AAV ปรับโครงสร้างกิจการ เตรียมดัน 'ไทยแอร์เอเชีย' ระดมทุนในตลาดหุ้น | Techsauce

AAV ปรับโครงสร้างกิจการ เตรียมดัน 'ไทยแอร์เอเชีย' ระดมทุนในตลาดหุ้น

บริษัท เอเชีย เอวิชั่น จำกัด  หรือ AAV ปรับโครงสร้างกิจการและทุนของบริษัทฯ เตรียมดำเนินการนำไทยแอร์ เอเชียเข้าเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยแทนที่บริษัทฯ

AAV ปรับโครงสร้างกิจการ เตรียมดัน 'ไทยแอร์เอเชีย'

บริษัท เอเชีย เอวิชั่น จำกัด (“บริษัทฯ”) หรือ AAV  ได้มีมติในการประชุมครั้งที่ 2/2564 เมื่อวันที่ 26เมษายน 2564 ได้อนุมัติแผนการปรับโครงสร้างกิจการและทุนของบริษัทฯ และบริษัทย่อย (บริษัท ไทยแอร์เอเชียจำกัด (“ไทยแอร์เอเชีย”)) (“แผนการปรับโครงสร้างกิจการ”) โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1.การให้สินเชื่อโดยนักลงทุนใหม่

การให้สินเชื่อโดยนักลงทุนใหม่(ซึ่งไม่ใช่บุคคลที่เกี่ยวโยงกันของบริษัทฯ และไทยแอร์เอเชีย) จะให้สินเชื่อแก่ ไทยแอร์เอเชีย ซึ่งเป็นบริษัทย่อยที่ดำนินธุรกิจหลัก (Operating Company) ของบริษัทฯ จำนวนสูงสุดไม่เกิน3,150 ล้านบาท โดยไม่คิดดอกเบี้ย ซึ่งการให้สินเชื่อจะอยู่ในรูปของสัญญาเงินกู้แปลงสภาพ หรือหุ้นกู้แปลงสภาพโดยออกโดยไม่มีส่วนลด (Zero Coupon issued at 100% Nominal Value)แล้วแต่กรณี โดยนักลงทุนสามารถใช้สิทธิแปลงสภาพสัญญาเงินกู้ หรือหุ้นกู้ เป็นหุ้นสามัญของไทยแอร์เอเชียได้ภายในระยะเวลา และตามราคาที่ตกลงกันซึ่งในเบื้องต้น สัญญาเงินกู้แปลงสภาพ หรือหุ้นกู้แปลงสภาพ แล้วแต่กรณี คาดว่าจะมีระยะเวลาประมาณ 3 ปีนับจากวันได้รับเงินกู้ ระยะเวลาแปลงสภาพ คาดว่าจะเป็นภายหลังจากที่ไทยแอร์เอเชียได้รับอนุมัติให้เสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ต่อประชาชนเป็นครั้งแรก (IPO) จากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ก.ล.ต.) และได้รับอนุมัติในหลักการจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(ตลท.)ให้จดทะเบียนหุ้นสามัญเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยแล้ว (เรียกว่า “เงื่อนไขการแปลงสภาพ”) และราคาแปลงสภาพคาดว่าจะเป็นดังนี้ มูลค่าเงินต้นประมาณ 3,150 ล้านบาท สามารถแปลงสภาพเป็นหุ้นสามัญของไทยแอร์เอเชียได้ที่ราคา 20.3925 บาทต่อหุ้น (มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 0.5 บาท) )ซึ่งเมื่อเงื่อนไขการแปลงสภาพเกิดขึ้น สถานะของนักลงทุนใหม่จะเปลี่ยนจากเจ้าหนี้เป็นผู้ถือหุ้นของไทยแอร์เอเชีย

อย่างไรก็ดี หากเงื่อนไขการแปลงสภาพไม่เกิดขึ้น ไม่ว่าด้วยเหตุอันใด นักลงทุนใหม่ก็จะถือสัญญาเงินกู้แปลงสภาพ หรือหุ้นกู้แปลงสภาพต่อไปในฐานะเจ้าหนี้และรับคืนเงินไถ่ถอนสัญญาเงินกู้แปลงสภาพ หรือหุ้นกู้แปลงสภาพ (ซึ่งประกอบด้วยเงินต้นบวกด้วยดอกเบี้ยสะสมประมาณร้อยละ 3 ต่อปีนับแต่วันได้รับเงินต้น) ณ วันครบกำหนดสัญญาเงินกู้แปลงสภาพ หรือหุ้นกู้แปลงสภาพ แล้วแต่กรณีทั้งนี้นักกลงทุนใหม่อยู่ในระหว่างขั้นตอนการตรวจสอบกิจการของไทยแอร์เอเชีย (DueDiligence) ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จไม่เกินกลางเดือนพฤษภาคม 2564 และนักลงทุนใหม่และไทยแอร์เอเชียก็กำลังอยู่ในระหว่างการเจรจารายละเอียดของข้อกำหนดและเงื่อนไขของสัญญาเงินกู้แปลงสภาพ หรือหุ้นกู้แปลงสภาพและสัญญาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง (รวมถึงเรื่องการเสนอชื่อบุคคลจำนวน 2 ท่าน เข้าเป็นกรรมการของไทยแอร์เอเชียในระหว่างอายุสัญญาของสัญญาเงินกู้แปลงสภาพ หรือหุ้นกู้แปลงสภาพ แล้วแต่กรณี) และภายหลังจากที่แผนการปรับโครงสร้างกิจการได้รับอนุมัติจากที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ ในครั้งนี้และได้เปิดเผยต่อตลาดหลักทรัพย์แล้ว ไทยแอร์เอเชียก็จะรีบนำแผนการปรับโครงสร้างกิจการหารือกับก.ล.ต. และตลท.โดยเร็ว

2.ดำเนินการนำไทยแอร์ เอเชียเข้าเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยแทนที่บริษัทฯ

ทั้งนี้ จากการหารือกับนักลงทุนในหลาย ๆ โอกาส บริษัทฯ เห็นว่านักลงทุนประสงค์จะลงทุนในไทยแอร์เอเชียมากกว่าการลงทุนผ่านการถือหุ้นในบริษัทฯ เนื่องจากไทยแอร์เอเชียเป็นบริษัทที่มีการประกอบธุรกิจ (Operating Company) และได้รับใบอนุญาตต่าง ๆ ในการให้บริการสายการบินโดยตรง 

นอกจากนี้ ผู้ถือหุ้นจะได้รับเงินปันผลจากไทยแอร์เอเชียโดยตรงโดยไม่ต้องมีการจ่ายเงินปันผลผ่านบริษัทฯ ซึ่งเป็น HoldingCompany ทำให้การจ่ายเงินปันผลไปยังผู้ถือหุ้นมีความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมทั้งไม่ต้องผ่านขั้นตอนในการบันทึกบัญชีของบริษัทฯ และเงินปันผลดังกล่าวก็จะไม่ถูกลดทอนลงด้วยค่าใช้จ่ายของบริษัทฯ

ดังนั้น เพื่อประโยชน์ที่ดีที่สุดของกิจการ บริษัทฯ เห็นว่าการนำไทยแอร์เอเชียเข้าเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยแทนที่บริษัทฯ จะเป็นการเพิ่มโอกาสของไทยแอร์เอเชียใน

การระดมทุนได้ด้วยตนเองมากกว่าการพึ่งพาการระดมทุนผ่านบริษัทฯ ประกอบกับกระทรวงคมนาคมได้มีการออกกฎกระทรวงกำหนดนิติบุคคลอื่นที่เป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทจำกัดหรือบริษัทมหาชนจำกัด ซึ่งขอจดทะเบียนอากาศยาน พ.ศ. 2563 และคณะกรรมการการบินพลเรือนได้ออกประกาศ เรื่อง นิติบุคคลอื่นตามข้อ 13 วรรคหนึ่ง (7) ของข้อบังคับของคณะกรรมการการบินพลเรือน ฉบับที่ 97 พ.ศ. 2563 เมื่อวันที่ 29 กันยายน 2563 ซึ่งได้กำหนดเพิ่มเติมประเภทของนิติบุคคลอื่นซึ่งสามารถนับเป็นสัดส่วนการถือหุ้นของผู้ถือหุ้นซึ่งมีสัญชาติไทยไม่น้อยกว่าร้อยละ 51 ได้ ทำให้บริษัทฯ มีความคล่องตัวมากขึ้นในการจัดโครงสร้างการถือหุ้นเพื่อให้ไทยแอร์เอเชียมีคุณสมบัติเป็นไปตามกฎหมายการเดินอากาศ และในการเข้าจดทะเบียนเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

3. การชำระบัญชีของบริษัทฯ และการคืนหุ้นไทยแอร์เอเชีย

การชำระบัญชีของบริษัทฯ และการคืนหุ้นไทยแอร์เอเชีย เพื่อให้ผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ นั้นสามารถเป็นผู้ถือหุ้นของไทยแอร์เอเชียได้โดยตรง บริษัทฯ เห็นว่าที่ประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ สมควรมีมติให้เลิกกิจการและชำระบัญชีของบริษัทฯ เพื่อที่บริษัทฯ จะได้สามารถนำทรัพย์สินของบริษัทฯ กล่าวคือ หุ้นไทยแอร์เอเชีย ซึ่งบริษัทฯ ถืออยู่ในปัจจุบันจำนวน 23,955,553 หุ้น (มูลค่าที่ตราไว้ ณ ปัจจุบันเท่ากับ 10 บาทต่อหุ้น)หรือคิดเป็นร้อยละ 55 ของทุนชำระแล้วในปัจจุบันของไทยแอร์เอเชีย มาจัดสรรให้แก่ผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ (ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นที่มีรายชื่อปรากฏอยู่ในทะเบียนผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ ณ กำหนดรายชื่อผู้ถือหุ้น (Record Date) ซึ่งจะได้กำหนดต่อไปในภายหลัง) ตามสัดส่วนการถือหุ้น ซึ่งการจัดสรรหุ้นซึ่งบริษัทฯ ถืออยู่ในไทยแอร์เอเชียให้แก่ผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ ดังกล่าว ถือเป็นการคืนเงินลงทุนให้แก่ผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ ซึ่งเป็นขั้นตอนหนึ่งของการชำระบัญชีเพื่อเลิกกิจการของบริษัทฯ ซึ่งผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ จะมีภาระภาษีเงินได้จากส่วนต่างของเงินลงทุนในหุ้นของบริษัทฯ และราคาตลาดของหุ้นของไทยแอร์เอเชียที่ได้รับคืนทุนมา ณ ขณะนั้น (หากมีการเปลี่ยนแปลงเป็นประการอื่น บริษัทฯ จะรีบแจ้งให้ผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ ทราบต่อไป) เนื่องจากการคืนทรัพย์สิน กล่าวคือ หุ้นไทยแอร์เอเชีย ให้แก่ผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ ในกรณีนี้ไม่ถือเป็นการขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ฯซึ่งโดยปกติผู้ถือหุ้นจะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้จากการขายหุ้น (capital gain)ในการนี้ บริษัทฯ จะดำเนินการให้หุ้นของไทยแอร์เอเชีย เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยแทนหุ้นของบริษัทฯ เนื่องจากการเลิกกิจการบริษัทฯ ถือเป็นเหตุเพิกถอนหลักทรัพย์จากตลาหลักทรัพย์ ซึ่งขั้นตอนและระยะเวลาการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องนั้น บริษัทฯ จะหารือกับก.ล.ต. และตลาดหลักทรัพย์ฯต่อไป  ทั้งนี้ บริษัทฯ จะพยายามทำให้ผู้ถือหุ้นของบริษัทฯได้รับผลกระทบในเรื่องที่เกี่ยวข้อง อาทิ ระยะเวลา น้อยที่สุดเท่าที่จะสามารถดำเนินการได้ภายใต้กรอบและหลักเกณฑ์ของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

อย่างไรก็ดีเพื่อความชัดเจน คณะกรรมการบริษัทฯ ยังไม่ได้อนุมัติให้เลิกกิจการและชำระบัญชีของบริษัทฯ หรือเสนอให้ที่ประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ อนุมัติให้เลิกกิจการและชำระบัญชีของบริษัทฯในการประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ ในครั้งนี้ หรือในการประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ ซึ่งจะจัดขึ้นในเร็ว ๆ นี้ โดยบริษัทฯ จะจัดให้มีการเรียกประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ และการประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ อีกครั้งหนึ่ง เพื่ออนุมัติการเลิกกิจการบริษัทฯ เมื่อแผนการเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ของไทยแอร์เอเชียต่อประชาชนเป็นครั้แรก(IPO) และการจดทะเบียนหุ้นสามัญของไทยแอร์เอเชียเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยนั้นมีความเป็นไปได้ภายหลังจากการหารือกับสำนักงาน กลต. และตลาดหลักทรัพย์ฯ และไทยแอร์เอเชียได้รับอนุมัติให้เสนอขายหุ้นIPO ซึ่งบริษัทฯ จะรีบแจ้งให้ผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ ทราบหากมีความคืบหน้าใด ๆเป็นประการสำคัญสำหรับแผนการเสนอขายหุ้นIPO และการนำไทยแอร์เอเชียเข้าจดทะเบียน

4. การแปลงหนี้สินของไทยแอร์เอเชียบางส่วนเพื่อลดภาระหนี้สินของไทยแอร์เอเชีย

หากแผนการนำไทยแอร์เอเชียเข้าจดทะเบียนเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยประสบผลสำเร็จ เจ้าหนี้รายใหญ่ของไทยแอร์เอเชีย (กล่าวคือ บริษัท แอร์เอเชีย อินเวสเมนท์ ลิมิเต็ดซึ่งปัจจุบันถือหุ้นอยู่ในไทยแอร์เอเชียจำนวนประมาณ 19,600,000 หุ้น (มูลค่าที่ตราไว้ ณ ปัจจุบันเท่ากับ 10 บาทต่อหุ้น) หรือเท่ากับจำนวน 392,000,000 หุ้น (มูลค่าที่ตราไว้ที่จะเปลี่ยนแปลงไปเป็นเท่ากับ 0.5 บาทต่อหุ้น)หรือคิดเป็นร้อยละ 45ของทุนชำระแล้วในปัจจุบันของไทยแอร์เอเชีย จะต้องแปลงหนี้สินทั้งหมดซึ่งเป็นหนี้เงินกู้ ที่จะใช้ชำระหนี้ซึ่งประกอบด้วยหนี้ค่าเช่าเครื่องบิน หนี้ค่าซ่อมแซมบ ารุงรักษาเครื่องบิน หนี้ค่าน้ำมัน และหนี้ค่าเครื่องหมายการค้า เป็นต้น ที่ตนเป็นเจ้าหนี้ ไทยแอร์เอเชียจำนวนไม่เกิน 3,900 ล้านบาทเป็นทุน ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวอาจดำเนินการได้ในหลายรูปแบบไม่ว่าจะเป็นการแปลงหนี้ใหม่โดยการเปลี่ยนสภาพหนี้การค้าให้เป็นหนี้ตามสัญญาเงินกู้แปลงสภาพ หรือหุ้นกู้แปลงสภาพ แล้วแต่กรณี หรือการออกหุ้นใหม่เพื่อชำระหนี้้ให้แก่เจ้าหนี้รายใหญ่ตามโครงการแปลงหนี้เป็นทุนตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ใน พรบ. บริษัทมหาชนจำกัด พ.ศ. 2535 (และที่ได้แก้ไขเพิ่มเติม) และกฎกระทรวงที่เกี่ยวข้อง หรือรูปแบบอื่น ๆ ที่เหมาะสมภายใต้กรอบและหลักเกณฑ์ของกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ไทยแอร์เอเชียอยู่ระหว่างการเจรจารูปแบบการดำเนินการที่เหมาะสมกับเจ้าหนี้รายใหญ่ และ เป็นตัวเลขโดยประมาณจากรายงานทางการเงินโดยฝ่ ายจัดการ ณ วันที่ 31 มีนาคม 2564 ทั้งนี้ หนี้ดังกล่าวเป็นหนี้จากการประกอบธุรกิจ และได้มีการเปิดเผยไว้ในรายงานทางการเงินของบริษัทฯ แล้ว ราคาแปลงสภาพคาดว่าจะเป็นดังนี้ มูลค่าเงินต้นประมาณ 3,900 ล้านบาท สามารถแปลงสภาพเป็นหุ้นสามัญของไทยแอร์เอเชียได้ที่ราคา 20.3925 บาทต่อหุ้น (มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 0.5 บาท) นอกจากนี้ เจ้าหนี้รายใหญ่ยังยินดีใส่เงินเพิ่มทุนอีกจำนวนประมาณ 513.21 ล้านบาทให้แก่ไทยแอร์เอเชีย เพื่อดำรงสัดส่วนการถือหุ้น และเพิ่มสภาพคล่องให้กับไทยแอร์เอเชีย ซึ่งถือเป็นการปรับโครงสร้างทุน และโครงสร้างหนี้ของไทยแอร์เอเชียแบบยั่งยืน เพื่อทำให้ไทยแอร์เอเชียสามารถกลับมาดำเนินธุรกิจต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืนทั้งนี้ แผนการแปลงหนี้เป็นทุน และแผนการใส่เงินเพิ่มทุนของเจ้าหนี้รายใหญ่ของไทยแอร์เอเชีย  

5. การเปลี่ยนแปลงมูลค่าที่ตราไว้ของหุ้นของไทยแอร์เอเชีย

ในการนำไทยแอร์เอเชียเข้าจดทะเบียนเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยตามแผนปรับโครงสร้างกิจการนั้น ไทยแอร์เอเชียจะเปลี่ยนแปลงมูลค่าที่ตราไว้ของหุ้นของไทยแอร์เอเชียจากมูลค่าที่ตราไว้เดิมหุ้นละ 10 บาท เป็นมูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 0.50 บาท เพื่อเพิ่มการกระจายการถือหุ้นไปยังนักลงทุนให้มากขึ้น และเพิ่มสภาพคล่องของหุ้นให้มากขึ้น เพื่อทำให้หุ้นของไทยแอร์เอเชียเป็นที่น่าสนใจของนักลงทุนมากขึ้น

6.แผนการนำไทยแอร์ เอเชียเข้าจดทะเบียนเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

เบื้องต้น บริษัทฯ เห็นว่าไทยแอร์เอเชียนั้นมีคุณสมบัติเป็นไปตามหลักเกณฑ์การอนุญาตของก.ล.ต.โดยขั้นตอนและระยะเวลาการขออนุญาต IPO หุ้นของไทยแอร์เอเชีย และการนำไทยแอร์เอเชียเข้าจดทะเบียนเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์สรุปได้ดังนี้

(1) เมื่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ มีมติอนุมัติแผนการปรับโครงสร้ างกิจการในครั้งนี้ไทยแอร์เอเชียจะรีบดำเนินการหารือกับก.ล.ต.และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับแผนการปรับโครงสร้างกิจการ และจัดเตรียมเอกสารการขออนุญาต แบบแสดงรายการข้อมูลหลักทรัพย์ และร่างหนังสือชี้ชวน เพื่อยื่นขออนุญาตเสนอขายหุ้นไทยแอร์เอเชียต่อประชาชนเป็นครั้งแรกต่อก.ล.ต.คาดว่าจะใช้เวลาทั้งสิ้นประมาณ 6 เดือนจนถึงวันที่คาดว่าจะได้รับอนุญาตจากก.ล.ต.โดยขึ้นอยู่กับการตรวจสอบสถานะกิจการ (Due Diligence) ของที่ปรึกษาทางการเงินและผลการพิจารณาของก.ล.ต. และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

(2) การจัดสรรหุ้นใหม่ทั้งหมดของไทยแอร์เอเชีย และการคืนทรัพย์สินของบริษัทฯกล่าวคือ หุ้นในไทยแอร์เอเชียให้แก่ผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ ในช่วงเวลา IPO หรือใกล้เคียงกับช่วงเวลา IPO คาดว่าจะเป็นดังนี้

         (ก) การนำทรัพย์สินของบริษัทฯ กล่าวคือ หุ้นซึ่งบริษัทฯ ถืออยู่ในไทยแอร์เอเชียมาแจกจ่ายให้แก่ผู้ถือหุ้นของบริษัทตามสัดส่วนการถือหุ้น (ซึ่งเป็นขั้นตอนของการชำระบัญชี เพื่อเลิกกิจการของบริษัทฯ ตามที่กล่าวไว้ข้างต้น) จำนวน 479,111,060 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 0.50 บาท คิดเป็นร้ อยละ 55ของทุนชำระแล้วในปัจจุบันของไทยแอร์เอเชีย ในอัตราการคืนหุ้นเท่ากับ 1 หุ้นของบริษัทฯ ต่อ 0.098785 หุ้นของไทยแอร์เอเชีย ซึ่งเป็นขั้นตอนของการชำระบัญชีเพื่อเลิกกิจการของบริษัทฯ

          (ข) การออกหุ้นใหม่ของไทยแอร์เอเชียให้แก่นักลงทุนใหม่ตามสัญญาเงินกู้แปลงสภาพ หรือหุ้นกู้แปลงสภาพ แล้วแต่กรณี ตามเงื่อนไขการแปลงสภาพ กล่าวคือ เมื่อเงื่อนไขการแปลงสภาพเกิดขึ้น บริษัทฯ จะจัดสรรหุ้นจำนวนทั้งสิ้นไม่เกิน 154,468,555 หุ้น (คิดเป็นร้อยละ 11.4ของหุ้นที่จำาหน่ายได้แล้วทั้งหมดของไทยแอร์เอเชีย (หลังเพิ่มทุน)) ให้แก่นักลงทุนใหม่

        (ค) การแปลงหนี้สินของเจ้าหนี้รายใหญ่ของไทยแอร์เอเชียเป็นทุน ซึ่งอาจอยู่ในรูปแบบของ1) การจัดสรรหุ้นให้แก่เจ้าหนี้รายใหญ่ตามสัญญาเงินกู้แปลงสภาพ หรือหุ้นกู้แปลงสภาพ แล้วแต่กรณี ตามเงื่อนไขการแปลงสภาพ และหรือ2) การออกหุ้นใหม่เพื่อชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้รายใหญ่ตามโครงการแปลงหนี้เป็นทุนตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ใน พรบ. บริษัทมหาชน จำกัด พ.ศ. 2535จ านวนทั้งสิ้นไม่เกิน 191,246,782 หุ้น (คิดเป็นร้อยละ 14.1 ของหุ้นที่จ าหน่ายได้แล้วทั้งหมดของไทยแอร์เอเชีย (หลังเพิ่มทุน)) ที่ราคาแปลงหนี้สิน 20.3925 บาท ต่อหุ้น ซึ่งเป็นราคาเดียวกันกับราคาของการทำธุรกรรมอื่นในแผนการปรับโครงสร้ างกิจการ ในครั้งนี้หากผู้ถือหุ้นรายใดไม่มาแจ้งรับหุ้นคืน บริษัทฯ จะดำเนินการฝากหุ้นดังกล่าวไว้ตามหลักเกณฑ์ของกฎหมายที่เกี่ยวข้องต่อไป นอกจากนี้หากจำนวนหุ้นของไทยแอร์เอเชียเปลี่ยนแปลงไปเนื่องจากการเปลี่ยนมูลค่าที่ตราไว้ของหุ้นของไทยแอร์เอเชีย จะมีการปรับจำนวนหุ้นสามัญของไทยแอร์เอเชียที่แจกจ่ายให้แก่ผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ ตามมูลค่าที่ตราไว้ที่เปลี่ยนแปลงไป

ทั้งนี้คำนวณบนสมมุติฐานว่าหุ้นที่ออกใหม่จำนวน 480,918,287 หุ้นได้มีการจัดสรรทั้งจำนวน ณ ขณะ IPO ทไม่นับรวมหุ้นที่ออกเพื่อรองรับการจัดสรรหุ้น ให้แก่ผู้บริหารระดับสูง เนื่องจากผู้บริหารระดับสูงสามารถใช้สิทธิซื้อหุ้นได้ภายในระยะเวลา 3 ปีนับจากวันที่หุ้นของไทยแอร์เอเชียเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยอนึ่งรูปแบบการแปลงหนี้สินของเจ้าหนี้รายใหญ่ของไทยแอร์เอเชียเป็นทุนยังอยู่ในระหว่างการเจรจากับเจ้าหนี้รายใหญ่ และอาจต้องหารือกับก.ล.ต. เพิ่มเติม รวมทั้งอาจต้องขอผ่อนผันหลักเกณฑ์การอนุญาตที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ไทยแอร์เอเชียสามารถดำเนินกิจการต่อไปได้

           (ง) การเสนอขายและจัดสรรหุ้นที่ออกใหม่ของไทยแอร์เอเชียต่อประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรกจำนวนไม่เกิน 135,202,950 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 0.50 บาท (คิดเป็นร้ อยละ 10.0 ของหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของไทยแอร์เอเชีย (หลังเพิ่มทุน)) ที่ราคาหุ้นออกใหม่ 20.3925 บาทต่อหุ้น ภายใต้กรอบและหลักเกณฑ์ของกฎหมายที่เกี่ยวข้องดังนี้

1) หุ้นจำนวนไม่เกิน 68,354,472 หุ้น (คิดเป็นร้ อยละ 5.1 ของหุ้นที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของไทยแอร์เอเชีย (หลังเพิ่มทุน) ให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิมของบริษัทฯ (Pre-Emption Offering)ตามสัดส่วนการถือหุ้น และเป็นผู้ถือหุ้นที่มีรายชื่อปรากฏอยู่ในสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ ณ วันกำหนดรายชื่อผู้ถือหุ้น (Record Date) ตามที่คณะกรรมการของบริษัทฯ หรือบุคคลที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการของบริษัทฯ จะเป็นผู้กำหนดต่อไป

2) หุ้นไม่เกิน 25,166,487 หุ้น (คิดเป็นร้อยละ 1.9 ของหุ้นจำหน่ายได้แล้วทั้งหมดของไทยแอร์เอเชีย (หลังเพิ่มทุน)) ให้แก่บริษัท แอร์เอเชีย อินเวสเมนท์ ลิมิเต็ด 

3) หุ้นจำนวนไม่เกิน 41,681,991 หุ้น และหุ้นในส่วนที่เหลือจากการจัดสรรข้างต้น จะเสนอขายและจัดสรรให้แก่บุคคลตามดุลยพินิจของผู้จัดจำหน่ายหลักทรัพย์ 1.7 การอนุมัติที่จำเป็ นความเป็นไปได้ของแผนการปรับโครงสร้ างกิจการของบริษัทฯ ตามที่กล่าวข้างต้น นั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยที่สำคัญต่าง ๆ เช่น ความสำเร็จของการดำเนินการตามแผนการปรับโครงสร้ างกิจการ การได้รับอนุมัติจากที่ประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ ให้มีการเลิกบริษัทฯ การได้รับความเห็นชอบจากก.ล.ต. ในการอนุมัติให้มีการเสนอขายหุ้นต่อประชาชนเป็นครั้งแรก การได้รับความเห็นชอบจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในการอนุมัติให้นำไทยแอร์เอเชียเข้าจดทะเบียนเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และการได้รับความเห็นชอบจากหน่วยงานกำกับดูแลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการได้รับผ่อนผันหลักเกณฑ์การอนุญาตที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ จากหน่วยงานกำกับดูแลที่เกี่ยวข้อง 

บริษัทฯ คาดว่าการดำเนินการตามแผนภาพดังกล่าวข้างต้นจะเสร็จสิ้นภายในเดือนมิถุนายน 2564 และคาดว่าการเตรียมการเพื่อขออนุญาตเสนอขายหุ้นที่ออกใหม่ต่อประชาชนเป็นครั้งแรก (IPO)ของไทยแอร์เอเชีย จะใช้เวลาประมาณ 7.5 เดือน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยและเงื่อนไขต่าง ๆ ตามที่กล่าวมาข้างต้น

นอกจากนี้ ยังอนุมัติและให้เสนอต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นพิจารณาอนุมัติการออกและเสนอขายหุ้นสามัญที่ออกใหม่ของไทยแอร์เอเชีย ให้ แก่ผู้บริหารของไทยแอร์เอเชีย กล่าวคือ นายธรรศพลฐ์ แบเลเว็ลด์  เพื่อสร้ างแรงจูงใจให้แก่ผู้บริหารระดับสูงของไทยแอร์เอเชียในการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพและสร้ างความเจริญเติบโตแก่ไทยแอร์เอเชีย ซึ่งผลดีที่เกิดกับไทยแอร์เอเชีย จำนวนไม่เกิน 45,000,000 หุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 0.50 บาทคิดเป็นสัดส่วนไม่เกินร้อยละ 3.3ของหุ้นที่จำหน่ายแล้ว การประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นบริษัทฯ และไทยแอร์เอเชียแปลงสภาพไทยแอร์เอเชียจากบริษัทจำกัดเป็นบริษัทมหาชนจำกัดออกหุ้นกู้แปลงสภาพให้แก่นักลงทุนได้แล้วทั้งหมดของไทยแอร์เอเชีย (หลังเพิ่มทุน) ในราคา 20.3925 บาทต่อหุ้น โดยมีระยะเวลาการเสนอขายเป็นระยะเวลา 3 ปีนับจากวันที่ไทยแอร์เอเชียเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยทั้งนี้ การออกและเสนอขายหุ้นสามัญที่ออกใหม่ให้แก่ผู้บริหารระดับสูงนั้น จะดำเนินการก็ต่อเมื่อแผนการปรับโครงสร้างกิจการได้รับการอนุมัติจากที่ประชุมผู้ ถือหุ้นของบริษัทฯ และแผนประสบความสำเร็จ  โดยกำหนดวันประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้น ครั้งที่ 1/2564 ในวันที่ 4 มิถุนายน 2564 เวลา13.00 น. โดยเป็นการจัดการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์เพียงรูปแบบเดียวเท่านั้น 





ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

IMD จัดอันดับ Digital Competitiveness ปีนี้ ไทยร่วงจาก 35 เป็น 37 ถ้าอยากขยับขึ้น...ต้องแก้ไขตรงไหนก่อน?

ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัล ประจำปี 2567 โดย IMD World Competitiveness Center ไทยได้อันดับ 37 ขยับลงจากปีก่อน 2 อันดับ (35) แล้วจะทำอย่างไรให้ไทยได้อยู่ในอัน...

Responsive image

สู่ Siri ยุคใหม่ ! เผย Apple เตรียมเปิดตัว LLM Siri ในปี 2026 ท้าแข่ง ChatGPT โดยเฉพาะ

OpenAI ถือเป็นหนึ่งในบิ๊กเทคฯ ยักษ์ใหญ่ที่มีความก้าวกระโดดด้านการพัฒนา AI หลังจากสร้างกระแสด้วยแชทบอท ChatGPT ไปเมื่อปลายปี 2022 ซึ่งเมื่อปีที่แล้วก็เพิ่งมีดีลกับ Apple ในการนำ Cha...

Responsive image

American Airlines เปิดตัวระบบจัดการคิวอัจฉริยะ เทคโนโลยีเสียงเตือนสองระดับ ปิดเกมสายแซงคิวขึ้นเครื่อง

เคยเจอไหม? คนแซงคิวขึ้นเครื่องจนวุ่นวายที่ประตูทางขึ้น หลังจากนี้จะไม่มีอีกต่อไป เมื่อ American Airlines แก้ปัญหานี้ด้วยเทคโนโลยีเสียงเตือนอัจฉริยะ ที่จะจับทุกความพยายามแอบขึ้นเครื...