5 บริษัทโทรคมนาคมไทย เข้ายื่นประมูลคลื่นความถี่ 5G แล้ว | Techsauce

5 บริษัทโทรคมนาคมไทย เข้ายื่นประมูลคลื่นความถี่ 5G แล้ว

คุณฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (เลขาธิการ กสทช.) เปิดเผยว่า วันนี้ (4 ก.พ.2020) สำนักงาน กสทช. เปิดให้ยื่นคำขอรับใบอนุญาตคลื่นความถี่ 700 MHz 1800 MHz 2600 MHz และ 26 GHz โดยมีผู้มายื่นคำขอรับใบอนุญาตทั้งหมด จำนวน 5 ราย ได้แก่ บริษัท ทรู มูฟเอช ยูนิเวอร์แซล คอมมิวนิเคชั่น จำกัด ยื่นเอกสารเป็นรายแรกในเวลา 11.00 น. จากนั้นบริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) ได้ยื่นเอกสารเป็นรายที่สองในเวลา 11.09 น. ตามด้วยบริษัท ดีแทค ไตรเน็ต จำกัด ยื่นเป็นรายที่สามในเวลา 12.59 น. บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ยื่นเป็นรายที่สี่ในเวลา 15.15 น. และบริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด ยื่นเป็นรายสุดท้ายในเวลา 15.35 น.

สำหรับคลื่นความถี่ที่นำออกมาประมูลในครั้งนี้ ประกอบด้วย คลื่น 700 MHz จำนวน 3 ใบอนุญาต ใบอนุญาตละ 2x5 MHz ราคาเริ่มต้น 8,792 ล้านบาท เคาะราคาครั้งละ 440 ล้านบาท การชำระเงินแบ่งเป็น 10 งวด งวดละ 10% โดยผู้เข้าร่วมประมูลต้องวางหลักประกัน 2,637.6 ล้านบาท และหากไม่ชำระค่าประมูล จะต้องชำระค่าปรับ 1,319 ล้านบาทต่อใบอนุญาต

คลื่น 1800 MHz จำนวน 7 ใบอนุญาต ใบอนุญาตละ 2x5 MHz ราคาเริ่มต้น 12,486 ล้านบาท เคาะราคาครั้งละ 25 ล้านบาท การชำระเงินแบ่งเป็น 3 งวด งวดที่ 1 จำนวน 50% ของราคาที่ชนะการประมูล งวดที่ 2 และ 3 จำนวนงวดละ 25% ของราคาที่ชนะการประมูล โดยผู้เข้าร่วมประมูลต้องวางหลักประกัน 4,994.4 ล้านบาท และหากไม่ชำระค่าประมูล จะต้องชำระค่าปรับ 1,873 ล้านบาท ต่อใบอนุญาต โดยผู้ชนะการประมูลจะต้องขยายโครงข่ายให้ครอบคลุม 40% ของประชากร ภายใน 4 ปี และครอบคลุม 50% ของประชากรภายใน 8 ปี

คลื่น 2600 MHz จำนวน 19 ใบอนุญาต ใบอนุญาตละ 10 MHz ราคาเริ่มต้น 1,862 ล้านบาท เคาะราคาครั้งละ 93 ล้านบาท การชำระเงินแบ่งเป็น  7 งวด งวดที่ 1 จำนวน 10% ของราคาที่ชนะการประมูล งวดที่ 2-7 (ปีที่5-10) งวดละ 15% ของราคาที่ชนะการประมูล โดยผู้เข้าร่วมประมูลต้องวางหลักประกัน 1,862 ล้านบาท และหากไม่ชำระค่าประมูล จะต้องชำระค่าปรับ

280 ล้านบาท ต่อใบอนุญาต โดยผู้ชนะการประมูลจะต้องขยายโครงข่ายให้ครอบคลุม 50% ในพื้นที่โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC ภายใน 1 ปี และครอบคลุม 50% ของประชากรใน Smart city ภายใน 4 ปี

และคลื่น 26 GHz จำนวน 27 ใบอนุญาต ใบอนุญาตละ 100 MHz ราคาเริ่มต้น 423 ล้านบาท เคาะราคาครั้งละ 22 ล้านบาท การชำระเงินงวดเดียวภายใน 1 ปีหลังจากการประมูล โดยผู้เข้าร่วมประมูลต้องวางหลักประกัน 507.6 ล้านบาท และหากไม่ชำระค่าประมูล จะต้องชำระค่าปรับ 64 ล้านบาทต่อใบอนุญาต

ขั้นตอนหลังจากยื่นคำขอรับใบอนุญาตแล้ว สำนักงาน กสทช. จะดำเนินการพิจารณาคุณสมบัติ และจะมีการชี้แจงรายละเอียดและการประมูลรอบสาธิต (Mock Auction) ในวันที่ 10 และ 14 ก.พ. 2020  โดยจะจัดการประมูลในวันที่ 16 ก.พ. 2020


ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

DOGE คืออะไร Elon Musk ทำอะไรในหน่วยงานนี้ ? เปิดหน่วยงาน (ไม่) ลับของ Musk ในทำเนียบขาว

Elon Musk ในตอนนี้ไม่ใช่ CEO บริษัทเทคฯ ที่มีมูลค่าติดท็อปโลกธรรมดา เพราะภายใต้คณะที่ปรึกษาชุดใหม่ที่จัดตั้งขึ้นโดยประธานาธิบดี โดนัลด์ ทรัมป์ ของสหรัฐฯ Musk คือ ‘พนักงานพิเศษของรั...

Responsive image

แกร็บ (Grab) ประเทศไทย ประกาศแต่งตั้ง จันต์สุดา ธนานิตยะอุดม ขึ้นแท่นกรรมการผู้จัดการใหญ่คนใหม่

แกร็บ (Grab) ผู้นำซูเปอร์แอปแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประกาศแต่งตั้ง นางสาวจันต์สุดา ธนานิตยะอุดม ขึ้นดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่ แกร็บ ประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2568 เ...

Responsive image

SIAM AI เผยโฉม GB200 NVL72 ครั้งแรกในเอเชีย รองรับการประมวลผลขั้นสูงของ AI

SIAM AI บริษัท สยาม เอไอ คอร์เปอเรชั่น จำกัด ผู้ให้บริการ SIAM AI Cloud เปิดตัว NVIDIA GB200 NVL72 ที่แรกในเอเชีย เพื่อรองรับการประมวลผลขั้นสูงของระบบปัญญาประดิษฐ์ รวมถึงรองรับการข...