สรุปงาน Asia Hardware Battle จากเซี่ยงไฮ้ พร้อมเผยโฉมผู้ชนะ | Techsauce

สรุปงาน Asia Hardware Battle จากเซี่ยงไฮ้ พร้อมเผยโฉมผู้ชนะ

ก่อนหน้านี้ Techsauce ได้นำเสนอเวทีที่น่าสนใจอย่าง Asia Hardware Battle เวทีสำหรับ Hardware startups ระดับภูมิภาค โดยประเทศไทยก็มีตัวแทนคือทีม Rinn นั่นเอง และตอนนี้การแข่งขันรอบ Final ที่เซี่ยงไฮ้ก็ได้สิ้นสุดลงแล้ว มาดูบทสรุปการแข่งในครั้งนี้กันค่ะ

สำหรับการแข่งขัน Asia Hardware Battle ครั้งนี้จัดขึ้นที่เมืองเซี่ยงไฮ้ ในวันที่ 16 กันยายนที่ผ่านมา โดย TechNode และได้รับมีการสนับสนุนจากรัฐบาล Shanghai Yangpu District People อีกด้วย ซึ่งผู้ชนะ Asia Hardware Battle 2017 ก็คือ Fifish P4 โดรนใต้นำที่ช่วยให้นักดำน้ำสามารถถ่ายรูปและถ่ายวิดีโอได้อย่างง่ายดายใต้ท้องทะเล ซึ่งได้รับการพัฒนาโดยผู้หญิงที่เป็น CEO ผู้ซึ่งหลงใหลในการดำน้ำ

ก่อนหน้านี้ Asia Hardware Battle จัดขึ้นที่เมืองเฉิงตู มีผู้เข้ารอบสุดท้ายทั้งหมด 10 คน แต่คราวนี้มีทีมฮาร์ดแวร์กว่า 300 แห่งจาก 10 เมืองใน 8 ประเทศได้เข้าร่วมการแข่งขัน คือ ปักกิ่ง เซี่ยงไฮ้ และเซินเจิ้นในจีน ฮ่องกงและไต้หวันและต่างประเทศ รวมทั้งเกาหลีใต้ญี่ปุ่นสิงคโปร์และไทย การแข่งขันในปีนี้มีทีมที่เข้าร่วมแข่งขันทั้งหมด 15 ทีม โดยมี Venture Capital ชั้นนำของประเทศ สื่อมวลชน และบุคคลทั้งในประเทศและต่างประเทศเข้าร่วม

Nobuaki Kitagawa กรรมการผู้จัดการ CyberAgent Ventures กล่าวกับ TechNode ว่า "ผมชอบเมื่อวานนี้มาก จุดที่ดีก็คือสตาร์ทอัพที่มาเข้าร่วมนั้นอยู่ในระดับนานาชาติ เมื่อกรรมการเลือกผู้ชนะ ผู้ชนะทั้งสามทีมเองและคนอื่นๆ ต่างก็มาจากภูมิภาคต่างๆ ผมคิดว่าน่าสนใจมาก"

"โดยรวมแล้ว startups เหล่านี้กำลังแก้ปัญหาในทางปฏิบัติมาก บางส่วนอาจอาจจะทำให้เป็นธุรกิจได้ในอนาคต และผมรู้สึกว่าเทคโนโลยีโดยรวมของ startups กำลังพัฒนาไปสู่ IoT และ big data โดยที่Startups ของจีนมุ่งเน้นอยู่ในขอบเขตใหญ่ๆ เช่นโลจิสติกส์และ VR (Virtual Reality) ในขณะที่ startups ของเกาหลีนั้นจะมุ่งเน้นไปที่พื้นที่เฉพาะ เช่นด้านความงามและสิ่งแวดล้อม “ผมคิดว่า startups ของเกาหลีทั้งสามทีม มีความสามารถที่ยอดเยี่ยมด้านรายละเอียดและการออกแบบ ถึงแม้ว่าจะไม่ได้รวมอยู่ในการจัดอันดับก็ตาม" Woody Han, CEO ของ China Lab สื่อของเกาหลีที่ให้ความสำคัญกับตลาดของจีนกล่าวกับ TechNode

เรามาดูกันดีกว่าว่าทีมที่ติด top 3 ในการแข่งขัน Asia Startup Battle จะมีทีมไหนบ้าง

Fifish : เซินเจิ้น ประเทศจีน

Fifish P4 ตัวช่วยให้นักดำน้ำสามารถถ่ายรูปและถ่ายวิดีโอได้อย่างง่ายดายใต้ท้องทะเล ซึ่งผู้ใช้สามารถดูภาพวิดีโอแบบเรียลไทม์โดยใช้เครื่องใต้น้ำ จะปล่อยให้มันตามนักดำน้ำไปหรือจะใช้รีโมทคอนโทรลให้ไปที่ใดก็ได้โดยอัตโนมัติ คุณลักษณะที่โดดเด่นที่สุดของ Fish P4 คือสามารถรองรับการควบคุมแบบทั้งแบบมีสายและแบบไร้สาย

เครื่องนี้ได้รวมเข้ากับเซ็นเซอร์วัดความลึกและเซ็นเซอร์วัดความสูงที่มีความแม่นยำ ด้วยการคลิกเพียงปุ่มเดียว เครื่องก็จะสามารถเลื่อนไปได้ทุกที่และทุกตำแหน่งด้วยความแม่นยำและเสถียรภาพสูง นอกจากนี้ยังมีอินเทอร์เฟซที่ผู้ใช้สามารถแนบเซ็นเซอร์หลายตัวเพื่อขยายการทำงานของเครื่องได้อย่างง่ายดาย

Zhang Chong CEO ของ Fifish ซึ่งเป็น PADI (Professional Association of Diving Instructors) กล่าวว่ากล้องนี้มีความได้เปรียบเมื่อเทียบกับหุ่นยนต์ใต้น้ำอื่นๆ ในตลาดปัจจุบัน กล้องถ่ายภาพระดับมืออาชีพได้รับการออกแบบให้มีมุมกว้าง 162 FOV วิดีโอความละเอียดสูง 4K และ 20MP รวมทั้งแสง 4000 lumens การันตีได้ว่าจะได้ภาพที่เสถียร

Youibot : เซินเจิ้น ประเทศจีน

Youibot เป็นหุ่นยนต์เคลื่อนที่ที่มีการตรวจสอบด้วยตนเองพร้อมกับระบบนำทางหุ่นยนต์ทั้งภายในและภายนอกเพื่อความปลอดภัย โดยบริษัทได้ทำการวิจัยและพัฒนาแพลตฟอร์มหุ่นยนต์เคลื่อนที่ด้วยตนเองอย่างอิสระบนพื้นฐานของเรดาร์เลเซอร์และการสร้างแผนที่ SLAM แบบเรียลไทม์ล่าสุดและเทคโนโลยีการนำทาง

Zhang Zhaohui CEO ของ Youibot กล่าวว่า หุ่นยนต์ตรวจสอบยางรถของพวกเขาสามารถบรรลุการตรวจสอบการลาดตระเวนเวลากลางคืนที่ความถี่สูง (high-frequency) การใช้ตำแหน่งนำทางด้วยตนเอง (self-positioning navigation) ในที่จอดรถสามารถระบุยานพาหนะ ทำการตรวจสอบด้วยตนเอง และรายงานว่ายานพาหนะไหนที่มีปัญหาได้

หุ่นยนต์มีคุณสมบัติตรงตามข้อกำหนดในการตรวจสอบผ่านหุ่นยนต์ร่วมกับ 6 DOF และโมดูลขยายอิสระ ผ่านระบบการตรวจสอบเบื้องหลังอัจฉริยะ และหุ่นยนต์ยังสามารถสร้างรายงานการตรวจสอบด้วยการวิเคราะห์ภาพได้อีกด้วย

QT Medical : ใต้หวัน

ตามคำกล่าวขององค์การอนามัยโลก (World Health Organization หรือ WHO) โรคหัวใจและหลอดเลือด (CVDs) เป็นสาเหตุอันดับ 1 ของการเสียชีวิตทั่วโลกคิดเป็น 31% ของการเสียชีวิตทั่วโลกทั้งหมด จากจำนวนผู้เสียชีวิตประมาณ 7.4 ล้านคน เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ และ 6.7 ล้านคนเป็นโรคหลอดเลือดในสมอง สำหรับการดูแลระบบหัวใจให้ดีขึ้นและการเฝ้าระวังผู้สูงอายุและผู้ป่วยโรคหัวใจ QT Medical กำลังพัฒนาอุปกรณ์ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (ECG) เกรด 12 และบริการสำหรับใช้ในบ้าน

ทีมได้ทุ่มเทให้กับการทำ ECG 12 lead ที่ให้ทุกคนสามารถใช้ได้ทุกที่ทุกเวลา โดยจะเปิดตัวผลิตภัณฑ์ 3 รุ่นในปี 2018 ได้แก่ QT ECG, QT Pro และ QT Mini ซึ่งแบ่งตามการใช้งานคือ

  • QT ECG คือ ECG ขนาด 12-lead สำหรับผู้ป่วยที่ใช้ที่บ้าน
  • QT Pro เป็นแบบ ECG 12 สำหรับใช้ในโรงพยาบาล และ
  • QT Mini เป็น ECG ที่ใช้สวมใส่สำหรับตลาดผู้บริโภค (consumer market)

ก่อตั้งขึ้นในปี 2013 มีพนักงาน 16 คนในไต้หวันและสำนักงานอยู่ที่ LA ซึ่งก่อตั้งโดย Dr. Chang แพทย์ด้านโรคหัวใจและศาสตราจารย์ที่ UCLA

Other 12 finalists (12 ทีมอื่นๆ)

  1. Renogy ซูโจว ประเทศจีน : RENOGY พัฒนาผลิตภัณฑ์พลังงานแสงอาทิตย์ รวมถึงแผงเซลล์แสงอาทิตย์ ชุดอุปกรณ์พลังงานแสงอาทิตย์สำหรับใช้ในบ้าน
  2. Pium เกาหลีใต้ : Pium เป็นเครื่องแพร่กระจายกลิ่นอัจฉริยะที่ให้กลิ่นหอมช่วยให้ผู้ใช้นอนหลับ พักผ่อนและมีสมาธิดีขึ้น เป็นไปตามขั้นตอนในชีวิตประจำวันของผู้ใช้และให้กลิ่นที่เหมาะสมอย่างอัตโนมัติ
  3. Artificial Anything ประเทศไทย : Rinn เป็นแก้วน้ำอัจฉริยะที่วัดสารอาหารในเครื่องดื่ม
  4. Nature ญี่ปุ่น : Nature's Remo เป็นตัวควบคุมอัจฉริยะสำหรับเครื่องปรับอากาศภายในห้องและติดตั้ง AC แบบติดผนังโดยอัตโนมัติเพื่อประหยัดพลังงานและลดค่าไฟฟ้า
  5. uHoo ฮ่องกง : uHoo เป็นเซนเซอร์ตรวจจับสารพิษในอากาศด้วยอากาศภายในอาคาร OM2.5 TVOCS วิเคราะห์และให้ข้อมูลเชิงลึก
  6. Clef Technologies สิงคโปร์ : Clef Technologies ได้สร้างอุปกรณ์ตรวจจับการรั่วไหลของน้ำ โดยผู้ก่อตั้งอ้างว่ามั่นใจถึงความแม่นยำ ได้ 98% ที่ง่ายต่อการติดตั้งและหลีกเลี่ยงการปนเปื้อน
  7. Zhen Robotics (真机智能) ปักกิ่ง จีน : Zhen Robotics หุ่นยนต์ส่งมอบพัสดุ โดยที่หุ่นยนต์สามารถทำงานได้ถึง 8 ชั่วโมงหลังจากชาร์จ 4 ชั่วโมง
  8. Aira Lab มาเลเซีย : Aira Lab หุ่นยนต์เชื่อมต่อผ่านแพลตฟอร์มที่ผู้ใช้สามารถตั้งโปรแกรมได้ทุกที่ ควบคุมผ่านแอปพลิเคชันและสามารถแบ่งปันกับคนอื่นๆ ได้
  9. Line Dock เซินเจิ้น จีน : Line Dock อุปกรณ์รองรับการชาร์จไฟ USB-C ได้ถึง 100 วัตต์ขณะที่อะแดปเตอร์จ่ายไฟไปยังอุปกรณ์ของผู้ใช้
  10. Shado สิงคโปร์ : SHADO สร้างยานพาหนะที่เป็นของตนเองเพื่อแก้ปัญหาความไร้ประสิทธิภาพของการขนส่งสินค้าและด้านโลจิสติกส์ทั้งทางทะเลและสนามบิน
  11. Lululab เกาหลีใต้ : Lumini เป็นอุปกรณ์ IoT ที่วิเคราะห์ผิวของผู้ใช้และแนะนำผลิตภัณฑ์และบริการด้านผิวหนังที่ดีที่สุดสำหรับผู้ใช้แต่ละคน
  12. Ecubelabs เกาหลีใต้ : Ecube Labs ถังขยะที่ใช้พลังงานแสงอาทิตย์ 'Clean Cube' ซึ่งบีบอัดขยะและเก็บขยะได้มากกว่าถังขยะธรรมดาถึงแปดเท่า" ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนการดำเนินงานของรถเก็บขยะ

จากการแข่งขันในครั้งนี้ ทำให้เราได้เห็นนวัตกรรมและเทคโนโลยีต่างๆ มากมายมาให้เราได้ใช้ประโยชน์ บางครั้งเราก็ไม่จำเป็นต้องมองอะไรที่ห่างจากตัวเองมากนัก แค่ลองมองดูรอบๆ ตัวเองว่ามีปัญหาอะไรเกิดขึ้น หรืออาจจะมองจากความชอบหรือความถนัดนำมาปรับนิดๆ หน่อยๆ ก็สามารถสร้างเป็นไอเดียได้เช่นกัน  และเวทีนี้เองก็เป็นเวทีที่เปิดโอกาสให้ startups และผู้ที่มีไอเดีย มีความคิดที่สร้างสรรค์ได้มาจุดประกายความฝันของตนเองและสร้างสรรค์นวัตกรรม ให้เกิดเป็นผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ๆ

ที่มาบทความและภาพ : Technode

ลงทะเบียนเข้าสู่ระบบ เพื่ออ่านบทความฟรีไม่จำกัด

No comment

RELATED ARTICLE

Responsive image

OpenAI เพิ่มฟีเจอร์ใหม่ใน ChatGPT วิเคราะห์-โต้ตอบวิดีโอได้แบบเรียลไทม์

OpenAI อัปเดทความสามารถ ChatGPT บนโหมดสนทนาด้วยเสียงหรือ Advanced Voice Mode สามารถวิเคราะห์และโต้ตอบจากวิดีโอได้แบบเรียลไทม์ นับเป็นการเปิดตัวฟีเจอร์ต่อเนื่องเป็นวันที่ 6 ในแคมเปญ...

Responsive image

Microsoft เปิดตัว Phi-4 โมเดล AI รุ่นใหม่ เน้นแก้โจทย์คณิตศาสตร์

Phi-4 ถูกพัฒนาภายใต้แนวคิด Small Language Model (SLM) มีขนาด 14 พันล้านพารามิเตอร์ ซึ่งเล็กกว่าโมเดลภาษาขนาดใหญ่อย่าง GPT-4 แต่ยังคงความรวดเร็วและต้นทุนการประมวลผลที่ต่ำกว่า และพร้...

Responsive image

เคอีเอ็กซ์ประกาศ การลาออกของซีอีโอ พร้อมตั้งผู้บริหารร่วม (Co-CEO) รับช่วงต่อ

บริษัท เคอีเอ็กซ์ เอ็กซ์เพรส (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ KEX รายงานต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2567 ว่า บริษัทฯ ได้รับหนังสือแจ้งการลาออกจากตำแหน่งประธ...