ผู้เชี่ยวชาญด้าน CyberSecurity จากมหาวิทยาลัย Macquarie University ในออสเตรเลีย ออกแบบและพัฒนา AI Chatbot ที่มีชื่อว่า Apate แก้ปัญหามิจฉาชีพทางโทรศัพท์ด้วยตัวตนและเสียงเสมือน
Apate เป็น AI Chatbot ที่นำโมเดลของ ChatGPT เข้ามาใช้เลียนเสียงพร้อมกับ สร้างตัวตนเสมือนแทนตัวเรา และสนทนากับมิจฉาชีพแทนเราได้
ก่อนหน้านั้นกลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้าน CyberSecurity จากมหาวิทยาลัย Macquarie University ในซิดนีย์กำลังสร้างระบบแชทบอทเพื่อทำหน้าที่หลอกล่อให้มิจฉาชีพเข้าสู่การสนทนาความยาว 40 นาที ยื้อให้มิจฉาชีพเสียเวลาและไม่ได้อะไรจากเหยื่อ
โครงการสร้าง AI Chatbot เริ่มขึ้นตั้งแต่ที่ ศาสตราจารย์ในมหาวิทยาลัย Macquarie University ชื่อ Dali Kaafar ได้รับสายจากมิจฉาชีพและเขาก็แกล้งมิจฉาชีพให้อยู่ในสายถึง 40 นาที
ทีมของศาตราจารย์ Dali Kaafar พัฒนา Apate สามารถสร้างตัวตนและบทสนทนาเสมือนจริง ด้วยบทสนทนาจากมิจฉาชีพจริงๆและไม่ใช่แค่บทสนทนาจากโทรศัพท์เท่านั้น แต่รวมไปถึง ข้อความบนอีเมลล์ ไปจนถึงข้อความบนแอปโซเชียลมีเดีย
ภาพจาก : Apate.AI
ทางมหาวิทยาลัยระบุว่ามีการทดสอบ Apate ในกรณีที่มิจฉาชีพโทรเข้ามาในสายจริงๆ ปรากฎว่าตัว AI ที่พัฒนานี้สามารถสร้างบุคคลิกได้หลากหลายและยื้อเวลามิจฉาชีพได้โดยหลอกล่อดึงเวลามิจฉาชีพได้มากสุดในตอนนี้ถึง 5 นาที
ในปัจจุบันมิจฉาชีพทั่วโลกหรือแม้แต่ในประเทศไทยต่างพัฒนารูปแบบการหลอกล่อรูปแบบใหม่ๆ ไม่ว่าจะใช้ DeepFake และ AI ปลอมเสียงต่างๆเพื่อสร้างบทสนทนาปลอมๆหลอกล่อให้ เหยื่อโหลดแอปหรือกดลิ้งก์ จากนั้นก็เจาะข้อมูลบนโทรศัพท์ของเหยื่อและดูดเงินจากบัญชี
ล่าสุดในประเทศไทยก็มีกรณีที่มิจฉาชีพหลอกเหยื่อผ่านแอปพลิเคชั่นไลน์ หรือแม้แต่เทคนิคใหม่ๆ เช่น การปลอมชื่อหน่วยงานทั้งธนาคาร หรือหน่วยงานของรัฐ ส่ง SMS มายังโทรศัพท์มือถือ หลอกล่อให้กดคลิกลิงก์เพื่อควบคุมโทรศัพท์มือถือ วิธีนี้เรียกว่า False Base Station (FBS) Attack หรือการส่งข้อความโดยไม่ผ่านเครือข่ายของผู้ให้บริการ
ลองนึกภาพว่าหากเรานำเทคโนโลยี AI มาจัดการมิจฉาชีพที่มีจำนวนมากไม่ว่าจะในไทยหรือต่างประเทศ AI อาจช่วยผู้คนให้หลุดออกจากการถูกหลอกล่อและเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพได้มากขึ้น
ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด