ที่อยู่ตามชายแดนต่าง ๆ ที่มีแรงงานเข้าออก ต้องทำให้ถูกกฎหมาย ซึ่งจะได้ทั้งในเรื่องของ ความโปร่งใส สิทธิมนุษยชน และ  Database ของแรงงาน ทำให้มีการบูรณาการทั้งด้านปกครอง แรงงาน สาธารณสุข และการตรวจคนเข้าเมืองไว้ในที่เดียวกัน

ติดตามรายการ  Techsauce Live ย้อนหลังฉบับเต็มได้ที่นี่ 


ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

ประกวดนางงาม Miss AI ครั้งแรกของโลก ที่ส่วนใหญ่สร้างตาม Beauty Standard

ตอนนี้มี Miss AI หรือนางงามปัญญาประดิษฐ์ที่จะมาประชันความงามกันบนโลกดิจิทัลแล้ว ด้านผู้จัดการประกวดหวังช่วยผลักดันความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี...

Responsive image

ไม่ยอมขายแอป ก็โดนแบน สหรัฐฯ จ่อแบน TikTok หวั่นเป็นภัยความมั่นคงชาติ

สหรัฐฯ ผ่านกฎหมายแบน TikTok แล้ว บังคับบริษัทแม่ ByteDance ต้องขายแอปภายใน 1 ปี มิฉะนั้นจะถูกแบนในสหรัฐฯ ด้านซีอีโอ TikTok ประกาศกร้าว พร้อมท้าทายกฎหมาย ไม่ไปไหนทั้งนั้น...

Responsive image

KBank ผนึก J.P. Morgan เปิดโปรเจกต์ Carina ใช้บล็อกเชน ลดเวลาทำธุรกรรมจาก 72 ชั่วโมงเหลือ 5 นาที

Kbank ร่วมกับ J.P. Morgan Chase Bank เปิดตัวโปรเจคต์นวัตกรรมคารินา (Carina) ลดระยะเวลาการทำธุรกรรม จากที่ใช้เวลา 72 ชั่วโมงเหลือเพียงแค่ 5 นาที...