บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ได้รายงานผลการดำเนินงานครึ่งแรกของปี 2563 เปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2562 โดยในครึ่งปีแรกของปี 2563 ปตท. และบริษัทย่อยมีรายได้จากการขายจํานวน 824,892 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนจํานวน 296,304 ล้านบาท หรือร้อยละ 26.4 จากเกือบทุกกลุ่มธุรกิจ ตามราคาขายเฉลี่ยและปริมาณขายเฉลี่ยที่ลดลง ยกเว้นกลุ่มธุรกิจเทคโนโลยีและ วิศวกรรมมีรายได้จากการขายเพิ่มขึ้นเนื่องจากการเข้าซื้อ GLOW ของ GPSC ในช่วงปลายไตรมาส 1 ปี2562
ขณะที่ EBITDA ในครึ่งปีแรกของปี 2563 มีจํานวน 86,593 ล้านบาท ลดลง 67,734 ล้านบาท หรือร้อยละ 43.9 โดยหลักจากกลุ่มธุรกิจปิโตร เคมีและการกลั่นที่ลดลง เนื่องจากมีขาดทุนจากสต๊อกน้ํามันในช่วงเดียวกันของปีก่อน จํานวนประมาณ 30,000 ล้านบาท ตามราคาน้ํามันดิบที่ ปรับลดลงมากจาก ณ สิ้นปี 2562 ที่ 67.3 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล มาอยู่ที่ 42.1 เหรียญสหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ณ สิ้นครึ่งปีแรกของปี 2563 เนื่องจาก สงครามราคาน้ํามัน สภาวะอุปทานล้นตลาดของน้ํามันดิบ ประกอบกับความต้องการใช้ผลิตภัณฑ์น้ํามันสําเร็จรูปและผลิตภัณฑ์ปิโตร เคมีลดลงจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจ เนื่องจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ซึ่งนําไปสู่มาตรการปิดเมืองในหลายประเทศ
และในช่วงเดียวกันของปีก่อนมีกําไรจากสต๊อกน้ํามันจํานวนประมาณ 3,700 ล้านบาท ประกอบกับกําไรขั้นต้นจาก Market GRM ลดลงจากส่วน ต่างราคาน้ํามันสําเร็จรูปกับน้ํามันดิบที่ลดลงทุกผลิตภัณฑ์ และส่วนต่างราคาผลิตภัณฑ์กับวัตถุดิบของผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีทั้งสาย โอเลฟินส์และอะโรเมติกส์ส่วนใหญ่ปรับลดลงเช่นกัน ในส่วนของกลุ่มธุรกิจก๊าซธรรมชาติมีผลการดําเนินงานลดลง โดยหลักจาก ธุรกิจโรงแยกก๊าซฯ เนื่องจากราคาขายที่ลดลงตามราคาอ้างอิงในตลาดโลกปรับลดลง และปริมาณขายที่ลดลงจากการปรับลดกําลัง การผลิตและปิดซ่อมบํารุงดังกล่าวข้างต้น รวมถึงธุรกิจจัดหาและจัดจําหน่ายก๊าซฯ เนื่องจากราคาขายอ้างอิงราคาน้ํามันเตาที่ลดลง และปริมาณขายแก่ลูกค้าภาคไฟฟ้าปรับลดลง
นอกจากนี้ ผลการดําเนินงานของธุรกิจสํารวจและผลิตปิโตรเลียมปรับลดลงตามราคาขายเฉลี่ยที่ลดลง แม้ว่าปริมาณการขายจะเพิ่มขึ้นโดยหลักจากโครงการมาเลเซียและกลุ่ม Partex สําหรับกลุ่มธุรกิจน้ํามันมีผล การดําเนินงานลดลงเช่นกัน สาเหตุหลักจากขาดทุนสต๊อกน้ํามันที่เพิ่มขึ้นและปริมาณขายที่ลดลงจากผลกระทบของ COVID-19 อย่างไรก็ตาม กลุ่มธุรกิจเทคโนโลยีและวิศวกรรมมีผลการดําเนินงานปรับตัวดีขึ้นโดยหลักจากจากการเข้าซื้อ GLOW ของ GPSC สําหรับ กลุ่มธุรกิจการค้าระหว่างประเทศมีผลการดําเนินงานที่ดีขึ้นจากการรักษาความสามารถในการสร้างผลกําไรและเพิ่มโอกาส ทางการค้าข้ามทวีปและข้ามภูมิภาคในภาวะตลาดเอื้ออํานวย (Capture Arbitrage Opportunity) ภายใต้การควบคุมความเสี่ยงทุกด้านอย่างรัดกุม
ในครึ่งปีแรกของปี 2563 มีส่วนแบ่งกําไรจากเงินลงทุนในการร่วมค้าและบริษัทร่วมจํานวน 1,295 ล้านบาท ลดลง 1,824 ล้านบาท หรือ ลดลงร้อยละ 58.5 จาก 3,119 ล้านบาท ใน 1H2562 ส่วนใหญ่มาจากผลการดําเนินงานของการร่วมค้าในกลุ่มธุรกิจปิโตรเคมีและการ กลั่นที่ลดลงตามส่วนต่างราคาผลิตภัณฑ์ที่ลดลงตามกล่าวข้างต้น และผลการดําเนินงานของบริษัทร่วมในกลุ่มธุรกิจเทคโนโลยีและ วิศวกรรมปรับลดลงเช่นกัน จากการรับรู้ส่วนแบ่งขาดทุนของโรงไฟฟ้าไซยะบุรีเนื่องจากสถานการณ์ภัยแล้งในครึ่งปีแรกของปี 2563
กําไรจากตราสารอนุพันธ์ 4,889 ล้านบาท ในครึ่งปีแรกของปี 2563 เพิ่มขึ้น 7,319 ล้านบาท จากขาดทุนจากตราสารอนุพันธ์ 2,430 ล้านบาท ในช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยหลักมาจากกําไรจากตราสารอนุพันธ์ที่ยังไม่เกิดขึ้นของสัญญาประกันความเสี่ยงราคาน้ํามันของ PTTT และ PTTEP
กําไรจากอัตราแลกเปลี่ยนในครึ่งปีแรกของปี 2563 จํานวน 1,672 ล้านบาท ลดลง 7,111 ล้านบาท หรือร้อยละ 81.0 จากจํานวน 8,783 ล้านบาท ในช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยหลักมาจากขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนที่ยังไม่เกิดขึ้นจากการแปลงค่าเงินกู้ยืมสกุลเงินเหรียญสหรัฐฯ ตาม ผลกระทบจากค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน (ครึ่งปีแรกของปี 2563 เงินบาทอ่อนค่า 0.74 บาทต่อเหรียญสหรัฐฯ ขณะที่ช่วงเดียวกันของปีก่อนเงินบาทแข็งค่า 1.69 บาทต่อเหรียญสหรัฐฯ)
ในครึ่งปีแรกของปี 2563 มีการรับรู้รายการที่ไม่ได้เกิดขึ้นประจํา (Non-recurring Items) จากการรับรู้ขาดทุนจากการด้อยค่าของ สินทรัพย์ จ้านวน 1,480 ล้านบาท โดยหลักจากโครงการมาเรียนา ออยล์ แซนด์ ของ PTTEP ขณะที่ใน 1H2562 มีรายได้ค่าปรับจาก การรับประกันผลงานก่อสร้างโรงงาน UHV (Warranty Claim) ของ IRPC จ้านวน 271 ล้านบาท
ต้นทุนทางการเงินจํานวน 13,764 ล้านบาท ลดลง 721 ล้านบาท หรือร้อยละ 5.0 จาก 14,485 ล้านบาท ใน 1H2562 ตาม แนวโน้มอัตราดอกเบี้ยที่ลดลง
ภาษีเงินได้ใน 1H2563 จํานวน 8,972 ล้านบาท ลดลง 8,229 ล้านบาท หรือร้อยละ 47.8 จาก 17,201 ล้านบาท ใน 1H2562 โดยหลักมาจากภาษีเงินได้ของกลุ่มธุรกิจปิโตรเคมีและการกลั่นที่ลดลงตามผลการดําเนินงาน แม้ว่าภาษีเงินได้ของ PTTEP จะเพิ่มขึ้นตามผลกระทบจากการแปลงค่าเงินจากค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลง
จากที่กล่าวข้างต้น ในครึ่งปีแรกของปี 2563 นี้ ปตท. และบริษัทย่อยมีกําไรสุทธิจํานวน 10,499 ล้านบาท ลดลง 44,751 ล้านบาท หรือ ร้อยละ 81.0 จาก ช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกําไรสุทธิ จํานวน 55,250 ล้านบาท
กระแสเงินสดสุทธิได้มาจากกิจกรรมดําเนินงานมีจํานวน 99,440 ล้านบาท มาจากกําไรก่อนภาษีเงินได้จํานวน 10,593 ล้านบาท ปรับปรุงด้วยรายการกระทบยอดกําไรก่อนภาษีเงินได้เป็นเงินสดรับ (จ่าย) จากกิจกรรมดําเนินงาน โดยรายการหลักที่มีผลให้ กระแสเงินสดเพิ่มขึ้น ได้แก่ ค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจําหน่ายรวมจํานวน 70,468 ล้านบาท ต้นทุนทางการเงินจํานวน 13,764 ล้านบาท ขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนจํานวน 1,943 ล้านบาท ค่าใช้จ่ายในการสํารวจตัดจําหน่าย 1,701 ล้านบาท
ทั้งนี้รายการหลักที่มีผลให้ กระแสเงินสดลดลง ได้แก่ ดอกเบี้ยรับ 2,284 ล้านบาท และมีการเปลี่ยนแปลงในสินทรัพย์ดําเนินงานสุทธิที่มีผลให้กระแสเงินสด เพิ่มขึ้นจํานวน 33,197 ล้านบาท ในขณะที่มีเงินสดจ่ายภาษีเงินได้จํานวน 34,780 ล้านบาท
กระแสเงินสดสุทธิใช้ไปในกิจกรรมลงทุนมีจํานวน 130,894 ล้านบาท ส่วนใหญ่เนื่องมาจาก
กระแสเงินสดสุทธิใช้ไปในกิจกรรมจัดหาเงินมีจํานวน 5,885 ล้านบาท ส่วนใหญ่เนื่องมาจาก
ข้อมูลจาก SET
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด